สองเยาวชนไทยกับแรงบันดาลใจสู่อวกาศ

“อวกาศ เป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวอีกต่อไป” เป็นประโยคที่วันนี้ประเทศไทยเริ่มเห็นภาพชัดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชนรุ่นใหม่ที่ปัจจุบันมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมอวกาศมากมาย ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ เช่นเดียวกับปีนี้ที่เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญสำหรับวงการอวกาศของประเทศไทยที่ จิสด้า ร่วมกับ สวทช. จัดสัมมนา “อวกาศ : ขุมทรัพย์แห่งมวลมนุษยชาติ Space : Infinite Assets for All Humankind” เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา เพื่อเผยแพร่โครงการทดลองในอวกาศและสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง หรือ National Space Exploration (NSE) และเป็นการปลุกกระแสและสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาด้านอวกาศแก่คนในประเทศ โดยการเชิญชวนให้คนไทยออกแบบการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำหรือในอวกาศเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศส่งการทดลองสู่สถานีอวกาศนานาชาติ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ https://www.nstda.or.th/jaxa-thailand/national-space-exploration/

ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆมากมาย หนึ่งในนั้นมีนิทรรศการจากเยาวชนคนเก่งที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจจากน้องไอเดีย และไอซี สองพี่น้องที่มีพร้อมทั้งความรู้ จิตนาการ และแรงบันดาลใจที่จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย ลองมาดูกันว่ามุมมองเรื่องอวกาศของน้องทั้งสองคนเป็นอย่างไรบ้าง

น้องไอซี (ซ้าย) และ น้องไอเดีย (ขวา)

แนะนำตัว และวันนี้มาทำอะไรที่งานสัมมนา อวกาศ : ขุมทรัพย์แห่งมวลมนุษยชาติ

ไอซี : สวัสดีคะ ชื่อ เด็กหญิง วริศา ใจดี  ชื่อเล่น ไอซี มาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ปทุมวัน ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คะ  วันนี้มาจัดบูทเกี่ยวกับที่เราได้รับรางวัลจาก JAXA (Japan Aerospace Exploration Agency) เป็นรางวัลกิจกรรม Try Zero-G 2014  ปีนั้นเราส่งเกี่ยวกับการระบายสีน้ำบนอวกาศเข้าประกวดคะ

ไอเดีย : สวัสดีคะ เป็นพี่ของไอซีคะ ชื่อ นางสาวศวัสมน ใจดี ชื่อเล่น ไอเดีย มาจากโรงเรียนศรีบุณยานนท์ กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คะ ก็ทำโปรเจคคู่กับไอซีเลยได้มาร่วมจัดบูทและคุณแม่ให้ลองมาฟังงานสัมมนาเกี่ยวกับ Space เพราะเป็นเรื่องที่เราชอบนอกเหนือจาก Biology

กิจกรรมที่น้อง ๆ เคยร่วมกับ สวทช. และ GISTDA มีอะไรบ้าง

ไอเดีย : กิจกรรมเริ่มแรกของ สวทช. ส่ง Space Seed ซึ่งเป็นการทดลองเกี่ยวกับการปลูกเมล็ดถั่ว AZUKI BEANS คือบนอวกาศนี้ตัวแปรควบคุม มันจะมีอุณหภูมิ ซึ่งจะเท่ากับอุณหภูมิของแอร์ตลอดเวลา แล้วก็ความสว่างต้องมืด แบบมืดทั้งวันเลย เราก็เลยต้องมาจัดตัวแปรควบคุมให้เหมือนกันกับการทดลองบนโลก แต่ว่าตัวแปรต้นคือสิ่งที่ต่างกันใน 2 การทดลอง คือบนอวกาศไม่มีแรงโน้มถ่วง แต่บนโลกมีแรงโน้มถ่วง คราวนี้ก็มาดูว่าพืชที่โตขึ้นมาในสภาพที่เหมือนกัน แต่ขาดแรงโน้มถ่วงหรือมีแรงโน้มถ่วงแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งกิจกรรมนี้ทำร่วมกับเพื่อนที่โรงเรียนเก่าโรงเรียนมัธยมปัญญารัตน์คะ ส่วนน้องไอซีตอนนั้นไม่ได้ส่งเพราะว่าอายุยังไม่ถึง

