เฝ้าดูดวงจันทร์ที่มีดาวพฤหัสฯเคียงคู่ในคืนนี้

เริ่มจากท้องฟ้าทางใต้หลังจากดวงอาทิตย์ตกในตอนเย็นวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน ดวงจันทร์ข้างขึ้นจะอยู่ที่ตำแหน่ง 4 องศาทางซ้ายบนของดาวพฤหัสฯที่สุกสว่าง ดาวทั้งสองดวงจะโคจรผ่านท้องฟ้าพร้อมกันในช่วงเวลากลางคืน พร้อมกับการหมุนของท้องฟ้าทำให้ดวงจันทร์สูงขึ้นอยู่เหนือดาวพฤหัสฯหลังเที่ยงคืน ในขณะเดียวกัน การแยกตัวของดวงจันทร์จากดาวเคราะห์ที่สุกสว่างจะสังเกตได้เจนมากขึ้นเนื่องจากดวงจันทร์โคจรเลื่อนไปทางทิศตะวันออก
เครดิต: Starry Night software

 

ในคืนวันเสาร์ที่ (23 มิถุนายน) หากท้องฟ้ามีสภาพปลอดโปร่ง คุณจะสามารถชมดวงจันทร์ข้างขึ้นโฉบเข้าใกล้ “ราชาแห่งดาวเคราะห์” ดาวพฤหัสฯ ดาวทั้งสองจะอยู่ประมาณครึ่งทางขึ้นไปทางท้องฟ้าซีกใต้ในขณะที่ความมืดเริ่มคืบคลานเข้ามา ดวงจันทร์ผ่านครึ่งดวงในช่วงแรกใช้เวลาสามวันครึ่ง – สว่างไสวไปด้วยแสงอาทิตย์ 85 เปอร์เซ็นต์ – จะอยู่ในตำแหน่งเหนือและทางซ้ายของดาวพฤหัสฯ วัดระยะห่างคร่าวๆได้ 4 องศา

คุณสามารถวัดความกว้าง 4 องศาได้อย่างไร : ให้ยกกำปั้นขึ้นตามความยาวแขนของคุณ นั่นจะวัดคร่าวๆได้ 10 องศา ดังนั้นดาวพฤหัสฯและดวงจันทร์จะอยู่ห่างกันน้อยกว่าครึ่งกำปั้นในคืนวันเสาร์ นอกจากนี้ ดวงจันทร์ วัดความกว้างได้ครึ่งหนึ่งขององศา เป็นเพราะว่าเกิดภาพลวงตาดวงจันทร์จึงปรากฏขนาดใหญ่เป็นสองเท่าจากความเป็นจริง ดังนั้น ในขณะห่างกันระหว่างดวงจันทร์กับดาวพฤหัสฯดูเหมือนว่ามันน่าจะเท่ากับความกว้างของดวงจันทร์แปดดวง ในขณะที่คุณมองดูดาวทั้งสองบนท้องฟ้าในวันเสาร์เย็น ดาวทั้งสองจะปรากฏตำแหน่งใกล้กันมาก – จากบางมุมระยะห่างอาจน้อยกว่า ”ความกว้างของดวงจันทร์แปดดวง”

แต่จริงๆแล้วคุณไม่จำเป็นให้ดวงจันทร์มากำหนดดาวพฤหัสฯ มันมองเห็นเด่นชัดอยู่แล้วด้วยตัวของมันเอง เมื่อดาวศุกร์ตก (ก่อนเวลา 22.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น) ดาวพฤหัสฯก็เข้ามาแทนที่วัตถุที่สว่างที่สุดในท้องฟ้ายามค่ำคืน รอแค่ดวงจันทร์ อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งนั้นจะเป็นของดาวพฤหัสไม่นานนัก เพราะดาวอังคารกำลังเข้ามาใกล้โลกอย่างรวดเร็วและสุกสว่างมากขึ้นในแต่ละคืนที่ผ่านไป และในช่วงต้นเดือน กรกฎาคม ดาวอังคารก็จะมาเป็นคู่แข่งดาวพฤหัสฯ ที่สุกสว่างมาก [ปฏิทินดวงจันทร์เต็มดวงปี 2561 สำหรับดูดวงจันทร์เต็มดวงครั้งต่อไป]

