4 แผนที่ป่าไม้ทั่วโลกสำหรับดูผืนป่าและต้นไม้

forest-change-indonesia-678x322

ผืนป่าครอบคลุมพื้นผิวโลกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ประชากรมากกว่า 1 ล้านคน พึ่งพิงผืนป่าเหล่านี้เพื่อดำรงชีวิตอยู่เพราะผืนป่านั้นหมายถึงเป็นยา เชื้อเพลิง และอาหารสำหรับสัตว์หลากหลายชนิดของพวกเขา

ผืนป่ารักษาแม่น้ำให้สะอาดเพราะมันคอยป้องกันการพังทลายของพื้นดินและหิมะถล่ม ผืนป่าเปรียบเสมือนอ่างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพราะว่ามันดูดซึมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือเชื้อเพลิงที่ได้จากการซากพื้น ซากสัตว์ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ (Fossil Fuel) แต่กระนั้นผืนป่าของเรากาลังหดหายไป เนื่องจากสาเหตุทางธรรมชาติเช่น เชื้อโรคและไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในขณะนี้ที่กาลังนำไปสู่การตัดไม้ทาลายป่า และมนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำปศุสัตว์มากที่สุด

เราเข้าใจและสามารถบอกพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ด้วยดาวเทียมและเทคโนโลยีการทำแผนที่ แผนที่ป่าไม้ทั่วโลกทั้ง 4 แผนที่เหล่านี้ บอกเรื่องราวหรือต้นไม้ต่าง ๆ ของเราไว้ดังนี้

 

1.เว็บไซต์แผนที่แสดงความสูงของผืนป่าโดยองค์การนาซา

nasa-canopy-height-620x264

แผนที่แสดงความสูงของผืนป่าโดยองค์การนาซา เป็นแผนที่ชนิดแรกที่ไม่เหมือนใครเพราะว่ามันแสดงให้เห็น ถึงความสูงของต้นไม้ทั้งหมดทั่วดาวเคราะห์ (โลก) ทำให้ปัจจุบันนี้องค์การนาซาไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่จริงเพื่อวัดความสูงของต้นไม้ในการสร้างแผนที่ป่าอีกแล้ว

 

แล้วเขาทำกันอย่างไร?

ความสูงของต้นไม้ทั้งหมดได้มาจากการใช้ดาวเทียมโคจรไปรอบโลกโดยใช้ เครื่องวัดความสูงทาง ธรณีวิทยาด้วยระบบแสงเลเซอร์ (Geoscience Laser Altimeter Systems หรือ GLAS) เครื่องนี้เป็นเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ผันแปร มันส่งสัญญาณชีพและทำการวัดว่ามันใช้เวลาเท่าใดในการส่งสัญญาณกลับเพื่อให้ได้ซึ่งระยะห่าง นอกจากนี้ GLAS ไม่เพียงใช้ดาวเทียมขององค์การนาซ่าเท่านั้นมันยังเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ภารกิจภาพถ่ายภูมิประเทศจากเรดาร์กระสวยอวกาศ (Shuttle Radar Topography Mission  หรือ SRTM), MODIS, TRMM และ WorldClim อีกด้วย

วิธีการสังเกตพัฒนาการความสูงของต้นไม้ที่เส้นศูนย์สูตรนั้น สามารถสังเกตุบริเวณเส้นศูนย์สูตรยอดต้นไม้บางต้นสูงมากกว่า 40 เมตร ส่วนยอดไม้บริเวณขั้วโลกโดยทั่วไปเตี้ยกว่า ประเทศต่าง ๆ ทางยุโรปเหนือ แคนนาดา และรัสเซีย ยอดไม้มีแนวโน้มสูงน้อยกว่า 20 เมตร

 

