ดาวเคราะห์นอกระบบกำเนิดใหม่! ภาพแห่งประวัติศาสตร์เป็นภาพแรกของโลกใหม่ต่างดาว

ภาพจากเครื่อง SPHERE ซึ่งเป็น Very Large Telescope  ของ European Observatory’s เป็นภาพแรกที่ชัดเจนของดาวเคราะห์ที่เห็นการก่อตัวรอบดาวแคระ PDS 70 ดาวเคราะห์ดวงนี้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนบริเวณที่เป็นจุดสว่างที่ด้านขวา ซึ่งถูกทำให้เป็นสีดำโดยการ coronagraph ใช้ในการปิดกั้นแสงที่สว่างของดาว // เครดิต: A. Müller et al./ESO

ภาพแรกอันน่าทึ่ง แสดงให้เห็นถึงโลกต่างดาวที่เพิ่งถูกค้นพบขนาดมหึมา มีการก่อตัวของวงแหวนก๊าซและฝุ่นรอบดาวดวงใหม่ ภาพนี้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนอันแรกในเรื่องการพบดาวเคราะห์นอกระบบใหม่ , ทีมค้นพบกล่าว

“วงแหวนรอบดาวดวงใหม่เห่ล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้นของดาวเคราะห์ แต่จนถึงขณะนี้มีเพียงการสังเกตจำนวนน้อยที่สามารถพบถึงเบาะแสของการกำเนิดดาวเคราะห์ใหม่”   Miriam Keppler หัวหน้าทีมนักวิจัยจากสถาบันดาราศาสตร์ Max Planck ในเมืองไฮเดลเบิร์กประเทศเยอรมันกล่าว “ปัญหาคือตอนนี้ดาวเกิดใหม่ดวงอื่นๆที่มีความเป็นไปได้อาจจะแค่มีรูปร่างคล้ายวงแหวนเท่านั้น”[จากภาพ: ดาวนอกระบบที่แปลกที่สุด]

Keppler และ ทีมงานของเธอได้วิเคราะห์ข้อสังเกตใหม่กับดาวแคระหนุ่มที่มีชื่อว่า PDS 70  ซึ่งมีอายุประมาณ 5.4 ล้านปีและอยู่ห่างจากโลกประมาณ 370 ปีแสง ข้อมูลเหล่านี้ถูกรวบรวมโดยเครื่องมือวัดสองเครื่อง คือ  Very Large Telescope (VLT) ของEuropean Southern Observatory ในประเทศชิลีและอีกเครื่องหนึ่งที่ Hawaii’s Gemini Observatory

จากการสังเกตทำให้เห็นถึงกลุ่มก๊าซกำเนิดใหม่บริเวณวงแหวนรอบ PDS 70 ทีมงานสามารถถ่ายภาพดาวเคราะห์นอกระบบนี้ ที่เรียกว่า PDS 70b โดยใช้เครื่องมือ VLT สองเครื่อง ชื่อ  SPHERE (Spectro-Polarimetric High-contrast Exoplanet Research)

SPHERE สามารถทำภาพ coronagraph ซึ่งสกัดกั้นแสงสว่างของดาวฤกษ์ไว้ซึ่งจะทำให้เห็นภาพดาวเคราะห์ที่โคจรโดยรอบชัดเจนขึ้น (ด้วยเครื่องมือชื่อ Near-Infrared Coronagraphic Imager ซึ่งมีที่ The Gemini)

การวิเคราะห์ของนักวิจัยชี้ให้เห็นว่า PDS 70b มีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีถึงสองหรือสามเท่าและห่างจากดาวฤกษ์ประมาณ 1.9 พันล้านไมล์ (3 พันล้านกิโลเมตร) หรือระยะทางจากยูเรนัสไปยังดวงอาทิตย์

PDS 70b มีความร้อนมากกว่ากว่าดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของเรา โดยนักวิจัยระบุว่ามีอุณหภูมิสูงถึง 1,800 องศาฟาเรนไฮต์ (1,000 องศาเซลเซียส) ระดับอุณหภูมิที่สูงนี้อาจดูแปลก เมื่อเทียบกับระยะห่างที่ไกลจากดาวฤกษ์ แต่ก็มีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับกลุ่มก๊าซยักษ์ที่กำเนิดใหม่ ทีมวิจัยกล่าว (ดาวเคราะห์ที่อายุน้อยมากจะเก็บความร้อนไว้เป็นจำนวนมากจากการก่อตัวของมัน)

ภาพนี้แสดงท้องฟ้ารอบดาวแคระสีส้มจาง ๆ PDS 70 (อยู่ตรงกลางของภาพ) ดาวสีฟ้าอันสว่างจ้าไปทางขวาคือ χ Centauri เครดิต: ESO/Digitized Sky Survey 22. รับรอง: Davide De Martin

นักวิจัยรายงานการค้นพบ PDS 70b และลักษณะต่างๆที่วัดได้และวิเคราะห์ควบคู่กับการค้นพบใหม่ โดยทั้งสองฉบับได้เผยแพร่ออนไลน์ (2 กรกฎาคม) ในวารสาร Astronomy & Astrophysics (คุณสามารถติดตามอ่านได้ที่นี่และที่นี่) (มีสมาชิกทีมงานวิจัยที่แตกต่างกันระหว่างงานวิจัยทั้งสอง แต่มีการทับซ้อนกันเช่น Keppler เป็นหัวหน้าการเขียนผลงานวิจัยที่ค้นพบดวงดาวและเป็นผู้ช่วยผู้เขียนในงานวิจัยอีกอันหนึ่ง)

‘’ผลการค้นพบของ Keppler เป็นช่องทางใหม่ที่ทำให้เราเข้าใจขั้นตอนที่ซับซ้อนของวิวัฒนาการของดาวเคราะห์’’ AndréMüller หัวหน้างานวิจัยที่สองกล่าว

ผู้เขียนนำผลการศึกษาครั้งที่สองกล่าวในรายงานฉบับเดียวกันนี้ว่า “ผลของเคปเลอร์ทำให้เรามีหน้าต่างใหม่เข้าสู่ขั้นตอนที่ซับซ้อนและไม่ค่อยเข้าใจตอนแรกของวิวัฒนาการของดาวเคราะห์”

“เราจำเป็นต้องสังเกตดาวเคราะห์ในวงแหวนใหม่นี้เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการการก่อตัวของดาวเคราะห์ที่แท้จริง” Müller ประจำอยู่ที่ Max Planck Institute for Astronomy กล่าว

 


ที่มาบทความ : Mike Wall, Space.com บันทึก : เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2561
สืบค้นจาก : https://www.space.com/41051-newborn-exoplanet-first-confirmed-photo.html

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.