นักวิทยาศาสตร์ต้องการทำ ‘กูเกิล สตรีตวิว’ ขึ้นใหม่โดยใช้โดรน

กูเกิล สตรีตวิว เป็นเทคโนโลยีที่ให้มุมมองภาพแบบพาโนรามาจากตำแหน่งต่าง ๆ ตามถนนหลายแห่งบนโลก แม้กระทั่งภาพฝูงแกะในหมู่เกาะแฟโร จากกล้องภาคพื้นดิน และในขณะที่ดาวเทียมแสดงภาพสเกลใหญ่ของโลก แล้วพื้นที่ว่างระหว่างนั้นล่ะ

เกรกอรี่ ครูซิงเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำงานให้กับบริษัทโดรนอย่าง “3D Robotics and Parrot” ได้ก่อตั้งบริษัทให้คำปรึกษาอากาศยานไร้คนขับชื่อ ‘Drone Scholars’ และกำลังทำโครงการโดรนนักวิทยาศาสตร์ประชาชนเรียกว่า ‘Fly4Fall’  เป้าหมายของโครงการคือการสำรวจใบไม้ร่วงทั่วโลกและทดสอบการกระจายข้อมูลโดรน เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้นคือการสร้าง กูเกิล สตรีตวิว ด้วยภาพจากโดรน

เหนือกว่าเพียงแค่วิทยาศาสตร์  

เทคโนโลยีจากโดรนช่วยให้นักวิจัยค้นพบ “เมืองที่หายสาบสูญ” และ “เฝ้าดูหมีโพล่าที่อาณาจักรขั้วโลกอาร์ติก” ครูซิงเกอร์ยังกล่าวอีกว่า เราสามารถใช้ประโยชน์จากโดรนในการศึกษาค้นคว้าทางชีวภูมิศาสตร์ หรือการกระจายพันธ์ แต่เพราะอะไรถึงต้องทำให้เจ้าของโดรนทั่วไปหันมาทำสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สามารถทำได้จากอุปกรณ์ที่มีอยู่ นั่นเป็นเพราะสิ่งนี้จะช่วยประหยัดเงินและเวลา แทนที่นักวิจัยต้องขับรถทางไกลไปทุกฟาร์มในมิทเวสท์เพื่อถ่ายภาพ ครูซิงเกอร์ กล่าว นักวิทยาศาสตร์ประชาชนสามารถทำได้โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน

Fly4Fall ไม่ใช่โครงการแรกของนักวิทยาศาสตร์ประชาชนในการรวบรวมข้อมูลโดรน ในปี 2016 ศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติแคลิฟอร์เนียได้ให้ประชาชนที่มีโดรนมาร่วมกันเก็บภาพน้ำท่วมในบริเวณฝั่งทะเลของรัฐ แต่การรวบรวมข้อมูลครั้งนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ต้องการเพราะไม่มีใครเก็บภาพสิ่งที่นักวิจัยต้องการ

ครูซิงเกอร์ เข้าใจถึงความลำบากในการเก็บข้อมูลที่สามารถนำมาใช้จริงได้จากนักวิทยาศาสตร์ประชาชน และเขามีวิธีแก้ปัญหาเพียงไม่กี่วิธี วิธีหนึ่งคือการทำแอปพลิเคชั่นเพื่อให้โดรนบินและเก็บภาพที่เหมือนกัน ซึ่งเป็นวิธีที่เพิ่มความสนุกสนานให้กับผู้ร่วมโครงการด้วย

คุณอาจจะบอกว่า “บริเวณที่ต้องการให้เก็บภาพคือบริเวณนี้ ช่วยไปเก็บภาพให้หน่อย” เขากล่าว “หรือคุณอาจจะทำให้สนุกขึ้นมาอีกและให้รางวัลตอบแทนซึ่งเป็นอีกวิธีที่ทำให้คนสนใจมาช่วยทำงานนี้ไม่ใช้เพียงแค่เป็นอาสาสมัครเพื่อการกุศล”

วิธีนี้สามารถนำไปใช้นอกเหนือจากในการทำวิจัยวิทยาศาสตร์เช่นกัน ที่จริงแล้ว ครูซิงเกอร์ ใช้โดรนของเขาบินเหนือบริเวณไฟป่า  ซึ่งทำลายพื้นที่ปลูกไวน์ในแคลิฟอเนียในเดือนตุลาคม เพื่อเก็บภาพสำหรับกรมดับเพลิงท้องถิ่น เขาอัพโหลดภาพพาโนรามาผ่านแอปพลิเคชั่น Hangar  และทำการประมวลผลโดย Pix4d (ตัวอย่างด้านล่าง) แน่นอนว่าการจะทำสิ่งเหล่านี้ในวงกว้างนั้นต้องทำการทดสอบระบบรองรับก่อน ซึ่งทำให้เกิดโครงการ Fly4Fall ขึ้นมา

ในตอนนี้ ครูซิงเกอร์ ได้รับการส่งภาพมากกว่า 12 ชุดข้อมูล และเขาคาดหวังว่าจะสามารถรวบรวมเพิ่มอีก ตอนนี้จำนวนอาจจะดูไม่มาก แต่สำหรับเขา “นี่คือความสำเร็จที่เป็นเครื่องพิสูจน์แนวความคิดนี้ ผมคิดว่าปีหน้าเราจะสร้างเครือข่ายให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมด้วย”

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ถ้าใบไม้บนต้นที่อยู่ใกล้คุณร่วงลงมา คุณสามารถเข้าร่วมกับโครงการ Fly4Fall ได้ทันที โดยคุณเพียงแค่มีโดรน DJI (ดูรายชื่อรุ่นโดรนที่เข้าร่วมได้ที่นี่) และ ไอโฟนหรือไอแพด ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Hangar  ถ่ายภาพใบไม้ร่วง 360 องศาและส่งมาที่อีเมล 360@dronescholars.com ด้านล่างแสดงตัวอย่างที่ส่งมาร่วมกับ Fly4Fall จากสก๊อตแลนด์ – วีดีโอเป็นภาพ 360 คุณสามารถรับชมโดยคลิกและเปิดหน้าจอเต็มได้

อย่างไรก็ตาม Fly4Fall เป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อทดสอบการรวบรวมข้อมุลของโดรนผ่านการคราวนด์ซอส  ครูซิงเกอร์ ต้องการเห็นภาพที่ผู้คนจะส่งมาและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น “ผมพยายามที่จะไม่คิดมากจนเกินไปที่จะทำให้ครอบคลุมและมีมาตรฐานเดียวกัน   แต่ผมคิดว่าอีกไม่นานก็ต้องเป็นอย่างนั้น”

โดรนเริ่มเป็นที่แพร่หลายแต่ยังไม่มากนัก — การใช้โดรนส่งของเป็นเพียงแค่ตัวอย่างเดียวที่สื่อกำลังให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นที่น่าท้อและรำคาญใจสำหรับกลุ่มคนที่รู้คุณค่าที่แท้จริงว่าโดรนทำอะไรได้บ้าง

“ผมรู้สึกว่าการถ่ายภาพไฟป่าในแคลิฟอเนียเป็นภาพพาโนรามาธรรมดาเพื่อเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็ว ทำให้ผมมีความเชื่อว่าโดรนก็สามารถเป็นประโยชน์ได้มากและใครๆก็สามารถใช้โดรนได้” เขากล่าว


ที่มาบทความ : Lauren Sigfusson บันทึก : เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560
สืบค้นจาก : http://blogs.discovermagazine.com/drone360/2017/11/07/google-street-view-with-drones/#.W2CMPtUzZhE

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.