ภูด่านอีป้อง จังหวัดชัยภูมิ

GE_PHUDANIPONG

001

ภูด่านอีป้อง เป็นภูเขาท่ามกลางที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วางตัวอยู่ทางทิศใต้ของภูกระดึง และอยู่ทางทิศตะวันตกของภูเวียงสามารถเดินทางเข้าถึงโดยแยกจากเส้นทางหลวงหมายเลข 12 สายหล่มสัก – ชุมแพ ยอดสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1,271 เมตร หรือสูงกว่าที่ราบโดยรอบประมาณ 700 เมตร ทางด้านตะวันออก และประมาณ 400 เมตรทางด้านตะวันตก

ลักษณะที่สังเกตได้ในภาพจากดาวเทียม คือภูด่านอีป้องเป็นเนินยอดป้าน คลุมบริเวณประมาณ 4.5 ตารางกิโลเมตร มีทิวเขาและทางน้ำเป็นวงโอบล้อมหลายชั้นเป็นแบบรูปทางน้ำวงแหวน ห้วยสนามทรายทางด้านเหนือและห้วยตูบกบทางด้านใต้ เมื่อรวมกันแล้วไหลลงน้ำเชิญและห้วยน้ำสุด้านทิศตะวันออก ส่วนบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้มีแม่น้ำพรมใหญ่ไหลผ่าน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเขื่อนจุฬาภรณ์หรือเขื่อนน้ำพรม

ธรณีสัณฐานของภูด่านอีป้องเป็นเนินยอดป้าน เกิดจากการกร่อนของชั้นหินที่มีความแข็งแกร่งต่างกัน เหลือไว้แต่ชั้นหินที่มีความแข็งกว่า กลายเป็นเนินยอดป้าน ซึ่งลักษณะคล้ายคลึงกับภูเขายอดราบของภูกระดึงวางตัวอยู่กลางที่ราบและเนินล้อมรอบอีก 3 ชั้น ชั้นหินเหล่านี้แสดงถึงการกร่อนของชั้นหินที่มีความแข็งแกร่งต่างกันของหินชุดโคราช ที่มีลักษณะโครงสร้างทางธรณีเป็นรูปประทุนหงาย มีความกว้าง – ยาวเท่ากันเป็นรูปกระทะและรอบๆ ภูด่านอีป้องมีทางน้ำเป็นลักษณะวงแหวน ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของโครงสร้างทางธรณี

ธรณีวิทยาบริเวณภูด่านอีป้องเป็นชั้นหินทรายในหมวดหินภูพาน (อายุประมาณ 100 ล้านปี) วางตัวอยู่บนชั้นหินทรายหมวดต่างๆ กันจากอายุน้อยไปหาอายุมากดังนี้ หินทรายหมวดหินเสาขัว หินทรายหมวดหินพระวิหาร หินทรายหมวดหินภูกระดึง และห้วยหินลาด

ภูผาจิต หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภูด่านอีป้อง ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ทางเข้าอยู่ตรงหลักกม.ที่ 69 ทางหลวงหมายเลข 12 (หล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 10 กม. เส้นทางค่อนข้างลำบาก ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 6-7 ชั่วโมง สภาพป่าสวยงามมีลักษณะเด่นคือ ตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนที่ราบสูง ลักษณะสัณฐานคล้ายภูกระดึงแต่เล็กกว่า เป็นภูเขาที่มีที่ราบคล้ายภูกระดึง มีไม้สนขึ้นอยู่ที่เดียวกันประกอบด้วยป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และไม้มีค่าหลายชนิด

MAP_PHUDANIPONG

ที่มา : หนังสือธรณีสัณฐานประเทศไทยจากห้วงอวกาศ

           www.thai-tour.com
รวบรวมข้อมูลโดย ณัฐพล สมจริง

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.