การฝึกอบรม Training for Trainer on Aerospace for STEM Educationสำหรับโรงเรียนต้นแบบในภาคกลาง

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศทั้ง 5 และ Drone Academy Thailand ร่วมกันจัดฝึกอมรมหลักสูตร Training for Trainer on Aerospace for STEM Education ภายใต้กิจกรรม Aerospace Smart School โครงการสร้างความตระหนักด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ระดับเยาวชน ณ สทอภ.(บางเขน) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 ให้กับโรงเรียนต้นแบบจากภาคกลาง จำนวน 7 โรงเรียนที่จะนำเทคโนโลยีทางด้าน AEROSPACE เข้าไปเป็นหนึ่งในเครื่องมือการสอนให้กับนักเรียน โดยปีนี้จะเริ่มต้นโครงการกันด้วย “โดรน”

การฝึกอบรมดังกล่าวจะเน้นตัวอย่างแนวคิดและวิธีใหม่ๆในการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อส่งเสริมการศึกษาในรูปแบบ STEM ในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา อาทิเช่น การควบคุมโดรนด้วยการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย การเก็บข้อมูลวิทยาศาสตร์ด้วยโตรน และการสร้างแผนที่จากโดรน เป็นต้น อันจะเป็นการส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้และพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนากระบวนความคิดของเยาวชนไทย ผ่านกลไลการเรียนรู้ตามความสนใจหรือชมรมในโรงเรียนตามรูปแบบ STEM ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญทั้งจากจิสด้าและเครือข่ายตลอดทั้งปี และในปลายปีก็จะมีเวทีให้โรงเรียนได้แสดงออกความสามารถในการประชุม Thailand Aerospace Youth Forum ที่มีกำหนดจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกันยายน 2561

พิธีเปิดการฝึกอบรมได้รับเกียรติจาก น..ปราณปริยา วงค์ษา รักษาการผู้อำนวนการสถาบันพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้  GISTDA กล่าวต้อนรับนักเรียนและอาจารย์จากโรงเรียนต้นแบบ ทั้งยังกล่าวถึงความสำคัญของส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในระดับเยาวชน โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างเต็มรูปแบบ

ในส่วนรายละเอียดของกิจกรรม AEROSPACE SMART SCHOOL ตลอดจนแผนงานหรือแนวทางการสนับสนุนให้โรงเรียนต้นแบบที่จะนำเทคโนโลยีโดรนไปเป็นหนึ่งในเครื่องมือการสอนในโรงเรียนนั้น นำเสนอโดยนายจักรพงษ์ ทะวะละ และนายอัตชัย สุวรรณ์ นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA หนึ่งในทีมงานของโครงการฯ เพื่อให้โรงเรียนต้นแบบทั้ง 7 โรงเรียนในภาคกลางเกิดความเข้าใจตรงกันถึงแนวทางการทำงานร่วมกับผู้เชื่ยวชาญจากจิสด้าและเครือข่ายต่างๆในอนาคต ที่จะร่วมกันผลักดันองค์ความรู้ดังกล่าวสู่เยาวชนรุ่นใหม่ต่อไป

หนึ่งในวัตถุประสงค์ของโครงการคือส่งเสริมให้โรงเรียนต้นแบบจัดตั้งชมรม AEROSPACE ขึ้นในโรงเรียนเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนที่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์การบินและเทคโนโลยีอวกาศ เป็นกลไกผลักดันให้เยาวชนรุ่นใหม่มีทักษะความสามารถ และจินตนาการในการประยุกต์ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานของประเทศไทยในอนาคต นับว่าเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมสำหรับโลกแห่งนวัตกรรมในอนาคต

แม้กระทั้งสำหรับนักเรียนที่กำลังอยู่ในช่วงค้นหาตัวเอง หรือยังไม่มีความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในเทคโนโลยี Aerospace ได้ เนื่องจากเนื้อหาการเรียนการสอนในชมรมจะออกแบบให้ครอบคลุมนักเรียนทุกระดับความสามารถ โดยทางผู้เชี่ยวชาญจากจิสด้าและอาจารย์ผู้ควบคุมชมรมจะร่วมกันออกแบบต่อไป เพื่อสามารถเปิดการสอนได้ในปีการศึกษา 2561 นี้

