จะปลูกพืชอย่างไรหากเราต้องอาศัยอยู่บนดาวเคราะห์สีแดง

โดย Briardo Liorente, มหาวิทยาลัย Macquarie
เครดิต: Sergey DV/Shutterstock

 

บทความนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรก ใน The Conversation สำนักพิมพ์สนับสนุนบทความให้กับ Space.com’s Space.com’s Expert Voices: Op-Ed & Insights

การเตรียมการนั้นพร้อมที่จะดำเนินการต่อไป สำหรับ พันธกิจ ซึ่งจะนำมนุษย์ไปเหยียบบนดาวอังคารภายในระยะเวลาประมาณ 10 ปี ข้างหน้า ถ้าพันธกิจนี้นำไปสู่การสร้างอาณานิคมถาวรที่ดาวเคราะห์แดงแล้วผู้คนที่จะอาศัยอยู่บนนั้นจะกินอะไรเป็นสิ่งดำรงชีพ

ถ้ามนุษย์สามารถไปถึงดาวอังคารได้ ความท้าทายหลักๆสำหรับการสร้างอาณานิคมคือการสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืน ค่าใช้จ่ายในการส่งทรัพยากรจากโลกนั้นมหาศาลจนเป็นไปไม่ได้ [ความท้าทายของผู้สร้างอานานิคมบนดาวอังคาร (อินโฟกราฟิกส์)]

มนุษย์บนดาวอังคารจะต้องไม่พึ่งพาการจัดส่งอาหารและอุปกรณ์จากโลก มีความจำเป็นต้องพึ่งพาตนเองและทำการเกษตรอย่างยั่งยืน

การค้นพบล่าสุด พบของเหลวที่เป็นน้ำบนดาวอังคาร –  ซึ่งเป็นข้อมูลใหม่กับคำถามว่าเราจะพบกับสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์นี้หรือไม่ –เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะช่วยปลูกพืชเป็นอาหาร

แต่น้ำเป็นเพียงแค่หนึ่งในหลายๆปัจจัยที่เราต้องการในการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารในจำนวนที่เพียงพอบนดาวอังคาร

 

อาหารประเภทไหน?

งานวิจัยเดิมได้นำเสนอการใช้ จุลินทรีย์ เป็นแหล่งอาหารบนดาวอังคาร การใช้เรือนกระจกปลูกพืชไร้ดิน และควบคุมสภาวะแวดล้อม เหมือนกับ การทดสอบ ปลูกพืชบนสถานีอวกาศนานาชาติ อันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในเดือนนี้ วารสาร Genes เราได้เสนอมุมมองที่มีพื้นฐานมาจากการใช้ชีววิทยาสังเคราะห์ระดับสูงเพื่อปรับปรุงความเป็นไปได้ของการปลูกพืชบนดาวอังคาร

ชีววิทยาสังเคราะห์ คือ สาขาที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการควบรวมเอาหลักการต่างๆมาจากวิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์ DNA และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ (ในสาขาอื่นๆอีกมากมาย) เพื่อทำให้เกิดและปรับปรุงกระบวนการใหม่ๆต่อสิ่งมีชีวิต

ไม่เพียงแต่เราสามารถอ่าน DNA ได้ แต่เรายังสามารถออกแบบ ทดสอบและสร้างระบบชีวภาพได้อีกด้วย ยีสต์ เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของจุลินทรีย์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันจีโนมทั้งหมด(genome) กำลังถูกรื้อปรับระบบโครงสร้างใหม่โดยสมาคมนานาชาติ

เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากจนถึงปัจจุบันซึ่งวิศวกรรมพันธุกรรมมีความแม่นยำและในขณะนี้ระบบอัตโนมัติสามารถควบเข้าด้วยกันกับหุ่นยนต์อัตโนมัติ ดังเป็นที่รู้จักอย่างเช่นโรงหล่อชีวภาพ

โรงหล่อชีวภาพเหล่านี้สามารถทดสอบ DNA ได้นับล้านๆควบคู่กันไปเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตที่มีคุณลักษณะต่างๆที่เรากำลังมองหาอยู่

 

