USGS ใช้โดรนช่วยชีวิตจากลาวาที่ คิลัวเอ

น้ำพุลาวาจาก Fissure 8 พบในวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 / USGS/HVO

บางอย่างกำลังเปลี่ยนไปในการเฝ้าสังเกตการณ์หรือวางแผนรับมือเหตุการณ์อันตรายจากภูเขาไฟนอกเหนือจากการใช้โดรน ในสิบกว่าปีที่ผ่านมามีความจำเป็นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ที่มีราคาสูงและเสี่ยงอันตรายหรือนำทีมเข้าใกล้ภูเขาไฟโดยเดินเท้าเพื่อทำการสำรวจแต่ทุกวันนี้เราได้ดูการปะทุของภูเขาไฟอย่างใกล้ชิดด้วยโดรนราคาถูกที่สามารถบินเข้าไปใกล้ปล่องหรือลาวาที่กำลังปะทุเพื่อติดตามเหตุการณ์ ทำให้เรามีข้อมูลสำหรับนักภูเขาไฟวิทยาเพื่อเฝ้าสำรวจและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของการการระเบิดของภูเขาไฟ อีกทั้งยังสามารถใช้โดรนทำแผนที่ภูเขาไฟและค้นหาประชาชนที่อาจเสี่ยงภัยขณะเกิดเหตุการณ์ต่างๆใกล้ภูเขาไฟควบคู่ไปกับดาวเทียม โดรนก็ทำหน้าที่จับตามองความเคลื่อนไหวของภูเขาไฟเพื่อความปลอดภัยของนักวิทยาศาสตร์และประชาชน

จุดเกิดเหตุ: เหตุการณ์ล่าสุดที่ คิลัวเอ ต้นอาทิตย์นี้มีธารลาวาไหลอย่างรวดเร็วจาก Fissure 8 (ดูภาพด้านบน) โดยมีการแจ้งอพยพของประชาชนซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีใครยอมออกจากที่อยู่อาศัย โดรนจาก US Geological Survey พบธารลาวาอันใหม่นี้ เมื่อคาดว่าการไหลของลาวาสามารถขัดขวางเส้นทางอพยพ ทางทีมสำรวจจึงติดต่อเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินเพื่อเตือนประชาชน

ภาพจากโดรนใช้ในการช่วยหาประชาชนขณะเกิดเหตุลาวาปะทุที่ คิลัวเอ แสงจากด้านบนนั้นคือธารลาวาและแสงสว่างจากผู้คนหาใกล้บริเวณบ้านพัก USGS/HVO

การไหลของธารลาวาใหม่ขวางพื้นอพยพประชาชนบริเวณดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ทีม USGS จึงค้นหากลุ่มที่ติดอยู่ด้วยโดรนและนำทางพวกเขาออกมาจากบริเวณลาวาและพาไปสู่พื้นที่ปลอดภัย ลองคิดดูว่า: โดรนสามารถสร้างแผนที่การไหลของลาวาซึ่งเป็นข้อมูลช่วยให้ประชาชนอพยพจากบริเวณอันตราย ไม่เพียงเท่านั้น โดรนยังสามารถส่งภาพวีดีโอถาการณ์จริงของการไหลของธารลาวาเพื่อให้หน่วยฉุกเฉินสามารถช่วยเหลือประชาชนและรู้ว่าต้องพาประชาชนอพยพไปบริเวณปลอดภัยที่ไหน

“ปฏิบัติตามโดรนเพื่อความปลอดภัย” ภารกิจ USGS UAS ในตอนล่างของโซน East Rift เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2561 ภารกิจนี้ช่วยนำทางการอพยพและนำไปสู่การช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังจากบ่อลาวาแตกไหลไปที่ถนน Luana ได้อย่างสำเร็จ

แผนที่การไหลของลาวาในวันที่ 30 พฤษภาคม สำหรับการปะทุของ Leilani Estates ที่โซน East Rift ที่คิลัวเอ

การปะทุที่ คิลัวเอ ยังคงดำเนินต่อไปวันนี้ ลาวาไหลจาก Fissure 8 ด้วยความเร็วประมาณ 550 เมตร (600 ยาร์ด) ต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเร็วมาก ยังคงมีลาวาเพิ่มขึ้นจากFissure 8 แต่มีอัตตราการไหลลดลง ลาวาไม่ใช่เหตุการณ์อันตรายที่สุดที่สามารถเกิดจากภูเขาไฟ (นับเป็นโชคดี) แม้ว่าจะมีความเร็วในการไหลดังกล่าว ประชาชนสามารถทำการอพยพได้ทันท่วงทีหากได้รับการเตือนล่วงหน้า (แน่นอนว่าไม่ใครอยากตกลงไปในธารลาวา) ลาวาที่ปะทุจาก Fissure 8  ทำให้เกิดเส้นใยลาวาแก้ว (ผมของเทพีเปเล่*)ดูภาพด้านล่าง ในขณะที่ลาวาพุ่งไปในอากาศ

อย่างที่ได้บอกไว้ การปะทุครั้งนี้ที่ คิลัวเอ ทำให้เราได้รู้ถึงประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้โดย Hawaiian Volcano Observatory และ U.S. Geological Survey ที่ช่วยให้เข้าใจการปะทุของลาวาและช่วยประชาชนให้ปลอดภัย


ที่มาบทความ : Erik Klemetti บันทึก : เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561
สืบค้นจาก : http://blogs.discovermagazine.com/rockyplanet/2018/05/30/how-the-usgs-used-a-drone-to-save-someone-from-kilaueas-lava/#.W2CVsNUzZhE

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.