การนำเข้าข้อมูลแรสเตอร์ (Raster data input)

ข้อมูลแรสเตอร์มักจะอยู่ในรูปของข้อมูลเชิงภาพ (Pictorial) เช่น รูปถ่ายทางอากาศ หรือภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น ข้อมูลแรสเตอร์นี้สามารถนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้โดยการใช้อุปกรณ์แปลงข้อมูลที่เรียกว่าเครื่องกราดภาพ อุปกรณ์กราดภาพประกอบด้วย แท่งทรงกระบอกกราดภาพ (Scanning cylinder) ที่ใช้ติดตั้งข้อมูลต้นฉบับและตาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic eye) ซึ่งจะเคลื่อนที่จากซ้ายไปขวาขณะที่แท่งทรงกระบอกหมุนรอบด้วยความเร็วคงที่ ข้อมูลในลักษณะของระดับความเข้มของแสงจะถูกแปลงเป็นข้อมูลเชิงเลขในหน่วยจุดภาพ ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0-255 สำหรับภาพขาว-ดำ และทำการแยกภาพสีออกเป็นแม่สี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน สำหรับเครื่องกราดภาพสี (Color scanner)

การนำเข้าข้อมูลแรสเตอร์นี้มีลักษณะเป็นการนำเข้าแบบอัตโนมัติ ผู้ปฏิบัติงานจะนำเอาภาพต้นฉบับที่ต้องการจะแปลงข้อมูลขึ้นติดตั้งบนแท่งทรงกระบอกกราดภาพ จากนั้นก็จะทำการเลือกค่าขนาดของหน่วยภาพที่เหมาะสมที่จะทำการแปลงข้อมูลเชิงภาพให้เป็นข้อมูลเชิงเลข โดยทั่วไปหากจุดภาพมีขนาดเล็กก็จะยิ่งให้รายละเอียดสูงแต่ขนาดของแฟ้มข้อมูลจะมีขนาดใหญ่และใช้เวลาในการแปลงข้อมูลเป็นเวลานาน ในทางตรงกันข้ามหากจุดภาพมีขนาดใหญ่ แฟ้มข้อมูลที่ได้ก็จะมีขนาดเล็กและเวลาที่ใช้ในการแปลงข้อมูลก็จะรวดเร็วแต่รายละเอียดที่ได้จะต่ำ ดังนั้นการเลือกขนาดของจุดภาพที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประสิทธิภาพของการแปลงข้อมูล และสมควรที่จะได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ

 

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.