ขยะอวกาศที่รอการสะสาง

ขยะอวกาศ…สิ่งที่สร้างปัญหาให้แก่โลกของเราไว้อย่างมาก ชิ้นส่วนประกอบทั้งหลายจากสิ่งก่อสร้างของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลุดออกมาโดยอุบัติเหตุ เช่น ถุงมืออวกาศ กล้อง และเศษชิ้นส่วนจากการปล่อยยานอวกาศ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่น่าหนักใจสำหรับการเดินทางด้วยยานอวกาศในอนาคตหากยังคงปล่อยไว้แบบนี้ ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศยุโรป (ESOC : European Space Operations Centre) ได้เผยรูปภาพปัญหาที่น่าตกใจเพื่อกระตุ้นการแก้ปัญหาแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ภาพด้านบนเป็นภาพของสิ่งของที่โคจรรอบโลกทีจุดวงโคจรต่ำ (LEO : Low Earth Orbit – คล้าย ๆ ก้อนเมฆบาง ๆ รอบโลก) และวงโคจรค้างฟ้า หรือวงโคจรประจำที่ (GEO : Geostationary Earth Orbit – โคจรสูงจากพื้นโลกประมาณ 35,786 กิโลเมตร หรือ 22,240 ไมล์

 

ระหว่างการปล่อยดาวเทียม Sputnik (ดาวเทียมดวงแรกของโลกที่ไปอวกาศ) ณ วันที่ 4 ตุลาคม ปี ค.ศ.1957 และ 1 มกราคม ปี ค.ศ.2008 มีการปล่อยตัวดาวเทียมประมาณ 4,600 ครั้ง ได้นำดาวเทียมกว่า 6,000 ตัวเข้าสู่การโคจรรอบโลก ประมาณ 400 ตัว โคจรไกลกว่าโลก อยู่ระหว่างแนวโคจรของดาวเคราะห์ แต่ในส่วนที่เหลือ 5,600 ตัว มีเพียง 800 ตัวเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้ ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของทั้ง LEO และ GEO ซึ่งขยะอวกาศประกอบไปด้วยปริมาณที่เพิ่มขึ้นของสิ่งที่ไม่ได้ใช้งานที่โคตรอยู่รอบโลก รวมถึงชิ้นส่วนยานอวกาศที่แตกหัก เกิดจากการระเบิด หรือถูกทิ้งเป็นเศษขยะ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของวัตถุที่ติดตามได้ล้วนแต่มาจากการระเบิด หรือการปะทะกันในวงโคจร

 

เกิดเหตุการณ์กระสวยอวกาศถูกชนด้วยขยะเหล่านี้บ่อยครั้ง ทำให้เสียกระจกของกระสวยอวกาศไปมากกว่า 80 บานในรอบหลายปีที่ผ่านมา สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) จึงใช้แผนการหลบหลีกเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับขยะอวกาศ และที่แน่นอนขยะเหล่านี้ไม่ได้ลอยอยู่นิ่ง ๆ จะเคลื่อนตัวด้วยอัตราความเร็วค่อนข้างสูง ประมาณหมื่นกิโลเมตรต่อชั่วโมง

ในด้านของดาวเทียม Envisat ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ใหญ่ที่สุด องค์การ ESA เผยว่าอัตราความเร็วสัมพัทธ์ระหว่างดาวเทียมกับขยะอวกาศอยู่ที่ประมาณ 52,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากขยะเหล่านั้นชนเข้ากับดาวเทียมด้วยความเร็วระดับนี้ อาจทำให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบต่อโลกอย่างรุนแรงได้

 

นี่เป็นภาพหลักฐานการระเบิดของกระสวยอวกาศที่สร้างความเสียหายมากกว่าปกติทั่วไป ทั้งแบตเตอรี่ ระบบรักษาความดันบรรยากาศภายใน และถังเชื้อเพลิงได้ระเบิดหมด จากเหตุการณ์ครั้งนี้จำนวนขยะได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อย

 

ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของขยะที่ตรวจพบมาจากการระเบิดที่เกิดขึ้นประมาณ 4-5 ครั้งต่อปี การระเบิดครั้งแรกส่งผลให้ขยะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า เมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา องค์กรส่วนมากเริ่มใช้มาตราการแบบ On-Board Passive เพื่อขจัดแหล่งพลังงานที่แฝงอยู่ในแบตเตอรี่ ถังเชื้อเพลิง ระบบการขับเคลื่อน และดอกไม้เพลิง อย่างไรก็ตามใช้แค่มาตรการนี้อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ อัตราการเกิดการระเบิดจากการปะทะกันในช่วง 20 – 30 ปีนี้ มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นนำมาซึ่งขยะในอวกาศ

 

องค์การ ESA เผยว่าการเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการ ๆ ลดเหตุปะทะนี้มีความสำคัญมาก ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงการจำลองสภาพแวดล้อมแบบปี ค.ศ. 2112 GEO ในกรณีที่ไม่มีการใช้มาตรการใด ๆ

ลักษณะของสภาพแวดล้อมรอบโลก ส่วนบนของภาพแสดงให้เห็นว่าเมื่อใช้มาตรการลดเหตุปะทะ สภาพแวดล้อมรอบโลกดูบางเบาและสามารถเข้าไปสำรวจได้หากจำนวนการเกิดระเบิดลดลงและเมื่อไม่มีส่วนประกอบไหนถูกโยนทิ้ง ส่วนด้านล่างของภาพ แสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมโดยปกติโดยปราศจากการใช้มาตรการใด ๆ

 

อย่างไรก็ตามการยับยั้งจำนวนขยะอวกาศที่เพิ่มขึ้น ยิ่งต้องใช้มาตรการอย่างมุ่งมั่น และสิ่งที่สำคัญที่สุด ยานอวกาศและจรวดควรมุ่งหน้ากลับสู่โลกเพื่อลดจำนวนขยะหลังจากที่เสร็จสั้นภารกิจแล้ว

ยานอวกาศและจรวดจะเผาไหม้ตัวเองและลงจอดด้วยการพุ่งสู่มหาสมุทรต่าง ๆ หรือที่ ๆ ไม่มีมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นอาศัยอยู่ ในกรณีของการสื่อสารและดาวเทียมอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในเขตวงจรค้างฟ้าที่มีคุณค่าทางการพาณิชย์ ดาวเทียมทั้งหลายควรที่จะกระตุ้นสัญญานดาวเทียมเพื่อลดกระบวนการกำจัดสิ่งของในอวกาศตามลักษณะดังภาพ

นอกจากนี้มาตรการอื่น ๆ อย่างเช่นมาตรการขั้นพื้นฐาน คือการลดจำนวนภารกิจที่จะทำมาซึ่งขยะอวกาศและการควบคุมความเสี่ยงที่ขยะจะกลับเข้าวงโคจรใหม่

ในวงการธุรกิจ การใช้มาตรการการลดเหตุปะทะนี้ ส่งผลให้องค์กรเหล่านั้นมีความสามารถในการแข่งขันก็จริง แต่ก็เป็นเหตุของค่าใช้จ่ายพลังงานและการดำเนินการเพิ่มขึ้น นอกเสียจากจะมีมติเป็นเอกฉันท์ในการยอมรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้

ที่มาบทความ : Nancy Atkinson, แหล่งข้อมูลต้นกำเนิดโดย ESA หรือ ESOC ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศยุโรป      บันทึก : เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551
สืบค้นจาก : https://www.universetoday.com/13587/space-debris-illustrated-the-problem-in-pictures/

Keyword ที่ใช้ : ขยะอวกาศ
Tag ที่ใช้ :

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.