2.เว็บไซต์แผนที่การเปลี่ยนแปลงของป่าไม้ทั่วโลก

global-forest-change-map-maryland-620x264

เกือบหนึ่งในสามของแผ่นดินโลกของเราปกคลุมไปด้วยป่า แต่การตัดไม้ทำลายป่าที่กำลังโค่นป่าต่าง ๆ ของเราไปเรื่อย ๆ มีขนาดประมาณเท่ากับขนาดของประเทศ Greeze ต่อปี หากคิดเป็นพื้นที่ จะเท่ากับสนามฟุตบอลถึง 50 สนามในทุก ๆ นาทีเลยทีเดียว

ผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่าก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก มันก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและการพังทลายของดิน มันยังทำลายที่อยู่อาศัยของการดำรงชีวิตของสัตว์ป่าและบ้านของกลุ่มชนเผ่าอีกด้วย

 

เราจะค้นหาจำนวนการตัดไม้ทำลายป่าได้อย่างไร?

กว่า 40ปีแล้วที่ดาวเทียม Landsat ครองอันดับการประเมินผลในประวัติศาสตร์ ฐานข้อมูลดาวเทียม ดาวเทียมดวงนี้ โคจรรอบโลกมาเป็นเวลายาวนานที่สุดในภารกิจสังเกตการณ์ เรายังสามารถเปรียบเทียบภาพโลกที่ถ่ายมาได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515 โดยการใช้ฐานข้อมูลจากดาวเทียม Landsat-1 หากต้องการจริง ๆ

มหาวิทยาลัย Maryland มีความพยายามอย่างมากที่จะใช้ฐานข้อมูลจากดาวเทียม Landsat จากแผนที่การเปลี่ยนแปลงป่าไม้ ทั่วโลกที่น่าทึ่งนี้ กุญแจสำคัญคือมุ่งเล็งไปที่ขนาดและความเปลี่ยนแปลงของป่า ป่าถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่พืชพันธุ์ที่มีความสูงน้อยกว่า 5 เมตร การสูญเสียพื้นที่ป่าและป่าที่เพิ่มขึ้นถือเป็นเรื่องสำคัญตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2545

เรารู้มาว่ามีธงแดงอยู่สำหรับประเทศอย่างเช่น อินโดนีเซีย ฮอนดูรัส และฟิลิปปินส์ และการตัดไม้ทำลายป่า เมื่อปรากฏขึ้นในแผนที่ จะดูเหมือนว่ามีสัญญาณที่เป็นสีแดงเตือนขึ้น ซึ่งจะยืนยันรายงานและสถิติว่าประเทศเหล่านี้สูญเสียป่าไปเป็นจานวนมากอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร

 

3.เว็บไซต์ NASA Forest Fires: ไฟป่า

Forest-Fires-NASA

เมื่อที่ไหนมีควัน ที่นั่นย่อมมีไฟ และบนโลกใบนี้ กำลังมีบางสิ่งบางอย่างไหม้อยู่ เครื่องวัดความละเอียดในระดับปานกลาง ขององค์การนาซา (NASA’s Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer : MODIS) จะคอยเฝ้าระวังไฟป่ารอบโลก ไม่ว่าไฟป่าเกิดจากมนุษย์ ฟ้าฝ่า หรือด้วยสาเหตุอื่น ๆ แผนที่ไฟป่าขององค์การนาซานี้จะปักหมุดพิกัดตรงจุดที่ไฟกาลังไหม้อยู่

 

ไฟป่าเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่?

ไฟป่าไม่จำเป็นต้องเลวร้ายเสมอไป มันถากถางพุ่มไม้ที่แห้งตายให้ฟื้นฟูสภาพป่าขึ้นมาใหม่ได้ ต้นไม้ต่าง ๆ ต้องการการเผาไหม้เพื่อผลิตดอกออกผลใหม่เป็นเรื่องธรรมชาติ

แผนที่ของ NASA เป็นภาพเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าเราสามารถเฝ้าดูไฟที่รุกโหมไหม้โลกของเราเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบอนุกรมได้

 

4.เว็บไซด์การเฝ้าสังเกตป่าไม้ทั่วโลก (Global Forest Watch)

global-forest-watch-620x264

เว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์หลักที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าสังเกตป่าทั้งหมด มันไม่เป็นเพียงแค่แผนที่เท่านั้น มันยังเป็นแผนที่ป่าแบบอนุกรม แต่ละภาพผ่านขั้นตอนด้วยวิธีประมวลผลแบบทันสมัยด้วย ฐานข้อมูลจากดาวเทียมและประมวลผลก้อนเมฆ ยิ่งคุณคิดถึงมันมากเท่าใด หมายถึงยังมีสิ่งที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับป่าว่าเป็นเช่นใดมากเท่านั้น

  • ป่าอยู่ที่ไหน?
  • เกิดขึ้นได้อย่างไร?
  • ใครเป็นผู้รับผิดชอบ?

