หนูอวกาศ

GISTDA LEARN SPACE MICE JAPAN
This July 23, 2014, photo provided by University of Yamanashi shows a white mouse foster mother with pups. (Sayaka Wakayama/University of Yamanashi via AP)

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยามานาชิ ประเทศญี่ปุ่น ได้เผยแพร่ความสำเร็จจากการทดลองที่เรียกว่า “Space mice” หรือ “หนูอวกาศ” ผ่านวารสาร the National Academy of Sciences งานดังกล่าวเป็นการทดลองผสมพันธุ์หนูด้วยสเปิร์มของหนูที่เคยถูกนำขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติและเก็บไว้เป็นเวลานาน 9 เดือนกับไข่บนโลก ลูกหนูที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการดังกล่าว ล้วนมีสุขภาพแข็งแรงดีและยังสามารถสืบพันธุ์ได้ตามปกติ ผลการทดลองครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกของโลกที่พิสูจน์สมมุติฐานที่ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถสืบพันธุ์ในอวกาศได้ ทั้งที่อยู่ในสภาวะความเข้มข้นรังสีสูงมากและเป็นอันตรายต่อยีนส์

การทดลองดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยยามานาชิและองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA โดยนักวิจัยได้แช่แข็งสเปิร์มของหนูและส่งขึ้นสู่โมดูลห้องทดลองของญี่ปุ่น (Kibo module) บนสถานีอวกาศนานาชาติ เชื้อสเปิร์มดังกล่าวถูกเก็บรักษาไว้ในอวกาศเป็นระยะเวลานาน 9 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2557 จากนั้นนำกลับมาสู่โลกด้วยยานอวกาศของอเมริกา

หนูอวกาศที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไข่และสเปิร์มที่มาจากอวกาศมีจำนวน 73 ตัว คิดเป็นอัตราการเจริญพันธุ์ประมาณร้อยละ 10 ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการเจริญพันธุ์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์กับสเปิร์มปกติจากหนูที่อยู่บนโลก คือประมาณร้อยละ11 การทดลองนี้ยังค้นพบอีกว่าหนูอวกาศเหล่านี้ยังสามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้และไม่พบความผิดปกติทางร่างกายอีกด้วย

ในระหว่างที่สเปิร์มถูกเก็บรักษาไว้บนสถานีอวกาศนานาชาติต้องเผชิญกับความเข้มข้นรังสีในอวกาศที่สูงกว่าบนโลกประมาณ 100 เท่าส่งผลให้ DNA ในสเปิร์มดังกล่าวได้รับความเสียหายประมาณร้อยละ 75 แต่ผลการทดลองกลับพบว่ายีนส์ของหนูที่เกิดจากสเปิร์มที่มาจากอวกาศและสเปิร์มบนโลกนั้น ไม่มีความแตกต่างกัน  ในประเด็นนี้ Prof.Teruhiko Wakayama จากมหาวิทยาลัยยามานาชิได้อธิบายไว้ว่า “อาจเป็นไปได้ว่าเกิดกระบวนการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ DNA โดยไข่ที่ผสมกับสเปิร์ม” และยังกล่าวอีกว่า “ถ้าหากเราขยายเวลาเก็บรักษาสเปิรม์ไว้บนอวกาศ อาจจะทำให้ความเสียหายที่เกิดจากรังสีแย่กว่านี้ และแม้จะมีกระบวนซ่อมแซม DNA แต่ก็อาจจะไม่ช่วยอะไร”

ในอนาคตทีมนักวิจัยวางแผนจะทำการทดลองแบบเดียวกันอีกครั้ง โดยจะขยายเวลาเก็บรักษาสเปิร์มไว้บนอวกาศประมาณ 3 – 5 ปี รวมทั้งจะทำการผสมพันธุ์ระหว่างไข่และสเปิร์มในอวกาศด้วย

ที่มา https://mainichi.jp

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.