ไอซี : หนูเริ่มส่งพร้อมกับพี่ไอเดีย คือ กิจกรรม Try Zero-G ของ JAXA ส่งเรื่องระบายสีน้ำบนอวกาศ และได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายของ GISTDA คือ Space Camp ซึ่งค่ายนี้ครั้งแรกไปเป็นเด็กค่ายและได้คัดเลือกไปอบรมประเทศเกาหลี ส่วนครั้งที่ 2 ได้มีโอกาสไปเป็นพี่เลี้ยงน้องค่ายคะ นอกจากนี้ยังประกวดเขียนบทความด้านอวกาศ ภายใต้หัวข้อกำจัดขยะอวกาศ ในงาน Youth Forum 2016 ซึ่งได้รางวัลที่ 1 มาคะ

ปัจจุบันมีผลงานอะไรที่กำลังเข้าส่งประกวดอยู่บ้าง

ไอซี : เข้าร่วมกิจกรรม Try Zero-G อีกปีนึงคะ ครั้งนี้ส่งเป็น “สลิงกี้” ที่เหมือนของเล่นเด็กที่ยืด ๆ ได้แล้วยัดของเข้าไปข้างในและลองยืดหดดูว่ามันจะไปในทิศทางไหน

ไอเดีย : เป็น Motion ที่อยู่เหมือนทูป แต่อยู่ในสภาพ Zero-G ซึ่งเราอยากรู้ว่ามันจะเคลื่อนที่อย่างไร

การทดลองระบายสีน้ำบนอวกาศ มีการตั้งสมมุติฐานอย่างไร

ไอเดีย : สมมุติฐานของเรา คือเราคิดว่ามันน่าจะระบายได้ แต่น้ำมันจะลอย ๆ

ไอซี : ใช่คะ เพราะอยู่บนโลกเราจะมีเทคนิคแบบเขย่าเอียงกระดาษให้มันย้อยลงมา ซึ่งอยู่บนอวกาศก็จะอยู่นิ่ง ๆ มันจะไม่เอียงตาม เพราะมันไม่มีแรงดึงดูด จะมีน้ำนูน ๆ ออกมาจากกระดาษ คล้ายหยดน้ำบนใบบอน

น้องไอซี ในฐานะตัวแทนเยาวชนไทยที่เคยไปเข้าค่าย International Space Camp ที่เกาหลีกับ GISTDA ค่ายนี้ให้อะไรกับน้องบ้าง

ไอซี : ก็ได้อะไรหลาย ๆ อย่าง อย่างแรกได้เจอเพื่อนตั้งแต่ที่ค่ายไทย ได้เจอเพื่อนที่ชอบหลาย ๆ อย่างเหมือนกับเราเลยในเรื่องอวกาศ คุยถูกคอกันมาก พอคัดไปที่เกาหลีอีกก็ได้เพื่อนอีกแต่เป็นเพื่อนจากต่างชาติ ทีนี้ก็ได้ฝึกภาษาและได้ฝึกความสามัคคีในกลุ่ม เพราะเขาจะจับแยกกันเลยในหนึ่งกลุ่มจะมีทุกประเทศและต้องทำงานพรีเซนออกมาร่วมกัน ซึ่งอย่างแรกเราก็ต้องสื่อสารกับเขาให้เข้าใจก่อน มีการแบ่งงานกัน และแบ่งหน้าที่ หนูได้เป็นคนออกไปพรีเซนคะ ตอนนั้นทำเรื่องที่อยู่ในอวกาศ

