หลักสูตรการประมวลผลและแปลความหมายข้อมูลจากดาวเทียมสำหรับ กฟผ.

ที่มาของหลักสูตร

บันทึกข้อตกลง ระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชนว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

ความสำคัญของหลักสูตร

ปัจจุบันเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing: RS) มีความก้าวหน้าและทันสมัย ทั้งในด้านความหลากหลายของรายละเอียดภาพและความถี่ในการบันทึกซ้ำที่เดิมที่มากขึ้น ข้อได้เปรียบนี้ ทำให้ได้ข้อมูลจากระยะไกลอย่างรวดเร็วตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและการเกษตรของประเทศไทย หลักสูตรการประมวลผลและแปลความหมายข้อมูลจากระยะไกล มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลแบบครบวงจร ตั้งแต่การรับสัญญาณ การจัดเตรียมข้อมูล การประมวลผล การแปลความหมายข้อมูลจากระยะไกลด้วยสายตาและคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบผลการจำแนกข้อมูล รวมถึงเทคนิคและวิธีการสำรวจข้อมูลภาคสนาม ตลอดจนการจัดทำแผนที่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดตาม การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจและวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

  • เข้าใจหลักการพื้นฐานเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกล
  • เข้าใจขั้นตอนและกระบวนการการประมวลผลและแปลความหมายข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเพื่อการวางแผนจัดการด้านต่างๆ ได้
  • สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจากระยะไกลได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ที่ต้องการเรียนรู้การใช้งานข้อมูลจากระยะไกล เพื่อการสำรวจและติดตามทรัพยากร ผู้ที่มีภารกิจรับผิดชอบด้านการติดตามและจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตลอดจนบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาหลักสูตร

Module 1 หลักการพื้นฐานการสำรวจข้อมูลจากระยะไกล (Remote Sensing)

  • ความหมายของการรับรู้จากระยะไกล
  • กระบวนการและองค์ประกอบการรับรู้จากระยะไกล
  • ประเภทและวงโคจรของดาวเทียม
  • คุณลักษณะข้อมูลดาวเทียม
  • เอกลักษณ์เชิงคลื่น (Spectral Signature)

Module 2 การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (Geometric Correction)

  • หลักการแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียมด้วยสายตา (Visual interpretation )
  • ปฏิบัติการการแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียมด้วยสายตา (Lab Visual interpretation )
  • แหล่งข้อมูลและการเตรียมข้อมูล (Pre-processing and Band Combination)

Module 3 การประมวลผลข้อมูลจากดาวเทียม (Image Processing)

  • การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (Geometric Correction)
  • เทคนิคการเชื่อมต่อภาพ (Image Mosaic) และการตัดภาพ (Subset Image)
  • การวิเคราะห์และแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์
    -หลักการจำแนกประเภทข้อมูลแบบไม่กำกับ (Unsupervised Classification)
    -หลักการจำแนกประเภทข้อมูลแบบกำกับ (Supervised Classification)
  • การประเมินความถูกต้องจากการจำแนกประเภทข้อมูลจากดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Accuracy Assessment)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : ERDAS IMAGINE

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม : สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม : ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 15 คน โดยพิจารณาตามคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกของ สทอภ.

การประเมินผล
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรอง โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินผลการฝึกอบรม ดังนี้
-เข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
-ผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
-ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้ครบถ้วนและมีผลงานผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.