พายุเฮอริเคนเออร์มา (ตอนที่ 2)

กล้องถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความละเอียดปานกลาง (MODIS) ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม Terra ขององค์การนาซาได้บันทึกภาพที่สาม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 พายุก็ได้พัดถล่มแองกวิลลาและพร้อมที่จะถล่มหมู่เกาะเวอร์จิน

ภาพเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560

 

ไม่เพียงแต่กระแสลมของพายุเฮอริเคนเออร์มาที่มีกำลังแรงเท่านั้น ความแรงกระแสลมยังแผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางอย่างไม่น่าเชื่อ กระแสลมระดับพายุเฮอริเคนมีความกว้างถึง 50 ไมล์ (85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) จากศูนย์กลางพายุ กระแสลมระดับเขตร้อนมีความกว้างถึง 185 ไมล์ หรือ (295 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) นักอุตุนิยมวิทยาได้บันทึกไว้ว่าพายุเฮอริเคนมีความกดอากาศที่ศูนย์กลางอยู่ที่ (914 มิลลิบาร์) ต่ำที่สุดเท่าที่วัดได้สำหรับพายุที่อยู่นอกอ่าวแมกซิโกและทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตก

วันที่ 6 กันยายน พายุเฮอริเคนเออร์มา นักอุตุนิยมวิทยาได้ใช้ถ้อยคำว่าพลังงานสะสมของพายุไซโคลน ซึ่งบรรยายว่าพายุเฮอริเคนเออร์มานั้นมีอำนาจการทำลายล้างมากกว่าพายุที่เกิดขึ้นไปแล้วในฤดูพายุ 8 ลูกแรกในมหาสมุทรแอตแลนติกรวมกันของปี 2560 ตามที่นักอุตุนิยมวิทยาชื่อนาย Philip Klotzbach แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดกล่าวไว้ พายุเฮอริเคนเออร์มาได้ทำลายสถิติในการสะสมพลังงานเป็นพายุไซโคลนมากที่สุดในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เฮอริเคนแห่งชาติอยากให้เฮอริเคนลูกนี้เปลี่ยนทิศไปทางเหนือถึงตะวันตกเฉียงเหนือหลังจากเฉียด เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน และ ไฮติ  ต่อจากนั้นการพยากรณ์ได้เผยให้เห็นว่าเส้นทางเดินของพายุเฮอริเคนเออร์มา มีแนวทางเคลื่อนผ่านไปหรือใกล้กับเติร์กและหมู่เกาะเคคอส  บาฮามาส และจะขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าในที่สุด

การพยากรณ์ทิศทางของพายุเฮอริเคนยังคงมีความซับซ้อนและท้าทายยิ่งนัก แต่นักอุตุนิยมวิทยากลับมีทักษะมากยิ่งขึ้นกับการพยากรณ์ทั้งการเฝ้าติดตามและความรุนแรงของพายุต่าง ๆ ในกว่าทศวรรษที่ผ่านมา การพยากรณ์การเฝ้าติดตามเส้นทางเดินพายุห้าวันล่วงหน้า ณ ตอนนี้ดีกว่าการพยากรณ์สองวันล่วงหน้าเมื่อย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2528 นักวิจัยอุตุนิยมวิทยาแห่งศูนย์ Goddard Space Flight ของ องค์การนาซา นาย Scott Braun กล่าวว่า “การพยากรณ์ความรุนแรงพายุพัฒนาไปช้าแต่ก็ได้นำมาใช้หลังปี พ.ศ. 2552 การแก้ไขปรับปรุงเป็นผลมาจากการลงทุนต่าง ๆ อันนำมาซึ่งแบบจำลองต่าง ๆ ที่ดีกว่า ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการร่วมมือประสานการพยากรณ์และการร่วมกันปรับปรุงฐานข้อมูลทางเทคนิค”

หากคุณอาศัยอยู่ใกล้ที่ใดก็ตามที่เป็นไปได้ว่าเป็นเส้นทางพายุเฮอริเคนเออร์มา กรุณาเข้าไปที่เว็บไซต์การเตรียมพร้อมรับมือพายุเฮอริเคน ในส่วนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ

 

ที่มาบทความ : Daily Express   บันทึก : เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560
สืบค้นจาก : https://earthobservatory.nasa.gov/IOTD/view.php?id=90912&eocn=home&eoci=iotd_gri

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.