แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช

nst_110359

คงจำกันได้ว่าเมื่อในปี พ.ศ. 2505 ข่าวที่ร้ายแรงที่สุดในรอบปีของประเทศไทยคือข่าวพายุใต้ฝุ่นพัดกระหน่ำแหลมตะลุมพุกสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิต ทรัพย์สิน และบ้านเรือนของประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณแหลม จนทางรัฐบาลต้องระดมสรรพกำลังช่วงเหลือผู้ประสบอุทกภัยเป็นการเร่งด่วน ซึ่งโศกนาฏกรรมอันสืบเนื่องมาจากภัยธรรมชาติคราวนี้ทุกคนในประเทศไทยโดยเฉพาะผู้ที่อยู่บริเวณแหลมยังคงจำภาพติดตาได้อย่างไม่มีวันลืมเลือน

แหลมตะลุมพุกที่เห็นในภาพเป็นแนวสันดอนจะงอยทรายแคบๆ และโค้งเหมือนคันศรขึ้นไปทางเหนือ โดยมีแนวโค้งเข้าไปทางทิศตะวันตก แนวโค้งดังกล่าวเป็นแนวชายหาดที่เชื่อมต่อกันเป็นแนวหาดทรายแคบๆ ลงไปทางใต้ ส่วนด้านในของโค้งหรือด้านในของแหลมที่เห็นในภาพว่ามีลักษณะเหมือนก้ามปูและมีสีแดงเป็นตะกอนดินเหนียวที่เกิดจากการทับถบของตะกอนที่ไหลออกมาจากแม่น้ำปากพนัง และยังสภาพเป็นป่าชายเลน การทับถมของตะกอนดินดังกล่าวเป็นผลมาจาการเกิดแหลมตะลุมพุกซึ่งปิดกั้นไม่ให้น้ำทะเลพัดเอาตะกอนหายไปในทะเล การตกตะกอนดังกล่าวจะสังเกตได้ว่าอยู่เฉพาะในอ่าวที่มีแหลมตะลุมพุกกั้นไว้ ตะกอนเหล่านั้นมีลักษณะเป็นดินเลนหรือดินทรายในโคลนหรือดินแฉะ มีสะเทาปนน้ำเงิน และเป็นดินเค็ม ด้วยเหตุที่ว่าตะกอนเหล่านี้มีน้ำทะเลท่วมถึงเมื่อเวลาน้ำขึ้น และโผล่เมื่อเวลาน้ำลง จึงเรียกว่าเป็นบริเวณที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึง

ตามสภาพธรรมชาติสันดอนจะงอยทรายซึ่งเป็นแหลมตะลุมพุก จะไม่ค่อยมีพืชธรรมชาติ เนื่องจากเป็นทรายและบางส่วนอาจมีน้ำทะเลท่วมเมื่อเวลาน้ำขึ้นสูง ส่วนด้านใต้ของแหลมซึ่งเป็นบริเวณที่สะสมของตะกอนดินเลนหรือดินทรายปนโคลน จะมีป่าชายเลนขึ้นมาปกคลุม ป่าชายเลนในปัจจุบันจะมีเฉพาะบริเวณที่ติดอยู่กับแหลมตะลุมพุก ในภาพจะมีลักษณะเหมือนก้ามปูสีแดงพบบริเวณฝั่งตรงข้างทางตอนล่างเท่านั้น ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของอ่าวขึ้นไปทางเหนือ ในภาพจากดาวเทียมจะเห็นเป็นรูปแปรงสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินเข้มปะปนกับสีขาว เป็นบ่อกุ้งทั้งหมด ซึ่งบ่อกุ้งดังกล่าวในอดีตล้วนแต่เป็นป่าชายเลนทั้งสิ้น

การเกิดแหลมเป็นลักษณะธรรมชาติของชายฝั่งทะเลงอกหรือฝั่งทะเลยกตัว ซึ่งเป็นลักษณะของฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย สำหรับแหลมตะลุมพุกเป็นแหลมซึ่งเกิดจากการที่กระแสน้ำและคลื่นพักพาเอาทรายมาทับถมเป็นแนวแคบและยาวตามแนวชายฝั่งโดยที่มีปลายหนึ่งติดอยู่กับฝั่ง อีกปรายหนึ่งยื่นไปในทะเล และตอนปลายจะงอยโค้งเป็นจะงอยตามอิทธิพลของกระแสน้ำและคลื่นที่พักเข้าสู่ชายฝั่ง

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.