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ดาวพฤหัสฯครองตำแหน่งวัตถุที่มีความสุกสว่างเป็นอันดับสามในคืนท้องฟ้ามืดและไม่ตกจนกระทั่งประมาณตีสองสี่สิบตามเวลาท้องถิ่นกลางวัน เนื่องจากช่วงเวลาแสงสลัวดาวสุกสว่างก็เข้ามาแทนที่ในตอนปลายฤดูใบไม้ผลิและช่วงต้นฤดูร้อน ในขณะที่คุณมองดวงจันทร์และดาวพฤหัสฯในวันเสาร์ ยกตัวอย่างเช่น อย่ามองข้ามดาว Alpha Librae ที่มีขนาด 2.8 magnitude หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ Zubenelgenubi อยู่ในตำแหน่งล่างซ้ายของดาวพฤหัสฯ  ใช้เพียงกล้องส่องทางไกลธรรมดาคุณจะเห็นเป็นดาวคู่ และบางคนก็พูดว่ามันมีสีเขียวชอุ่ม – เป็นเพียงดาวสีเขียวเดียวที่เป็นที่รู้จักที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ดาวพฤหัสฯ อาจเป็นดาวเคราะห์ที่ดีที่สุดสำหรับนักดาราศาสตร์สมัครเล่นที่จะคอยสังเกตดู ดูด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดเล็กสุด หรือแม้แต่ กล้องส่องทางไกล ก็สามารถระบุถึงดวงจันทร์บริวารต่างๆที่สว่างจ้า และวงแหวนของมันที่เผยให้เห็นพื้นผิวที่สว่างกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆรวมกันทั้งหมด

สำหรับคนที่มีกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ (ที่มีรูรับแสงขนาด 6 นิ้ว หรือใหญ่กว่านั้น) ก็สามารถมองเห็นแถบเมฆของดาวพฤหัสฯด้วย และยังเห็นจุดสีแดงใหญ่อันเลื่องชื่อ (GRS: Great Red Spot) พายุยักษ์ ซึ่งโหมกระหน่ำอยู่บนดาวเคราะห์มาเป็นเวลาหลายร้อยปี

นักดูดาว Frank Melillo ถ่ายภาพต่างๆของดาวพฤหัสฯที่กำลังโคจรข้ามผ่านค่ำคืนของวันที่ 16 มิถุนายน ที่นิวยอร์ก เงาของดวงจันทร์บริวารที่ชื่อ lo ของดาวพฤหัสฯที่สามารถมองเห็นได้ตัดผ่านภาพ
เครดิต: Frank Melillo

Frank J. Melillo แห่ง Holtsville, New York เป็นผู้สังเกตการณ์ดาวเคราะห์ที่มุ่งมั่นซึ่งให้ข้อมูลกับ Space.com พร้อมกับการตัดต่อภาพอันน่าสนใจที่เขาถ่ายได้เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในวันที่ 16 มิถุนายน เขาได้ถ่ายภาพต่างๆของดาวพฤหัสฯซึ่งเห็นถึงผลกระทบจากการหมุนของดาวเคราะห์อย่างรวดเร็วดังที่เป็น Great Red Spot ตัดผ่านภาพ ยังสังเกตเห็นอีกด้วยว่าเงาวงกลมของดวงจันทร์ lo หนึ่งในดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสฯ เคลื่อนผ่านภาพ

“มันเป็น[ภาพ]ที่สวยงามที่เผยให้เห็นถึง GRS มีสีชัดเจนมากในปีนี้ เรียกได้ว่ามันเป็นสีอิฐแดง” Melillo สังเกต “แถบเส้นศูนย์สูตรเหนือ (NEB) มืดกว่า บางกว่า และร้อนมากกว่า มองเห็นคลับคล้ายว่าประดับประดาด้วยสีฟ้า…ตรงขอบ ใต้แถบเส้นศูนย์สูตร (SEB) มีเส้นบางๆกว้างกว่า แถบที่มองเห็นไม่ค่อยชัดบางแถบและบางเขตมองเห็นได้ทั้งสองขั้ว

และก่อนจะจากกันไป หากเมฆบดบังการมองเห็นดวงจันทร์และดาวพฤหัสฯในวันเสาร์ ก็ไม่ต้องกังวลไป – ดาวทั้งสองจะมาพร้อมกันอีกครั้งในวันที่ 20 กรกฎาคม


ที่มาบทความ : Joe Rao, Space.com, Skywatching Columnist บันทึก : เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561
สืบค้นจาก : https://www.space.com/40980-moon-passes-jupiter-june-23.html

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.