ข้อมูล (Data) : มาตรฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS standards)

การตระหนักถึงเรื่องมาตรฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เกิดจากแนวโน้มการเบนทิศทางเข้ามาร่วมกันของเทคโนโลยี การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และกลุ่มผู้ใช้ รวมทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่ การจัดตั้งคณะกรรมการวิชาการที่ 211 ขององค์การมาตรฐานสากลในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1994 นั้น มีส่วนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศทั่วโลก รองรับด้วยการเกิดการจัดตั้งกรรมการมาตรฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในองค์กรอาชีพระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติขึ้นเรื่อยๆ เพื่อร่วมในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าวการเข้ามามีส่วนร่วมในระดับประเทศผ่านองค์กรระดับชาติ สำหรับองค์กรระดับภูมิภาคและระดับนานาชาตินั้น ทำได้โดยการมีสถานภาพเป็นสมาชิกสมทบ ซึ่งไม่สามารถออกเสียงในกระบวนการนี้ แต่สามารถร่วมประชุมและพัฒนาได้

มาตรฐานระบบสารสนเทศ หมายถึง มาตรฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ และ/ หรือมาตรฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ การพัฒนามาตรฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สะท้อนแนวโน้มของโลกแห่งมาตรฐาน นั่นคือ (1) การพัฒนามาตรฐานที่เกิดจากการคาดการล่วงหน้า (Anticipatory development) (2) การเพิ่มการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้และ (3) การบูรณาการของมาตรฐาน (Integration of standards) การพัฒนามาตรฐานที่ดำเนินการตามหลักดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ประกันได้ว่าได้มาตรฐานที่มีความเหมาะสม

มาตรฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อาจได้มาโดยการรับเอามาโดยตรง (Adoption) หรือการดัดแปลง(Adaptation) มาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น มาตรฐานการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology standard) ตัวอย่างการรับมาใช้ ได้แก่ การใช้ SQL เป็นมาตรฐาน ส่วนการดัดแปลง SQL ให้ใช้ได้กับการประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นตัวอย่างของการดัดแปลงของมาตรฐานในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นั้น ยังมีมาตรฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วย มาตรฐานข้อมูลเชิงพื้นที่กำหนดขึ้นมาเพื่อการกำหนด อธิบาย และดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ ตัวอย่างของข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่ มาตรฐานการโอนย้ายข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data Transfer Standard : SDTS) และมาตรฐานองค์ประกอบหรือเนื้อหา (Content standard) สำหรับ Digital geospatial metadata เป็นต้น

ในการพัฒนามาตรฐานนั้น โดยปกติแล้วจะพิจารณาการรับเอามาตรฐานที่มีอยู่แล้วมาใช้หรือดัดแปลงแก้ไขมาตรฐานที่มีอยู่เพื่อนำมาใช้ให้เหมาะกับแต่ละสถานการณ์ ส่วนการพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมดนั้น เป็นวิธีการสุดท้ายที่ควรจะทำเนื่องจากเวลาที่ต้องใช้ในกระบวนการนี้ยาวนาน มาตรฐานต้องมีอยู่เมื่อต้องการใช้ ดังนั้นการพัฒนามาตรฐานควรเกิดขึ้นจากการคาดการณ์ไปข้างหน้า แล้วพัฒนาให้เกิดขึ้นแทนที่จะให้เกิดความต้องการแล้วจึงพัฒนาเพราะจะไม่ทันเวลาที่สำคัญ การรวมเอามาตรฐานอื่นๆ มาร่วมพิจารณาในระหว่างการพัฒนามาตรฐานนั้นเป็นการทำให้แน่ใจว่ามาตรฐานที่จะเกิดขึ้นสามารถใช้ร่วมกันได้ และจะทำให้มีการย้ำเน้น (Confirm) กับมาตรฐานต่างๆ ที่สามารถใช้ในการดำเนินการได้อย่างสะดวกและมีความมั่นใจยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการนำเสนอนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานระบบสารสนเทศ ความเข้าใจนี้จะใช้เป็นพื้นฐานของการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และการใช้มาตรฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการจัดทำและบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาระดับโลกที่กำลังเผชิญอยู่

 

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.