พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย

การจัดทำพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับแต่อดีตมาสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่มักเกิดขึ้นในพื้นที่ซ้ำซาก โดยเฉพาะบริเวณลำน้ำขนาดใหญ่ และด้วยผลจากการสร้างสิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงการเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของประชาชนใกล้แหล่งน้ำมากขึ้น จึงทำให้สภาวะน้ำท่วมมีความรุนแรงขึ้นตามลำดับส่งผลให้รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งในอดีตการจัดทำบัญชีพื้นที่ประสบอุทกภัยเป็นไปด้วยความยากลำบาก ใช้เวลาดำเนินการนาน และบางครั้งไม่เข้าถึงผู้ประสบภัยที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้จัดทำการประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยโดยวิเคราะห์จากประวัติการเกิดน้ำท่วม 3 ปี คือพื้นที่ประสบอุทกภัย พ.ศ. 2544 2545 และ 2546(ตีความพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียมเรดาร์แซท) จากความซ้ำซากของตำแหน่งที่เกิดน้ำท่วมจึงสามารถแบ่งระดับความเสี่ยงของการเกิดอุทกภัยออกเป็น 4 ระดับ คือ เสี่ยงอุทกภัยสูงมากเสี่ยงสูง เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงต่ำ โดยมีขั้นตอนการศึกษาพอสังเขปดังภาพ

ภาพแสดงขั้นตอนการศึกษาพอสังเขป ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)
ภาพแสดงขั้นตอนการศึกษาพอสังเขป
ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)

ผลการวิเคราะห์แสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยในระดับเสี่ยงสูงมาก และเสี่ยงสูง ปรากฏตามแนวลำน้ำขนาดใหญ่ คือแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล โดยเฉพาะต่ำแหน่งที่เป็นจุดบรรจบของลำน้ำบริเวณแม่น้ำชีสบมูล เป็นต้น สำหรับสัดส่วนพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ระดับเสี่ยงสูงมาก สูง ปานกลาง และต่ำ เท่ากับ 1.08 2.3 7.76 และ 88.79 จากพื้นที่ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบมากคือพื้นที่เกษตรกรรมประเ ภทนาข้าวมากที่สุด เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกนาข้าวเป็นบริเวณที่มีระดับความสูงต่ำ ส่วนใหญ่มีลักษณะภูมิสัณฐานเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง หรือที่ราบขั้นบันไดระดับต่ำ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยที่ระดับเสี่ยงสูงมากที่สุด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด แสดงดังภาพพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมจะถูกนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันอุทกภัยที่จะเกิดขึ้น โดยให้ความสำคัญกับจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูง

ภาพแสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)
ภาพแสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.