6 วิธีทางที่โดรนสามารถปฏิวัติการเกษตรกรรม

ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับ (UAVs) หรือเรียกกันว่า โดรน (Drones) เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงต้นปี 1980 จนปัจจุบันนี้แอพพลิเคชั่นสำหรับโดรนนั้นพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดในทุกอุตสาหกรรม ต้องขอบคุณการลงทุนที่มั่นคงอย่างสม่ำเสมอและกฎระเบียบที่ผ่อนผันการควบคุมการใช้งานของโดรน การตอบสนองต่อเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัททั้งหลายเริ่มสร้างธุรกิจด้วยการดำเนินการรูปแบบใหม่สำหรับการใช้งานร่วมกับ UAVs

PwC (PricewaterhouseCoopers) หนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้วิเคราะห์ไว้ว่า มูลค่าที่ได้จากวิธีแก้ปัญหาโดยการใช้โดรนในทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนั้นมีความสำคัญมาก โดยมีมูลค่ามากถึง 127 ล้านดอลลาร์ ภาคส่วนที่มีแนวโน้มที่โดรนสามารถแสดงศักยภาพออกมาได้ดีที่สุด คือ ภาคเกษตรกรรม ซึ่งโดรนสามารถจัดการกับอุปสรรคหลักได้หลายประการ เกิดการคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 9 พันล้านคนในอีก 33 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2593) ผู้เขี่ยวชาญทั้งหลายคาดการณ์ว่าการบริโภคทางการเกษตรจะเพิ่มมากขึ้นเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้วิกฤตสภาพอากาศผันผวนอย่างสุดขั้วเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอุปสรรคในผลิตภาพและความอุดมสมบูรณ์ได้

ผู้ผลิตทางการเกษตรต้องนำกลยุทธ์การปฏิวัติสำหรับการผลิตอาหาร การเพิ่มกำลังผลิตและการสร้างความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ โดรนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาไปพร้อมกับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาล ผู้นำด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม


6 ทางเลือกสำหรับโดรนเพื่อการเกษตร

เทคโนโลยีโดรนจะยกระดับให้อุตสาหกรรมการเกษตรมากยิ่งขึ้น ด้วยแผนการและกลยุทธ์ที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากสถาณการณ์จริง PwC ตีราคาตลาดสำหรับวิธีทางการแก้ปัญหาโดยโดรนเพื่อการเกษตรไว้ถึง 3.24 หมื่นล้านดอลลาร์

1.การวิเคราะห์ดินและทุ่งนา

โดรนสามารถเป็นเครื่องมือสำหรับการเริ่มเพาะปลูก โดรนสร้างแผนที่ 3 มิติสำหรับการวิเคราะห์ดินซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนรูปแบบการเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ หลังจากการเพาะปลูกแล้ว บทวิเคราะห์ทีได้จากโดรนนั้นจะช่วยให้ข้อมูลสำหรับการชลประทานและการจัดระดับไนโตรเจน

2.การเพาะปลูก

ธุรกิจรูปแบบใหม่ได้สร้างระบบการเพาะปลูกโดยโดรนเพื่อการเกษตรที่ประสบความสำเร็จถึง 75 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดต้นทุนการเพาะปลูกถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ระบบเหล่านี้จะวางหลอดใส่เมล็ดพันธุ์และสารอาหารสำหรับพืชเข้าไปในดิน ทำให้พืชมีสารอาหารสำคัญครบถ้วนต่อการเจริญเติบโต

3.การพ่นยา

วิธีการใช้อุปกรณ์วัดระยะทาง จำพวกการสะท้อนกลับของอัลตราโซนิคและเลเซอร์ เช่น การตรวจจับแสงและเขตพื้นที่ หรือ อุปกรณ์ Lidar ที่ใช้ในการสำรวจภูมิประเทศ ช่วยให้โดรนสามารถปรับตัวกับระดับความสูงตามความผันผวนของลักษณะภูมิประเทศและภูมิศาสตร์ และหลีกเลี่ยงการปะทะได้อีกด้วย ดังนั้นโดรนสามารถตรวจหาพื้นที่ ๆ เหมาะสมและพ่นยาในปริมาณที่ถูกต้องได้ โดยปรับระดับความสูงจากพื้นไปตามลักษณะของพื้นดิน ผลลัพธ์จากการดำเนินการด้วยโดรนเพื่อการเกษตร คือเพิ่มประสิทธิภาพในการลดปริมาณสารเคมีปนเปื้อนในน้ำบาดาล ความจริงแล้วผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าการพ่นยาด้วยโดรน สามารถลดระยะเวลาถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกับเครื่องจักรกลแบบดั้งเดิม

