การพัฒนาฐานข้อมูลเชิงแผนที่ระบบส่งไฟฟ้า โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านระบบอินทราเน็ตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
งานระบบส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ 1) สายส่งไฟฟ้า (Transmission Line) 2) เสาไฟฟ้า (Tower) และ 3) สถานีไฟฟ้า (Substation) การปฏิบัติงานเพื่อบำรุงรักษาระบบ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ดังนั้นหากนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดเก็บในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วขึ้นในการสืบค้น แสดงผลข้อมูล สะดวกต่อการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และสามารถพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใช้งานเฉพาะทางได้
ข้อมูลนำเข้า
1) ข้อมูลระบบส่ง เช่น ตำแหน่งเสาไฟฟ้า แนวสายส่งไฟฟ้า แผนผังสถานีไฟฟ้า
2) ข้อมูลองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์ ในมาตราส่วน 1:50,000
3) ข้อมูลองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์ครอบคลุมพื้นที่ใต้แนวสายส่งในระยะ1 กิโลเมตร
4) แผนที่และภาพถ่าย ประกอบด้วย แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000
5) ภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1:25,000
วิธีการศึกษา
1) เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2) การจัดการแผนที่
3) การสำรวจข้อมูลภาคสนาม
4) การแปลงข้อมูลแผนที่เป็นข้อมูลดิจิตอล นำมาทำการออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูล (Database structure) เพื่อสร้างความเชื่อมโยงของข้อมูลเชิงพื้นที่ เข้ากับข้อมูลลักษณะประจำในรูปแบบตารางข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database)

5) การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ Web Map Application ใช้ระบบจัดการข้อมูลทาง Internet ผู้ใช้สามารถกระทำผ่านเครื่อง Clients
ผลการศึกษา
ผลการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ฐานข้อมูลเชิงแผนที่ระบบส่งไฟฟ้าโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านระบบอินทราเน็ตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีองค์ประกอบหลักของโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งประกอบด้วย ฟังก์ชั่นการทำงาน ดังต่อไปนี้คือ
1) ตัวเลือกในการแสดงผล และตัวเลือกในการระบุข้อมูล ในชั้นข้อมูลต่างๆ
- ตัวเลือกที่ 1 (เครื่องหมายสี่เหลี่ยม) แสดงผลข้อมูลภาพในส่วนของแผนที่ เมื่อกดปุ่ม Refresh จะแสดงผล
- ตัวเลือกที่ 2 (เครื่องหมายวงกลม) แสดงผลชั้นข้อมูลที่ต้องการการระบุข้อมูลโดยการกดปุ่ม Identify บน Toolbar ทางด้านซ้ายมือของโปรแกรมแล้วทำการคลิกที่สัญลักษณ์ของชั้นข้อมูลบนแผนที่จะปรากฏตารางข้อมูลทางด้านล่างของแผนที่เพื่อแสดงรายละเอียดของสัญลักษณ์เหล่านั้น

