GISTDA SPACE CAMP ประจำปี 2561

โครงการ GISTDA SPACE CAMP ประจำปี 2561

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)


1.หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นแต่โอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศสำหรับเยาวชนไทยนั้น ยังคงเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยากและมีโอกาสน้อยที่จะได้สัมผัสกับ
อุปกรณ์จริงการเข้าถึงประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้เยาวชนไทยมีการพัฒนาศักยภาพด้านอวกาศอย่างต่อเนื่อง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สทอภ. หรือ GISTDA เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความตระหนักให้มีประสิทธิ เยาวนชนที่สามารถทางด้านนี้ได้พัฒนาองค์ความรู้ บูรณาการแนวความคิด ต่อยอดและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาช่วยในการแก้ไขปัญหาตามหลักของ STEM ได้อย่างแท้จริง ได้กำหนดการจัดกิจกรรม GISTDA SPACE CAMP ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม พ.ศ. 2561 ภายใต้แนวคิดสร้างแรงบันดาลใจต่อยอดสู่การการพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคตเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญอาทิ วิศวกรดาวเทียม นักภูมิสารสนเทศ และนักวิชาการเผยแพร่ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนเกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณการ ตามหลักการ STEM ร่วมกับการสร้างรากฐานของนักเทคโนโลยีอวกาศรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีในอนาคต

2.วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ ความเข้าใจในเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงบทบาทของดาวเทียมไทยโชตที่มีต่อการสำรวจและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย และสามารถขยายศักยภาพของข้อมูลจากดาวเทียมในการประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆตามความเหมาะสม
    2. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักเสียสละและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้อื่น
    3. เพื่อให้เยาวชนได้เกิดกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลในการสร้างสรรค์ผลงานด้านเทคโนโลยีอวกาศสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง
    4. เพื่อคัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมกิจกรรมด้านอวกาศระดับชาติและนานาชาติกับ GISTDA

3.เป้าหมาย

กลุ่มเยาวชนอายุ 15-18 ปี จำนวนทั้งหมด 36 คน

4.ระยะเวลาในการจัด
5 วัน ระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม พ.ศ. 2561

5.สถานที่จัด
อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

6.ค่าลงทะเบียน 6,500 บาท

7.กำหนดการ
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561

08:30-09:00 รายงานตัวและลงทะเบียน รับอุปกรณ์ประจำตัว

09:00-09:15 พิธีเปิด

โดย นางสาวปราณปริยา วงค์ษา (รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้)

09:15-10:15 แนะนำโครงการ

10:15-10:30 รับประทานอาหารว่าง

10:30-11:30 ดาวบริวารเอนเซลาดัส

โดย นายอัษฎายธุ ทองดาษ

11:30-12:30 ปิดประสบการณ์เด็กไทย กับ ไอเดียทดลองในห้วงอวกาศ

โดย นายวรวุฒิ จันทร์หอม

12:30-13:30 รับประทานอาหารกลางวัน

13:30-15:30 อวกาศแหล่งสร้างแรงบันดาลใจอันเป็นอนันต์ (Space the Infinite inspiration)

โดย นายณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน หัวหน้าบรรณาธิการ SPACETH

15:40-16:40 เครื่องพิมพ์สามมิติผลิตอาหารในอวกาศ

โดย โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์

16:4017:40 การสำรวจอวกาศด้วยบอลลูน การสร้างดาวเทียม CUBESAT และอาหารไทยไปอวกาศ

โดย นางสาวพิรดา เตชะวิจิตร์

17:40-18:30 รับประทานอาหารเย็น

18:3019:00 สรุปภาพรวมของกิจกรรมประจำวัน

วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2561

06:30-07:00 ออกกำลังกาย

07:00-07:30 ทำกิจวัตรส่วนตัว

07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า

08:30-09:30 จับตา เทียนกง

โดย นายสิทธิพร ชาญนำสิน (วิศวกร GISTDA)

09:30-09:45 รับประทานอาหารว่าง

09:45-12:00 STATION 1 : You are not alone in the Universe

โดย ผู้นำชม SPACE INSPIRIUM

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:45  STATION 2 : “เรียนรู้ระบบการทำงานของดาวเทียมไทยโชต”

โดย เจ้าหน้าที่ควบคุมสัญญาณดาวเทียมไทยโชต (วิศวกร GISTDA)

14:45-16:15 STATION 3 : “Post Land: ดินแดนสร้างจินตนาการ”

16:15-16:30 รับประทานอาหารว่าง

16:30-17:30 STATION 4 : Geocaching พิกัดซ่าท้าตะลุย

17:30-18:00 รับประทานอาหารเย็น

18:30-19:00 สรุปภาพรวมของกิจกรรมประจำวัน

 

วันพุธที่ 28 มีนาคม 2561

06:30-07:00 ออกกำลังกาย

07:00-07:30 ทำกิจวัตรส่วนตัว

07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า

08:30-10:30 STATION 5 : กระบวนการทำชิ้นส่วนอวกาศยานด้วยวัสดุคอมโพสิต

โดย นายอธิภัทร วรรธอนันตชัย (วิศวกร GISTDA)

10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 STATION 5 : กระบวนการทำชิ้นส่วนอวกาศยานด้วยวัสดุคอมโพสิต

โดย นายอธิภัทร วรรธอนันตชัย (วิศวกร GISTDA)

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:15 STATION 6 : Martian Recon

โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช (วิศวกร GISTDA)

14:15-14:30 รับประทานอาหารว่าง

14:30-17:30 STATION 7 : MARS MISSION

โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช  (วิศวกร GISTDA)

17:30-18:30 รับประทานอาหารเย็น

18:30-19:30 กิจกรรมนันทนาการ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561

06:30-07:00 ออกกำลังกาย

07:00-07:30 ทำกิจวัตรส่วนตัว

07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า

08:30-09:00 ทำความรู้จักกับอากาศยานไร้คนขับ

โดย นายวีรวัฒน์ จันทวงค์ (นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA)

09:00-10:30 STATION 8 : โครงสร้างชิ้นส่วนอวกาศ

โดย นายอธิภัทร วรรธอนันตชัย (วิศวกร GISTDA)

10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 STATION 9 : ทดสอบความแข็งแรงของวัสดุโครงสร้างในอวกาศ

โดย นายณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-15:00 STATION 10 : อยากให้น้องลองบิน

โดย นายตะวัน ผลารักษ์

15:00-15:15 รับประทานอาหารว่าง

15:15-17:15 STATION 11 : การทำแผนที่ ด้วยอากาศยานไร้คนขับ

โดย ดร.กฤษนัยน์ เจริญจิตร

17:15-18:30 รับประทานอาหารเย็น

18:30-20:30 กิจกรรมนันทนาการ THE SHOW MUSH GO ON

  โดย น้องค่าย & พี่เลี้ยงค่าย

 

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2561

07:00-07:30 ตื่นนอน (ทำธุระส่วนตัว)

07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า

08:30-10:45 “ระดมความคิดผลิตนวัตกรรม Space&GI”

10:45-11:00 รับประทานอาหารว่าง

11:00-12:00 “เครือข่ายนักสำรวจ”เครือข่ายแห่งสายใยผู้หลงใหลในเทคโนโลยี

โดย นายทรัพย์สถิตย์ พันธุ์ศรี  (นักบริการวิชาการ GISTDA)

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:00 พิธีปิด

โดย นายบุญชุบ บุ้งทอง (ผู้อำนวยการสำนักปฎิบัติการดาวเทียม)

14:00-14:30 เก็บสัมภาระ

14:30-14:45 รับประทานอาหารว่าง

14:45         เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ  

   

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.

LEARN