ทำไมน้องๆ ถึงสนใจเรื่องของอวกาศ

ไอเดีย : ก็เหมือนเราได้อยู่กับมันทุกวัน แต่ว่าเราไม่ได้เห็นมัน แค่มันอยู่ข้างนอกเราแต่เราก็อยู่กับมันตลอด ก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าค้นหากว้างดี ก่อนที่มันจะเป็นจักรวาลมันคืออะไร และจักรวาลคืออะไรกันแน่ มันก็เริ่มจะเกิดคำถามว่าทำไม ถ้าสามารถว่าเราทดลองอะไรบนอวกาศได้มันก็ต่างจากโลกเหมือนหลุดไปอยู่อีกทีนึงเลย

น้องคิดว่าในอนาคตเทคโนโลยีอวกาศจะส่งผลอย่างไรบ้างกับชีวิตของคนที่อยู่บนโลก

ไอซี : หนูคิดว่าในอนาคตน่าจะมีคนไปอยู่อวกาศ เพราะว่าเขาก็หาทางอย่างเช่นไปดวงจันทร์หรือดาวอังคารอะไรแบบนี้ อย่างหนังหลายเรื่องก็มีบอกว่าเขาคิดวิธีที่จะไปอยู่ไปตั้งถิ่นฐานได้แล้ว เพราะเขาก็บอกว่าบนโลกทรัพยากรใกล้หมด หนูก็เลยคิดว่าในอนาคตน่าจะมีบัตรประชาชนถิ่นที่อยู่บนดาวอังคาร เท่ห์ดี

ความใฝ่ฝันของน้องที่เกี่ยวอวกาศคืออะไร และเพราะอะไร

ไอเดีย : จริง ๆ ตอนเด็ก ๆ อยากเป็นนักบินอวกาศนะ อยากลองไปดูมันว่าเป็นยังไง มีแต่ดาวอยู่ข้างนอก ทำให้ลอยได้ ซึ่งมันเป็นแบบที่ที่เราข้ามไปไม่ได้ ถ้าเราจะได้ Expo มันเราจะได้ใช้ประโยชน์อะไรจากมันได้บ้าง เหมือนที่เมื่อกี้มีนักวิทยาศาตร์คนนึงพูดกับพี่เดียว่า พลังงานมัน 96 เปอร์เซนต์ อยู่ในจักรวาล แต่ว่าประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์มาจากดาวทั้งหมด ซึ่งเรานี่ยังไม่ได้แยกเป็นรูป เพราะฉะนั้นเราเล็กมาก ๆ ก็เหมือนกับว่าเราสามารถถ่ายทอดพลังงานนั้นได้และเก็บเกี่ยวพวกทรัพยากรจากดาวดวงอื่นได้ มันก็น่าสนใจให้ใช้ไปได้ตลอด

ไอซี : อยากประดิษฐ์เครื่องกำจัดขยะอวกาศคะ คือตอนแรกหนูก็ไม่รู้คะว่ามีอะไรมากขนาดนี้ ก็เรียนปกติดาวเคราะห์โลก สุริยะ แล้วก็คนส่งดาวเทียมยานอวกาศขึ้นไป แล้วพอมาเจอหัวข้อนี้ที่ค่าย GISTDA สอน หนูก็มาค้นหาดูภาพโอ้โหขยะอวกาศนี่แบบเละเต็มรอบโลก เราคิดว่าอวกาศใหญ่แต่ว่าแรงโน้มถ่วงไงคะ มันก็เลยดึงโคจรให้อยู่รอบ ๆ หนูก็เลยคิดว่าอันตรายอยู่นะ ถ้าวันนึงเกิดอะไรขึ้นมามันตกลงมา ก็เลยคิดว่าก่อนจะไปดาวอื่นก็กำจัดขยะให้มันเรียบร้อยก่อน เริ่มจากในโลกก็ดีที่สุดแล้ว เป็นแนวรักษ์โลก 555

