ช่องสามหมอ จังหวัดชัยภูมิ (Chong Sam Mo)

Thailand from Thaichote Banner

ทิวเขาบางทิวมีรอยขาดจากกันเป็นช่วง เป็นลักษณะธรณีสัณฐานที่น่าสนใจ เพราะบริเวณเช่นนี้มักใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ลักษณะธรณีสัณฐานที่เป็นช่องเขาขาดมี 2 ลักษณะคือ ช่องเขาขาดที่ไม่มีลำน้ำไหลผ่านเรียกว่า “กิ่วลม” ซึ่งมีอยู่หลายแห่งโดยเฉพาะบนทิวเขาพนมดงรัก เช่น ช่องอานม้า ช่องโอบก ช่องจอม เป็นต้น ช่องเหล่านี้เป็นเส้นทางสะดวกจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างไปยังกัมพูชา ส่วนอีกลักษณะหนึ่งเป็นช่องเขาขาดที่มีลำน้ำไหลผ่านเรียกว่า “กิ่วน้ำ (water gap)” มีลำน้ำไหลตัดผ่านทิวเขาอย่างชัดเจน การเกิดกิ่วลมและกิ่วน้ำมีทฤษฎีทางธรณีสัณฐานอธิบายกันไว้หลายทฤษฎี เช่น “การกัดกร่อนเข้าหากัน (headward erosion)” หมายถึง มีลำธารอยู่สองข้างของทิวเขากัดกร่อนจนมาพบกันตรงสันเขาและตัดสันทิวเขาจนเป็นช่อง อีกทฤษฎีหนึ่ง เรียกว่า “การซ้อนทับ (superimposed)” หมายถึง บริเวณทิวเขามีลำน้ำไหลผ่านอยู่ก่อนแล้ว เมื่อพื้นที่ตรงนั้นค่อยๆ ยกตัวขึ้นเป็นทิวเขา ลำน้ำจะรักษาระดับการไหลของน้ำให้คงเดิม จึงกัดเซาะสันของทิวเขาตรงที่ลำน้ำไหลผ่านให้เป็นอัตราส่วนเท่ากับ การยกตัวจึงเกิดเป็นกิ่วน้ำ แต่ถ้าขณะที่ทิวเขายกตัวขึ้นภายหลังพบว่า อัตราการกัดเซาะของลำน้ำมีน้อยกว่าการยกตัวของพื้นที่ ในที่สุดลำน้ำจะขาดออกจากกันหรือเปลี่ยนแนวการไหลไปทางอื่นและคงสภาพธรณีสัณฐานช่องเขาขาดเรียกว่ากิ่ว

water gap

Chongsammo-02

Chongsammo-01

ช่องสามหมอ เป็นลักษณะ กิ่วน้ำ (water gap) หากสังเกตข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต ลำห้วยสามหมอไหลตัดทิวเขาภูแลนคาเกือบเป็นมุมฉาก ถ้าสังเกตให้ละเอียดจะเห็นว่าลำห้วยสามหมอไหลกัดเซาะแนวสันเขาเป็นรอยเว้าผ่านชั้นหินต่างๆ และมีร่องรอยของชั้นหินหลายแนว มีแนวสันหินในระดับต่ำห่างจากช่องสามหมอลงมาประมาณ 3 กิโลเมตร เห็นเป็นแนวขนานกับภูโค้งค่อนข้างชัดเจน แต่มีระดับต่ำกว่า ลักษณะเช่นนี้ทำให้สันนิษฐานว่าลำห้วยสามหมอน่าจะเป็นลำน้ำบรรพการ (antecedent stream) ที่ซ้อนทับกันบริเวณนี้อยู่ก่อนการยกตัวของบริเวณนี้ ลำห้วยสามหมอจึงกัดเซาะไปพร้อมๆ กับการยกตัว เนื่องจากหินในชุดโคราชแต่ละหมวดหินประกอบด้วยหลายชั้น แต่ละชั้นหินมีคุณสมบัติทนทานต่อการสึกกร่อนแตกต่างกัน หมวดหินโคกกรวดเป็นหมวดที่อยู่ชั้นบนสุดของหินชุดโคราชในบริเวณนี้จึงได้สึกกร่อนไปก่อน แต่บางชั้นของหมวดหินนี้สึกกร่อนได้ช้ากว่าชั้นอื่นจึงยังคงเห็นแนวรางๆ อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหมวดหินภูพานยังคงเหลือจากการสึกกร่อนอยู่มากจึงเห็นเป็นสัน

บทความอื่นๆเกี่ยวกับช่องสามหมอ

ที่มา: หนังสือธรณีสัณฐานประเทศไทยจากห้วงอวกาศ

รวบรวมข้อมูลโดย: นางสาวปณิชา นพจิระเดช

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.