แก่งตะนะ จังหวัดอุบลราชธานี

TH_KaengTanaแก่งตะนะ อยู่ห่างจาก อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นแก่งกลางแม่น้ำมูล ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่ อ.โขงเจียม

จากภาพถ่ายดาวเทียมสามารถมองเห็นดอนตะนะปรากฏกลางแม่น้ำมูลชัดเจนมาก และยังสามารถสังเกตเห็นแนวระดับและมุมเทของการวางตัวของชั้นหินตะกอนของหินชุดโคราชในแนวตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างชัดเจน ลำน้ำมูลช่วงตั้งแต่บ้านคันเปื่อยไปบรรจบกับแม่น้ำโขงวางตัวในแนวระดับของชั้นหินชุดโคราชที่แผ่กระจายในพื้นที่ ประกอบด้วยการเรียงลำดับชั้นของหมวดหินพระวิหาร หมวดหินเสาขัว หมวดหินภูพาน และหมวดหินโคกกรวด จากล่างสุดมายังบนสุด

GE_KaengTana

ดอนตะนะเป็นส่วนที่เหลืออยู่ส่วนหนึ่งของหมวดหินภูพาน เกิดจากการกัดเซาะลึกของแม่น้ำมูล เพราะแผ่นดินบริเวณนี้เคยถูกยกให้สูงขึ้น การกัดเซาะลึกของแม่น้ำจึงทำให้ได้หน้าผาหินลึกชันลงไปสู่ทางน้ำเช่นเดียวกับบริเวณแก่งตะนะ ชั้นหินทรายแข็งของหมวดหินภูพานยังรองรับลำน้ำมูลบริเวณดอนตะนะอยู่ ในฤดูน้ำหลากชั้นหินเหล่านี้จึงโผล่หรือเกือบโผล่ในหลายๆ ตำแหน่งในลำน้ำ ทำให้กระแสน้ำในลำน้ำมูลต้องไหลข้ามชั้นหินเหล่านี้ จนเกิดเป็นแก่ง และน้ำตกเล็กๆ ที่สวยงามบริเวณปากมูล แม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขงบริเวณ อ.โขงเจียม ในภาพจะเห็นแม่น้ำเป็นสองสีเกิดจากความแตกต่างของปริมาณตะกอนในน้ำทำให้สีต่างกัน

001

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม และอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบและเนินเขาเตี้ยๆ โดยมียอดเขาบรรทัดเป็นจุดสูงสุด ความสูงประมาณ 543 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวเขตทางด้านทิศเหนือไปออกประเทศลาว บริเวณแก่งตะนะจะมีสายน้ำที่เชี่ยวและลึก อีกทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำหลายแห่ง จึงทำให้มีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม ตรงกลางมีโขดหินขนาดใหญ่เป็นเกาะกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 50,000 ไร่ หรือ 80 ตารางกิโลเมตร

004

คำว่า “ตะนะ” จากการเล่าขานตามความเชื่อของชาวบ้านและประชาชนทั่วไป เดิมมาจากคำว่า “มรณะ” เนื่องจากบริเวณแก่งตะนะนี้มีกระแสน้ำไหลที่เชี่ยวกราก และมีโขดหินใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ตลอดจนมีถ้ำใต้น้ำอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านที่สัญจรทางน้ำหรือออกจับปลา มักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกแก่งนี้ว่า “แก่งมรณะ” ตามแรงบันดาลจากสภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านแก่งนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า “แก่งตะนะ”

Map_KaengTana

ที่มา : ธรณีสัณฐานจากประเทศไทยจากห้วงอวกาศ
รวบรวมข้อมูลโดย :  ณัฐพล สมจริง

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.