ตามแผนงานนั้นชมรม AEROSPACE จะจัดตั้งขึ้นทั้งหมด 60 ชมรมกระจายตามทั่วทุกภูมิภาค ภูมิภาคละ 10 ชมรม ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์/สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ทั้ง 5 แห่งทั่วประเทศ  โดย จิสด้า จะดูแลโรงเรียนในกลุ่มภูมิภาคภาคกลางและร่วมดูแลในภูมิภาคอื่นๆด้วย โดยการฝึกอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นสำหรับโรงเรียนต้นแบบจากภาคกลางเท่านั้น ในส่วนภูมิภาคอื่นๆก็จะมีการเดินสายอบรมให้กับโรงเรียนต้นแบบต่อไป

คุณจรรยวรรธน์ ชาติอนุลักษณ์ ผู้อำนวยการ Drone Academy Thailand หนึ่งในเจ้าภาพร่วมและผู้สนับสนุนโครงการ ให้เกียรตินำเสนอมุมมองใหม่ของการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการศึกษาในรูปแบบ STEM จากประสบการณ์ตรงและตัวอย่างทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งนำทีมพาน้องๆสนุกสนานไปกับการเขียนโปรแกรมควบคุมโดรน ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง ทำให้เด็กสนุกสนานพร้อมยังได้เรียนรู้ไปด้วย

ทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ต่างๆนับเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างให้กับเยาวชนรุ่นใหม่เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นทักษะที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรมในอนาคต ภายใต้โครงการนี้จึงบรรจุเนื้อหาการเขียนโปรแกรมควบคุมโดรนลงไปด้วยเพื่อให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานที่เพียงพอในการต่อยอดในระดับสูงต่อไป

กฏข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโดรนก็นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียนทุกคนควรจะต้องรู้และปฎิบัติตาม การอบรมในครั้งนี้จึงเป็นการทบทวรเรื่องกฏหมายเกี่ยวกับโดรนแบบเข้าใจง่ายให้นักเรียนและอาจารย์อีกครั้ง โดยนายอัตชัย สุวรรณ์ นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA ทั้งนี้ข้อระเบียบดังกล่าวก็จะมีการออกแบบให้ถ่ายทอดสู่นักเรียนระหว่างทำกิจกรรมชมรมต่อไป

นอกเหนือจากการเขียนโปรแกรมควบคุมโดรนและเรื่องของกฏหมายโดรนแล้ว นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนยังได้มีโอกาสได้เรียนรู้การประมวลผลข้อมูลจากภาพถ่ายจากโดรนเพื่อการทำแผนที่ โดย นายวีรวัฒน์ จันทวงษ์ นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA เนื่องจากในปัจจุบันโดรนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการถ่ายภาพมุมสูงซึ่งภาพแนวดิ่งสามารถนำมาทำเป็นแผนที่รายละเอียดสูงได้ด้วย จึงทำให้การทำแผนที่ด้วยโดรนกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักวิชาการภูมิสารสนเทศในปัจจุบัน และก็จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเก็บข้อมูลสำหรับชมรม AEROSPACE ในอนาคตอีกด้วย

ในการอบรมครั้งนี้นักเรียนและอาจารย์ได้ทดลองลงมือฝึกปฎิบัติสร้างแผนที่ และทำแบบจำลองความสูง ได้ด้วยข้อมูลที่ทางวิทยากรได้จัดเตรียมไว้แล้ว เพื่อให้เข้าใจการประมวลผลข้อมูลอย่างคร่าวๆ เป็นไอเดียไว้สำหรับเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักที่จะสามารถประยุกต์ใช้สอนได้ในโรงเรียนต่อไป โดยทางจิสด้าก็จะมีการประกวดโครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาและประยุกต์ใช้โดรนในช่วงปลายปี 2561 ภายใต้งานที่ชื่อว่า Thailand Aerospace Youth Forum เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานความสามารถของนักเรียนจากชมรม AEROSPACE จากทั่วประเทศต่อไป

โดยหลังจากนี้กลุ่มโรงเรียนต้นแบบ 7 โรงเรียนนี้ต้องกลับไปดำเนินการจัดตั้งชมรม AEROSPACE เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนองค์ความรู้ดังกล่าวให้แพร่หลายในโรงเรียน และเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆทั่วประเทศ โดยจิสด้าและเครือข่ายจะให้การสนับสนุนองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้โดรนในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม และต่อยอดสู่การแข่งขันทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ และเพื่อเตรียมบุคลากรให้พร้อมต่อการพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรม ขับเคลื่อนเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยให้ก้าวไกลในอนาคต

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการฝึกอบรม

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.