2) แถบเครื่องมือ (Toolbar)
ประกอบด้วย ICON ต่างๆ บนแถบเครื่องมือ ซึ่งมีฟังก์ชั่นการทำงาน ดังนี้
โดยเครื่องมือต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อสะดวกต่อผู้ใช้งานที่มีความคุ้นเคยกับพื้นที่ที่รับผิดชอบให้สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
3) ฟังก์ชันในการค้นหาข้อมูล การสรุปรายงาน และการเชื่อมโยง
ฟังก์ชันการค้นหาข้อมูลมี 4 ช่องทาง ดังนี้
– ค้นหาจากสายส่งโดยการระบุโซน และแรงดัน ที่ต้องการค้นหา และกดปุ่มตกลง โปรแกรมจะแสดงผลรายละเอียดข้อมูลที่ค้นหาด้านล่างของแผนที่
– ค้นหาจากแนววางเสาไฟฟ้าโดยการระบุโซนที่ต้องการค้นหา และกดปุ่มตกลง โปรแกรมจะแสดงผลรายละเอียดข้อมูลที่ค้นหาด้านล่างของแผนที่
– ค้นหาจากสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยแบ่งการค้นหาออกเป็นโซน 1 2 และ 3 โดยในแต่ละโซนจะมีสถานีไฟฟ้าแรงสูงต่างๆ จากนั้นทำการเลือกสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่ต้องการค้นหาข้อมูล
– ค้นหาจากเสาไฟฟ้า การค้นหาข้อมูลจากเสาไฟฟ้าสามารถค้นหาได้ 2 แบบ คือ
- ค้นหาตามระยะทางสะสมของสายส่ง โดยการระบุสายส่ง ระยะทางสะสม และช่วงระยะของเสาไฟฟ้าที่ต้องการค้นหา กดปุ่มตกลง จะปรากฏรายละเอียดข้อมูลทางด้านล่างของแผนที่ และเมื่อคลิกเลือกรหัสเสาไฟฟ้าที่อยู่ด้านล่าง จะปรากฏข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นบริเวณด้านขวามือของแผนที่
- ค้นหาตามระยะทางสะสมของแนววางเสาไฟฟ้า โดยการระบุระยะทางสะสมและช่วงระยะของเสาไฟฟ้าที่ต้องการค้นหา กดปุ่มตกลง จะปรากฏรายละเอียดข้อมูลทางด้านล่างของแผนที่ และเมื่อคลิกเลือกรหัสเสาไฟฟ้าที่อยู่ด้านล่าง จะปรากฏข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมบริเวณด้านขวามือของแผนที่ โดยเมนูต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อสะดวกต่อผู้ใช้งานที่ไม่มีความคุ้นเคยกับพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
4) ฟังก์ชันการสรุปรายงาน เป็นการรายงานสรุปเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ของระบบส่งไฟฟ้า ประกอบด้วย
– สายส่ง เป็นส่วนของรายงานสรุปจำนวนสายส่งตามความรับผิดชอบของหน่วยงานระดับต่างๆ
– แนวเดินเสาไฟฟ้า เป็นส่วนของรายงานสรุปจำนวนแนวเดินเสาไฟฟ้าตามความรับผิดชอบของหน่วยงานระดับต่างๆ
– เสาไฟฟ้า เป็นส่วนของรายงานสรุปจำนวนเสาไฟฟ้าตามความรับผิดชอบของหน่วยงานระดับต่างๆ
– สถานีไฟฟ้าแรงสูง เป็นสรุปการรายงานผลต่างๆ ของสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่าย
– เหตุการณ์ขัดข้องในระบบเป็นรายงานสรุปเหตุการณ์ขัดข้องต่างๆ ในระบบส่งไฟฟ้า
5) ฟังก์ชันเชื่อมโยง เป็นการเชื่อมโยงโปรแกรมไปยังระบบงานต่างๆ ในระบบส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อทำการแก้ไขข้อมูลและเรียกดูข้อมูลที่ต้องการได้ ในกรณีที่ผู้ใช้งานมี Username และPassword จะสามารถแก้ไขข้อมูลได้ โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้คือ
– การจัดการข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
– ดัชนีสมรรถนะระบบไฟฟ้า
– แลกเปลี่ยนข้อมูล Power system operation
– ระบบงาน CIM – แบบฟอร์มแจ้งสายส่ง Trip
– รายงานสายส่ง Trip
– การทดสอบ Map function


สรุป
ผลจากการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ฐานข้อมูลเชิงแผนที่ระบบส่งไฟฟ้าโดยใช้ระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์ ผ่านระบบอินทราเน็ตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถทำให้งานบำรุงรักษาระบบส่งของฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้มีความสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบการสืบค้น สอบถามข้อมูลทำได้สะดวก และการแสดงผลข้อมูลต่างๆ สามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย (เชิงคุณสมบัติ) ทำให้ผู้ใช้สามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง ในการบำรุงรักษาสายส่ง ทั้งงานแก้ไขปรับปรุงข้อมูลในสำนักงานและการออกสำรวจภาคสนามทำให้การปฏิบัติงานของบุคลากรและหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งในปัจจุบันทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ได้นำโปรแกรมนี้ไปใช้งานจริงและได้พัฒนาสมรรถนะโปรแกรมให้มีความสามารถในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดภายในปี พศ. 2550
ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์