ถ้าอยากเก่งด้านวิทยาศาสตร์อวกาศแบบน้องๆ  ทั้ง 2 คนแบบนี้ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ไอเดีย : 555 หนูก็ไม่รู้นะว่าแบบนี้เรียกว่าเก่งรึป่าว ก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ แต่หนูชอบอ่าน ๆ ทุกอย่าง หนังสือเรียนเป็นส่วนน้อยด้วยซ้ำ จะอ่านพวกหนังสือนิยาย Science Vision ซึ่งมันจะรวมระหว่างศาสตร์กับศิลป์ ให้มันเป็นสิ่งที่ย่อยง่ายขึ้นแต่ก็ยังได้ความรู้และได้จิตนาการด้วย ส่วนมากคิดว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการจากเด็กที่จากการจัดพวกเวทีก็คือ ความคิด Original บางที่ผู้ใหญ่ก็คิดไม่ถึงนะว่าเป็นการทดลองแบบง่ายๆ เนี่ยเห็นเด็กสิงคโปร์พับกระดาษร่อนเครื่องบิน ซึ่งบ้างครั้งผู้ใหญ่ก็จะมองไกลเกินไปว่ามันดูเด็กน้อยไปรึป่าว แต่พวกเรามันคือไอเดียว่าเด็กอยากรู้จริง ๆ ถ้าจะแนะนำก็ทำสิ่งที่ตัวเองชอบ อยากทำอะไรก็ทำออกมา ความคิดเราดีที่ดีสุด

 

ผลงานที่เอามาแสดงวันนี้คืออะไร มีแนวคิดอย่างไร ทำไมถึงอยากเอาผลงานนี้มาแสดงในบูท

ไอซี : คือหนูชอบพับกระดาษพวก Origami คะ แล้วหนูก็หาดูแล้วเจออันนี้มันเป็นของเล่นแบบโบราณ ซึ่งอันนี้จะพลิกได้ 3 รูป คือหนูรู้สึกว่ามันประหยัดกระดาษดีนะ มันเป็นแทบบางๆ พอเอามาพับต่อกันสามารถเปลี่ยนได้ตั้ง 3 หน้า แล้วหนูเลยเอาไปหลอกแม่ว่ามันเปลี่ยนภาพได้นะเล่นเป็นมายากลสนุกเลย แล้วนี่ก็เลยคิดว่ามันเอามาปรับทำให้เป็นโบรชัวร์ได้ ทำให้ไม่ใช่แค่เปิดพับ ๆ อย่างเดียว มันก็ไม่น่าเบื่อ เปิดเล่นกันพลิกกันเพลินดี

ให้กำลังใจเพื่อน ๆ ที่กำลังลังเลไม่รู้จะไปทางไหนดี ให้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์อวกาศหน่อย

ไอเดีย : ก็วิทยาศาสตร์มันไม่ได้มีอะไรที่มันเพียวอยู่แล้ว จริง ๆ มันคือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มันเป็นการผสมกันระหว่างศาสตร์กับศิลป์อยู่แล้ว อย่างเช่นการที่เราวาดรูปก็ยังมีฟิสิกส์ เคมีอยู่ ซึ่งถ้าเราสามารถรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันได้ มันจะทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น เข้าใจอะไรลึกซึ้งขึ้นไม่ใช่แค่รู้ผิวเผิน ไม่ใช่แค่วาดรูปแต่ถ้ารู้จักเทคนิควิทยาศาสตร์การใช้สีมันก็จะดีขึ้น

ไอซี : ใช่คะ คือการใช้ชีวิตเราต้องควบคู่กัน ต้องแบ่งทั้งสองอย่าง ทั้งเรียนวิชาการและทั้งกิจกรรมเพราะว่ามันก็เป็นของคู่กัน ถ้าชอบวิทย์ก็ไปสายวิทย์ ชอบศิลป์ก็ไปสายศิลป์แต่ว่าอย่าทิ้งไปเลยทั้งคู่

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.