ความพยายามของ อีลอน มัสก์ (Elon Musk)นำเรือดำน้ำจิ๋วเข้าช่วยเหลือคนไทยที่ติดอยู่ในถ้ำ

ข้อความในรูป – อีลอน มัสก์ได้แชร์ข้อความผ่าน Twitter เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 : “เพิ่งกลับมาจากถ้ำ โถงที่ 3 เรือดำน้ำจิ๋วพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือเพื่อนำตัวเด็กออกจากถ้ำหากต้องการ มันทำมาจากชิ้นส่วนของจรวดและถูกตั้งชื่อว่า Wild Boar ตามชื่อของทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ ผมจะมอบไว้ให้ที่ประเทศไทย เผื่อมีเหตุที่ได้ใช้ในอนาคต ประเทศไทยนั้นสวยงามมาก”

อีลอน มัสก์ CEO ของบริษัท SpaceX บินมายังประเทศไทยในอาทิตย์นี้เพื่อที่จะร่วมช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี่ทั้ง 13 คนที่ยังติดอยู่ในถ้ำหลวงฯ และได้นำเรือดำน้ำจิ๋วที่ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เขาได้คิดค้น นำช่วยในการปฏิบัติการในครั้งนี้

มัสก์และทีมวิศวกรของเขาจากที่ SpaceX และ The Boring Co. ออกแบบและสร้างเจ้าเรือดำน้ำจิ๋วนี้ขึ้นเพื่อช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี่ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561 เนื่องจากเกิดน้ำท่วมภายในถ้ำเฉียบพลัน หลังจากความพยายามในการช่วยเหลืออันยาวนานและหนักหน่วงของทุกคน สมาชิกทีมหมูป่าอะคาเดมี่คนสุดท้ายก็ได้ออกมาจากถ้ำอย่างปลอดภัยในวันที่ 10 กรกฎาคม 2561

อย่างไรก็ตาม ทีมกู้ภัยไม่ได้ใช้เรือดำน้ำจิ๋วของมัสก์ “อุปกรณ์ที่ อีลอน มัสก์ นำมาเพื่อช่วยพวกเรานั้นไม่สามารถใช้ได้จริงกับภารกิจของพวกเรา” นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (ศอร.) และผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ให้สัมภาษณ์กับ BBC

ข้อความในรูป – อีลอน มัสก์ได้แชร์ข้อความผ่าน Twitter เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 : “นี่คือการจำลองการเคลื่อนที่ผ่านช่องทางแคบ”

Wild Boar ชื่อนี้ที่ถูกตั้งตามทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ ได้มาถึงที่หน้าถ้ำในเช้าวันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม 2561 และก่อนหน้านั้น 3 วัน มัสก์ได้แชร์ข้อความผ่าน Twitter ว่า “เขาและทีมวิศวกรจาก SpaceX และ The Boring Co. กำลังคิดค้นออกแบบปล่องช่วยเหลือชีวิตอยู่”

“ผมมีหนึ่งในทีมวิศวกรที่ดีที่สุดในโลก ที่ซึ่งเป็นทีมที่ออกแบบจรวดอวกาศและชุดอวกาศ พวกเขาทำงานตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน” วันหนึ่งมัสก์ได้เขียนอีเมลล์ถึง ดิ๊ก สแตนตั้น (Dick Stanton) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญนำทีมกู้ภัยช่วยเหลือในวันที่ 8 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ว่า “พวกเราพยายามที่จะทำทุกอย่างให้ถูกต้องและเหมาะสมในช่วงเวลาที่สั้นขนาดนี้” โดยเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2561 พวกเขาได้นำเรือดำน้ำจิ๋วทดสอบการใช้งานในสระว่ายน้ำที่ลอสแองเจลิส และมัสก์ก็นำขึ้นเรือขนส่งมายังประเทศไทยในวันถัดไปเลยทันที

มัสก์ กล่าวว่า “เรือดำน้ำจิ๋วมีขนาดพอดีสำหรับตัวเด็กนี้นั้น สร้างมาจากชิ้นส่วนของจรวด Falcon9 นั่นก็คือท่อส่งออกซิเจนเหลวเข้าไปยังตัวเรือ เรือดำน้ำจิ๋วมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับบรรทุกผู้ใหญ่ แต่เด็กหรือผู้ใหญ่ตัวเล็ก สามารถขดตัวเข้าไปอยู่ภายในได้ และนักดำน้ำจะลากเรือดำน้ำจิ๋วนี้ออกมาตามทางถ้ำได้ถึง 2.5 ไมล์ (4 กิโลเมตร)

ข้อความในรูป – เดเนียล ซี.เลียม ได้รีโพสข้อความผ่าน Twitter ว่าเขาคิดว่าภาพนี้เป็นภาพที่มีความน่าสนใจที่สุดในแผนการที่ 2 ของ อีลอน มัสก์
โดยภาพที่เดเนียลหมายถึงนั้น คือภาพการบรรยายวิธีการ อุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยชีวิต “ทีมนักดำน้ำกำลังใช้ไอเดียของ CEO บริษัท SpaceX อีลอน มัสก์ นั่นคือ เรือดำน้ำจิ๋วนั้นเอง #ThaiCaveRescue”

กรณีที่ไม่ได้บรรทุกผู้โดยสารด้านใน เรือดำน้ำจิ๊วจะมีน้ำหนัก 90 ปอนด์ (40 กิโลกรัม) “ที่ซึ่งมีน้ำหนักเบาเพียงพอที่นักดำน้ำ 2 คน จะสามารถขนย้ายได้ และมีขนาดเล็กเพียงพอที่จะผ่านช่องว่างที่แคบได้” มัสก์โพสข้อความผ่าน Twitter เพิ่มเติมอีกว่า “การเพิ่มเครื่องมืออันนั้นเข้าไปนั้นทำให้แข็งแกร่งมาก หากทีมกู้ภัยได้เลื่อนเรือดำน้ำจิ๋วผ่านส่วนใต้น้ำของถ้ำ พวกเขาจะสามารถควบคุมการลอยตัวโดยเพิ่มหรือถอดเข็มขัดออกได้”

เรือดำนำจิ๋วถูกติดตั้ง 4 ช่องอากาศเพื่อให้นักดำน้ำ 4 คน สามารถเชื่อมต่อท่ออากาศของพวกเขาเพื่อแบ่งปันออกซิเจนกับผู้โดยสาร

“เรือดำน้ำจิ๋วนี้อาจจะไม่เหมาะกับการช่วยผู้คนออกจากถ้ำที่กำลังน้ำท่วมอยู่ แต่ต้องจำไว้ว่าเด็กที่ติดอยู่ในถ้ำนั้นไม่สามารถว่ายน้ำได้และอ่อนแอลงเรื่อย ๆ จากการขาดสารอาหารและความเหนื่อยล้า อีกทั้งไม่มีคนไหนมีประสบการณ์ในการดำน้ำเลย” รายงานโดย CNN

สิ่งประดิษฐ์ของมัสก์ ช่วยให้เด็กที่ถูกช่วยเหลือไม่ต้องออกแรงมาก อย่างไรก็ตาม เรือดำน้ำจิ๋วนี้ก็เป็นฝันร้ายสำหรับคนกลัวที่แคบ


ที่มาบทความ : Hanneke Weitering, จาก Space.com บันทึก : เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561
สืบค้นจาก : https://www.space.com/41120-elon-musk-submarine-thai-cave-rescue.html

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.