พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

การจัดทำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่ประสบปัญหาความแห้งแล้งประจำทุกปี สาเหตุหลักมาจากสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ซึ่งจะเกิดฝนแล้งในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และสภาพแห้งแล้งจากฝนทิ้งช่วงเป็นช่วงสั้น คือ ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ผลจากภาวะความแห้งแล้งจะทำให้เกิดไฟป่า พายุฤดูร้อน ทำให้เกิดความเสียหายต่อการดำรงชีพ และผลผลิตทางการเกษตร ทางศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดทำแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง วิเคราะห์ภัยแล้งใน 3 ด้าน คือ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงกายภาพ เชิงอุตุนิยมวิทยา และเชิงอุทกวิทยา ก่อนนำลักษณะความแห้งแล้งของแต่ละด้านมาวิเคราะห์ร่วมกันด้วยซ้อนทับแบบกำหนดค่าน้ำหนักแสดงภาพรวมวิธีการศึกษาดังภาพ

ภาพแสดงแนวทางการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)
ภาพแสดงแนวทางการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)

Overlay_01 คือ ผลการซ้อนทับระหว่างชั้นข้อมูลแหล่งน้ำผิวดิน กับพื้นที่ชลประทาน

Overlay_02 คือ ผลการซ้อนทับระหว่างชั้นข้อมูลความหนาแน่นลำน้ำ กับน้ำใต้ดิน

Overlay_03 คือ ผลการซ้อนทับระหว่างชั้นข้อมูลการระบายน้ำของดิน กับการใช้ประโยชน์ที่ดิน

Overlay_04 คือ ผลการซ้อนทับระหว่างชั้นข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงอุทกวิทยากับพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงกายภาพ

ภาพพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)
ภาพพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)

ผลการศึกษาสามารถแบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 4 ระดับ คือ เสี่ยงมาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด คิดเป็นพื้นที่เท่ากับ 18,957.22, 54,199.16, 46,285.13 และ 49,383.83 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยความแห้งแล้งเชิงอุตุนิยมวิทยามาก เนื่องจากเป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำเข้าในพื้นที่ สำหรับบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งมากปรากฏในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และพื้นที่บางส่วนของจังหวัดขอนแก่น

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.