บันทึกนักสำรวจ ที่ 034 “ทำไมทะเลบัวแดง ไม่เป็นสีแดงบนภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชต”

10446668_596839583752235_3339608913196540031_n

ดาวเทียมไทยโชตมี 2 กล้องที่สามารถบันทึกภาพได้พร้อมกัน และภาพที่ได้มี 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน คือ ได้ภาพสี (รายละเอียดภาพ 15 เมตร) และ ภาพขาวดำ (รายละเอียดภาพ 2 เมตร) เพื่อรองรับลักษณะงานที่หลากหลายและต้องการความละเอียดของข้อมูลที่แตกต่างกัน

คำว่า “รายละเอียดภาพ” หรือ “Resolution” หมายถึง ค่าความละเอียดของจุดภาพหรือพิกเซลของภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ยกตัวอย่างเช่น รายละเอียดภาพ 2 เมตร หมายถึง 1 พิกเซลของภาพจะครอบคลุม 2×2 เมตรบนพื้นที่จริง เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามที่มีขนาดใหญ่กว่า 2×2 เมตรจะสามารถมองเห็นได้ในภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชตภาพขาวดำ อาทิเช่นบ้านเรือน สนามฟุตบอล พื้นที่เกษตรกรรม ถนน เป็นต้น

แต่ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตที่ใช้ในรายการ The Surveyor นั้น จะเห็นว่าเป็นภาพสีที่มีขนาด 2×2 เมตร เนื่องจากภาพดังกล่าวนี้ผ่านกระบวนการผสมผสานข้อมูลระหว่างภาพสีและภาพขาวดำ เรียบร้อยแล้ว

เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ดอกบัว 1 ดอกมีขนาดเล็กกว่า 2×2 เมตร เพราะฉะนั้นสีที่ปรากฏบนภาพดาวเทียมไทยโชตจึงเป็นสีของใบบัวซะส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือสีเขียวนั่นเอง

10626623_596839723752221_2899993217354627625_n

11108332_596839760418884_250306313094145642_n

11430136_596839710418889_6810796949751234296_n10301048_596839720418888_4595008259025690923_n10309375_596839730418887_3200756419085048334_n

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.