งานวิจัยของ Moukomla, S. et al (2007) ได้ทำการศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนู ในจังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การสำรวจด้านพิษวิทยา ออกสำรวจภูมิประเทศ และการพัฒนาแบบจำลอง ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS ในการจัดทำแผนที่พื้นที่ได้รับผลกระทบระดับหมู่บ้าน และใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก จัดเตรียมชั้นข้อมูล และประเมินปัจจัยเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนูจากแบบจำลองด้านสิ่งแวดล้อม ดังสมการที่ 1 แสดงผลการศึกษาดังภาพ และแบ่งระดับการเกิดโรคฉี่หนูออกเป็น 5 ระดับ คือ เสี่ยงสูงมาก (Very high) สูง (High) ปานกลาง (Moderate )เล็กน้อย (Slight) และต่ำ (Low)

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์