26 มิถุนายน เปลี่ยนชื่อ “เมืองกุย” เป็น “เมืองประจวบคีรีขันธ์”

TH_MS_06032010_Prachuap Khilikhanข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชต ระบบหลายช่วงคลื่น บันทึกภาพวันที่ 6 มีนาคม 2553

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในอดีตเป็นเมืองชั้นจัตวาเล็กๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองชื่อว่า เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม แต่ที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงย้ายเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และมีการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2398 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “เมืองกุย” เป็น “เมืองประจวบคีรีขันธ์” โดยรวมเมืองกุย เมืองคลองวาฬ เมืองบางนางรมเข้าด้วยกัน ต่อมา พ.ศ. 2441 จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านเกาะหลัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงได้เป็นเมืองชั้นจัตวาที่ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี และมีสถานะเป็นอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์สังกัดเมืองเพชรบุรี ในช่วงนี้เมืองปราณบุรีซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ทางด้านทิศเหนือ ที่เคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวาขึ้นกับเมืองเพชรบุรี ก็ได้จัดตั้งเป็นอำเภอเมืองปราณบุรีสังกัดเมืองเพชรบุรีด้วย และวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าให้รวมอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ของจังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ ของจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี และในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ หลังจากการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและมณฑลราชบุรีอีก

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ในภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ได้รับสมญานามว่า “ประตูสู่ภาคใต้” ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 6,357.62 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,973,512.50 ไร่ รูปร่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีลักษณะยาวและแคบตามแนวเหนือใต้ ส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ วัดจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกบริเวณบ้านหว้าโทนไปจดชายแดนสหภาพพม่าที่ด่านสิงขรทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งมีความกว้าง 12 กิโลเมตรและส่วนที่กว้างที่สุดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ที่อำเภอหัวหิน กว้างประมาณ 60 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกซึ่งเป็นเทือกเขาตะนาวศรีที่กั้นพรม แดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า ลาดลงสู่ด้านทิศตะวันออกบริเวณอ่าวไทย ด้านทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อน และพื้นที่ราบส่วนมากเป็นที่ราบเชิงเขา บางตอนเป็นที่ราบต่ำ ด้านชายฝั่งทะเลภูเขาทางทิศตะวันตกเป็นภูเขาหินแกรนิตส่วนภูเขาทางทิศตะวันออกเป็นภูเขาหินปูน

ลักษณะทางธรณีวิทยา บริเวณทิศตะวันออกจะเป็นที่ราบกว้างกว่าทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมและแหล่งประกอบอาชีพที่สำคัญของจังหวัด ประกอบด้วยกรวด ดินตะกอน โคลน ที่ถูกน้ำพัดพามาทับถมตามที่ราบชายฝั่ง ทาง บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันออกจะมีภูเขาเตี้ยๆ เป็นหย่อมๆ เป็นภูเขาหินปูน เช่น เขาตาม่องล่าย เขาเต่า เขาไกรลาส เขาล้อมหมวก เกาะทะลุ เกาะหลัก เขาสามร้อยยอด เขาตะเกียบ เกาะจาน เป็นหินสีเทา บางแห่งพบเป็นสีเทาอมน้ำเงิน อมเหลืองและอมขาว เป็นทั้งหินปูนเนื้อแน่นเป็นชั้นที่มีบรรพชีวิน

Map-Prachuap

 

ข้อมูลจากดาวเทียม ไทยโชต
ระบบ หลายช่วงคลื่น
รายละเอียดภาพ 15 เมตร
บันทึกภาพ วันที่ 6 มีนาคม 2553

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.