
“น้ำ” คือผู้สร้างชีวิตและขณะเดียวกัน “น้ำ” ก็เป็นผู้ทำลายด้วยเช่นกัน อะไรก็ตามที่ขวางทางน้ำ มันก็จะไม่พ้นการถูกทำลาย แม้แต่หินที่อยู่บริเวณสามพันโบกแห่งนี้ ซึ่งล้วนเป็นหินทรายเนื้อหนาเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทางน้ำเมื่อ110 ล้านปีที่ผ่านมา ตามผิวหน้าจะพบ “หลุมปากหม้อ” หรือ “กุมภลักษณ์” จำนวนมาก หลุมเหล่านี้เกิดจากแม่น้ำโขงที่มีพลังที่รุนแรงได้พาเอาเม็ดกรวดหรือก้อนหินขนาดใหญ่มาด้วย เม็ดกรวดทรายดังกล่าว ได้ถูกบังคับ โดยทิศทางของแม่น้ำโขงให้มาหมุนวนซ้ำๆ อยู่ในแอ่งเล็กๆ จำนวนมากบนผิวหน้าของแก่งหิน นานหลายฤดูกาลเข้าการ ขัดสีดังกล่าว ก็ทำให้แอ่งเดิมขยายและลึกเว้าจนเป็นรูปโบก ดังที่เห็นในปัจจุบัน หากสังเกตบนภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชตจะเห็นว่าบริเวณที่เกิดปรากฏการณ์กุมภลักษณ์หรือในกรอบสีเหลือนั้น มีลักษณะผิวของหินที่ค่อนข้างขรุขระดังปรากฏเป็นจุดๆสีดำจำนวนมาก ซึ่งบริเวณนี้เป็นจุดที่รับแรงปะทะจากกระแสน้ำเต็มๆในช่วงน้ำหลาก บริเวณนี้จึงเกิดร่องรอยการกัดเซาะจากตะกอนแม่น้ำโขง ณ บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก และนี่ก็คือหนึ่งในกระบวนการปรับสมดุลของโลกนั้นเองครับ