ผู้เข้าชมสามารถดูฐานข้อมูลจากดาวเทียม Landsat เกี่ยวกับป่าที่มีเพิ่มขึ้นมาหรือถูกทำลายได้ในเวลาใกล้เคียงกับเวลาจริง เว็บไซต์การเฝ้าสังเกตป่าไม้ทั่วโลกนี้ก้าวขึ้นไปอีกลำดับขั้นถึงการเผยให้เห็นว่าป่ากำลังถูกใช้ไปอย่างไรเช่น การเปลี่ยนป่าไปเป็นสวนปาล์มน้ำมัน เหมืองแร่ การตัดไม้ทำท่อนซุง และอื่น ๆ มีฐานข้อมูลไฟไหม้ป่าและพื้นที่อนุรักษ์เป็นภาพเคลื่อนไหวในแต่ละช่วงเวลาได้เผยแพร่เอาไว้

เว็บไซต์นี้ให้ใช้ได้ฟรีและง่ายมาก ภาครัฐบาล ฝ่ายธุรกิจ ฝ่ายวิชาการ สื่อและบรรดา NGO ทั้งหลาย สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้เต็มอัตรา เว็บไซต์เฝ้าสังเกตป่าไม้ทั่วโลกให้คุณดูข้อมูลระหว่างอยู่บนรถและเปิดโลกทัศน์ได้เลยตรงหน้า

 

แผนที่ป่าไม้หมายถึงการเคลื่อนไหว

“หากต้นไม้ที่มีอายุมากล้มในป่าและไม่มีคนอยู่บริเวณนั้นจะมีใครรู้เห็นหรือเปล่า?”“

ข้อมูลดาวเทียมที่ใกล้เคียงกับเวลาจริงได้เปลี่ยนแปลงความเข้าใจเกี่ยวกับป่าไม้ทั่วโลกของเรา ดาวเทียมป้อนข้อมูลได้ถูกต้องและตรงเวลาในเรื่องของไฟป่า การตัดไม้ทไลายป่า ความสูงของยอดไม้และแม้กระทั่งโรคภัยของป่า

แผนที่ป่าไม้เหล่านี้ ส่งผลผู้เข้าชมเว็บไซต์มีพลังที่จะหยุดการกระทำที่เป็นอันตรายต่อการสูญเสียป่า ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดการทางธุรกิจซื้อสิ้นค้าปาล์มน้ามัน ก็สามารถใช้แผนที่ป่าที่แจ้งข้อมูลที่ใกล้เคียงกับเวลาจริงเพื่อพิจารณา โดยถ้าหากการจัดหาสินค้านั้นมาจากการถางป่า พวกเขาก็ต้องมุ่งมั่นที่จะปกป้องป่าไม้แทนการซื้อขายนี้

เทคโนโลยีนี้ให้อานาจประชากรในทุกหนทุกแห่งเพื่อฟื้นฟูผืนป่าให้ดีขึ้น ดังนั้นหากต้นไม้ที่มีอายุมากล้มลงในป่าและไม่มีผู้คนอยู่บริเวณนั้น แล้วจะมีคนรู้เห็นหรือเปล่า? ด้วยแผนที่ป่าทั่วโลกเหล่านี้ทำให้ทุกคนรู้เห็นได้อย่างแน่นอน

 

ที่มาบทความ : บทความโดยเว็บไซต์ GisGeography บันทึก : เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560
สืบค้นจาก : http://gisgeography.com/global-forest-maps/

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.