การจัดการชายฝั่งทะเล

การติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของป่าชายเลนในลุ่มน้ำปากพนังด้วยข้อมูลดาวเทียม LANDSAT 5 TM และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Assessment of Mangrove Spatial Change Using LANDSAT 5 TM data and GIS in Pakphanang Basin

ภาคใต้ของประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนเหลืออยู่มากที่สุด แต่หลายปีที่ผ่านมาได้มีการทำลายป่าชายเลนลงเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนให้กลับมามากขึ้น จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาสภาพความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่

วัตถุประสงค์

1) ใช้เทคโนโลยีข้อมูลจากดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของป่าชายเลนในลุ่มน้ำปากพนัง

2) ใช้เป็นแนวทางในการจัดระบบการใช้ที่ดินที่เหมาะสมของพื้นที่

ข้อมูลนำเข้า

1) แผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 ปี พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2542

2) ข้อมูลเชิงตัวเลขภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT 5 TM วันที่ 30 พฤษภาคม 6 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2538และ 8 มกราคม 9 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2542

วิธีการศึกษา

1) เตรียมข้อมูลเชิงตัวเลขภาพถ่ายดาวเทียม ปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต และความคมชัดของข้อมูล

2) นำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาสร้างภาพสีผสม ดูความสัมพันธ์ระหว่างสีของภาพถ่ายดาวเทียมกับป่าชายเลนและประเภทข้อมูลของสิ่งปกคลุมดินอื่นๆ

3) แปลภาพถ่ายดาวเทียมด้วยสายตาปี พ.ศ. 2538 และ 2542

4) สำรวจข้อมูลในสภาพพื้นที่

5) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยวิธีการซ้อนทับข้อมูล วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทั้ง 2 ช่วงเวลา (พ.ศ. 2538 และ 2542)

ผลการศึกษา

– ภาพสีผสมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมดังภาพ แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2538 และ2542 ดังแสดงในภาพ ตามลำดับ

– การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ป่าชายเลนในลุ่มน้ำปากพนังระหว่างปี พ.ศ. 2538 และ 2542 ดังแสดงในตาราง

ภาพแสดงภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT 5 TM แบนด์ 4-5-3 (แดง-เขียว-น้ำเงิน) บันทึกภาพวันที่ 9 พฤษภาคม 2542 แสดงพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาพแสดงภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT 5 TM แบนด์ 4-5-3 (แดง-เขียว-น้ำเงิน)
บันทึกภาพวันที่ 9 พฤษภาคม 2542
แสดงพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาพแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. 2538
ภาพแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. 2538
ภาพแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. 2542
ภาพแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. 2542

ตารางการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำปากพนังระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542

** และ *** พื้นที่รวมได้จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียม ปี พ.ศ. 2538 และ 2542 ทั้งนี้ ความแตกต่างของพื้นที่รวมของแต่ละปีไม่เท่ากัน เนื่องจากการเพิ่มขึ้น ของพื้นที่ดินเลนงอกใหม่และป่าชายเลนโดยเฉพาะรอบบริเวณอ่าวปากพนัง
** และ *** พื้นที่รวมได้จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียม ปี พ.ศ. 2538 และ 2542 ทั้งนี้ ความแตกต่างของพื้นที่รวมของแต่ละปีไม่เท่ากัน เนื่องจากการเพิ่มขึ้น ของพื้นที่ดินเลนงอกใหม่และป่าชายเลนโดยเฉพาะรอบบริเวณอ่าวปากพนัง

ภาพถ่ายจากดาวเทียมในปีพ.ศ. 2538 และ 2542 แสดงถึงภาพรวมของการใช้ที่ดินหลัก คือ พื้นที่ป่าไม้ ยางพารา นาข้าว ป่าชายเลน และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำข้อมูลจากดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีผลต่อสภาพแวดล้อมของลุ่มน้ำปากพนังโดยเฉพาะป่าชายเลนในอ่าวปากพนังที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ตามความต้องการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้น ป่าชายเลนและป่าจาก บริเวณพื้นที่ราบติดชายทะเล และบริเวณที่ราบลุ่มได้ถูกบุกรุกและลักลอบตัดไม้เพื่อทำฟืนและเผาถ่านและใช้พื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Coastal Resource Institute,1991) เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ามาก(ปรีชา และคณะ, 2538) จึงเกิดการแพร่ขยายของพื้นที่นากุ้งอย่างรวดเร็วจากปี พ.ศ. 2531ซึ่งมีพื้นที่ 20.86 ตารางกิโลเมตร เป็น 175.54ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2538 และเพิ่มเป็น205.73 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2542(เชาวน์ และคณะ) ผลจากการขยายพื้นที่นากุ้ง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดิน และสิ่งแวดล้อมตลอดจนการแพร่กระจายของความเค็มไปสู่พื้นที่นาข้าวและแหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้ข้าวเจริญเติบโตไม่ดีและมีผลผลิตต่ำ (ประมุข และคณะ, 2538 ; Tanavud et al., 2001) ดินที่ผ่านการทำนากุ้งที่เสื่อมโทรมควรได้รับการฟื้นฟูเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น (สุกาญจนวดี, 2539 ; ไชยสิทธิ์, 2544) สำหรับพื้นที่ป่าเลนบริเวณปากอ่าวปากพนังกลับมีพื้นที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีตะกอนดินทับถมในอ่าว โดยมีผู้ประเมินว่ามีตะกอนดินทับถมในอ่าวประมาณ1.2 ล้านตัน/ปี โดยที่ 70 {8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ไหลลงสู่อ่าวในฤดูฝน ทำให้อ่าวตื้นเขินเกิดเป็นสันดอน กลายเป็นพื้นที่ดินเลนงอกใหม่ทุกปี(นพรัตน์, 2540) ประกอบกับหน่วยงานของรัฐมีโครงการปลูกป่าชายเลนในบริเวณพื้นที่ดินเลนงอกใหม่ ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอ่าวปากพนังจึงเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นต่อการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติให้ข้อมูลที่ทันสมัย และต่อเนื่องสม่ำเสมอร่วมกับเทคโนโลยีของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาติดตาม ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงการกำหนดเขตประเภทการใช้ที่ดินให้เหมาะสมและให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.