4.การเฝ้าสังเกตพื้นที่เพาะปลูก

พื้นที่ ๆ กว้างใหญ่ มักมีประสิทธิภาพต่ำในการเฝ้าสังเกตพื้นที่เพาะปลูก นำมาซึ่งอุปสรรคใหญ่ของการทำการเกษตร และสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการบำรุงรักษา ก่อนหน้านี้ภาพจากดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงการเฝ้าสังเกตการณ์ที่มีความก้าวหน้า แต่ยังมีข้อบกพร่องคือการถ่ายภาพแต่ละครั้งจะต้องป้อนคำสั่งไว้ล่วงหน้า และถ่ายได้เพียงวันละหนึ่งครั้งเท่านั้น และไม่สามารถเชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายสูงและคุณภาพของภาพไม่แน่นอน แต่ในวันนี้ภาพเคลื่อนไหวสามารถแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของพืชผลและประสิทธิภาพทางการผลิต การบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกที่ดีขึ้น

5.การชลประทาน

โดรนเพื่อการเกษตรที่มีเซนเซอร์แบบ hyperspectral, multispectral หรือ thermal สามารถบ่งชี้ได้ว่าส่วนไหนของทุ่งนาแห้งหรือจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู นอกจากนี้เมื่อพืชกำลังเจริญเติบโต โดรนจะเข้าสำรวจและคำนวณค่าดัชนีของพืชซึ่งอธิบายความหนาแน่นสัมพัทธ์ สุขภาพของพืช และสัญลักษณ์คลื่นความร้อน ปริมาณพลังงานและความร้อนที่พืชนั้นคายออกมา

6.การประเมินสุขภาพ

การประเมินสุขภาพพืชและจุดติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราบนพืชเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เมื่อทำการตรวจสอบพืชโดยการใช้แสงอินฟราเรดทั้งแบบมองเห็นด้วยตาเปล่าและแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (NIR: near-infrared) โดรนที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้อยู่จะสามารถระบุว่าพืชต้นใดสะท้อนปริมาณของแสงสีเขียว และ NIR ที่แตกต่างไป ข้อมูลนี้สามารถนำไปผลิตภาพ Multispectral ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของพืชเพาะปลูกเหล่านี้ รวมถึงสุขภาพเช่นเดียวกัน การตอบสนองที่รวดเร็วสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้เมื่อมีการค้นพบโรคบนพืช เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบและให้การเยียวยาได้อย่างแม่นยำและทันท่วงที ความเป็นไปได้ทั้งสองนี้ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการเอาชนะโรคภัยของพืชได้ ในกรณีที่เกิดความล้มเหลวในการเพาะปลูก เกษตรกรสามารถที่จะบันทึกความสูญเสียอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการเรียกประกัน

หากลองมองไปในอนาคตของโดรน (UAVs) อาจมีความเกี่ยวข้องกับกองทัพเรือหรืออะไรก็ได้ที่สามารถจัดการกับงานด้านเกษตรกรรมและด้านการตรวจสอบได้ด้วยตัวของมันเอง ดังนั้น อะไรคือสิ่งที่ชะลอพัฒนาการของโดรนเพื่อการเกษตร นอกเหนือจากอุปสรรคในการยอมรับเทคโนโลยีรูปแบบใหม่นี้ ความปลอดภัยของการดำเนินงานด้วยโดรน ปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัว และประกันภัย ความกังวลในภาคเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุด คือประเภทและคุณภาพของข้อมูลที่จับต้องได้ เพื่อจัดการปัญหานี้ อุตสาหกรรมจะผลักดันระบบเซนเซอร์และกล้องในลักษณะนี้ เช่นเดียวกับพัฒนาโดรนที่จำเป็นต้องมีการฝึกฝนขั้นต่ำและการบังคับด้วยระบบอัตโนมัติ
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโดรนเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีก 7 อุตสาหกรรมได้ที่รายงานจาก PwC https://www.pwc.pl/en/publikacje/2016/clarity-from-above.html

ที่มาบทความ : Michal Mazur, PwC      บันทึก : เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
สืบค้นจาก : https://www.technologyreview.com/s/601935/six-ways-drones-are-revolutionizing-agriculture/

Keyword ที่ใช้ : โดรนเพื่อการเกษตร
Tag ที่ใช้ : โดรน

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.