ดาวอังคาร: คล้ายโลกแต่ไม่ใช่

แม้ว่าดาวอังคารจะมีความคล้ายโลกมากที่สุดในกลุ่มดาวเคราะห์เพื่อนบ้าน แต่ก็มีความแตกต่างกันมากในหลายๆด้าน

แรงดึงดูดบนดาวอังคารมีแค่ราวหนึ่งในสามของแรงดึงดูดโลก ดาวอังคารรับแสงอาทิตย์ประมาณครึ่งหนึ่งจากที่เราได้รับบนโลก แต่มีรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีคอสมิกที่เป็นอันตรายจากและเข้มข้นกว่ามาก อุณหภูมิพื้นผิวของดาวอังคารอยู่ที่ประมาณ –60องศาเซลเซียสและมีชั้นบรรยากาศบาง ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ดินของโลกมีความชื้นและอุดมไปด้วยสารอาหารและจุลินทรีย์ซึ่งทำให้พืชเจริญเติบโต ดินของดาวอังคารมีความแตกต่างโดยปกคลุมไปด้วยเปลือกหินตะกอน เป็นสสารแห้งซึ่งมีสารเคมีเปอร์คลอเรต ที่เป็นพิษต่อมนุษย์

แม้จะพบทะเลสาบอยู่ใต้ผิวอยู่ด้วยก็ตาม – น้ำบนดาวอังคาร ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของน้ำแข็ง และความดันชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่ต่ำทำให้น้ำที่มีสถานะเป็นของเหลวเดือดที่อุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียส

พืชบนโลกมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาร้อยล้านปีแล้วและได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพของโลก ซึ่งจะไม่เจริญเติบโตได้ดีบนดาวอังคาร ซึ่งหมายความว่าทรัพยากรที่สำคัญจะขาดแคลนและมีค่ามากสำหรับมนุษย์บนดาวอังคาร เช่นของเหลวที่เป็นน้ำและพลังงาน จำเป็นต้องได้รับการจัดสรรเพื่อสามารถทำการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพ โดยสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ดีที่สุด

 

การปรับสภาพพืชให้เข้ากับดาวอังคาร

อีกทางเลือกหนึ่งที่สมเหตุสมผลมากขึ้นคือการใช้ชีววิทยาสังเคราะห์เพื่อพัฒนาพืชที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับดาวอังคาร ความท้าทายนี้สามารถจัดการได้และติดตามได้อย่างรวดเร็วด้วยการสร้างโรงงานชีวภาพที่มุ่งเน้นสำหรับดาวอังคารโดยเฉพาะเครื่องมือให้ความสะดวกอัตโนมัตินั้นจะต้องสามารถเร่งการออกแบบทางชีววิทยาและทดสอบประสิทธิภาพภายใต้สภาวะจำลองของดาวอังคาร

ด้วยเงินทุนที่เพียงพอและความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่นอุปกรณ์และห้องทดลองขั้นสูงสามารถพัฒนาลักษณะที่ต้องการเพื่อทำให้พืชเจริญเติบโตได้บนดาวอังคารภายในทศวรรษ

การพัฒนาควรครอบคลุมเรื่อง การสังเคราะห์แสง และการป้องกันอันตรายจากแสงแดด (เพื่อช่วยปกป้องพืชจากรังสี UV จากดวงอาทิตย์) เช่นเดียวกับความทนทานต่อความแห้งแล้งและอากาศเย็นต่างๆและการวิศวกรรมพันธ์ที่ทำให้พืชมีประสิทธิภาพสูง และยังต้องพัฒนาจุลินทรีย์เพื่อล้างพิษและปรับปรุงคุณภาพดินของดาวอังคารสิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายทั้งหมดของชีววิทยาสังเคราะห์สมัยใหม่

 

ประโยชน์ต่อโลก

การพัฒนาพันธุ์พืชรุ่นใหม่สำหรับมนุษย์บนดาวอังคารทำให้เกิดประโยชน์สำหรับมนุษย์บนโลกการเจริญเติบโตของประชากรโลกทำให้มีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองปริมาณความต้องการนี้ เราจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เราต้องทำโดยไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบกับสิ่งแวดล้อม

ทางที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้คือการพัฒนาพันธุ์พืชที่ปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ก่อนแล้ว จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเช่นโรงงานชีวภาพที่จะนำประโยชน์อันยิ่งใหญ่เพื่อให้เวลาตอบสนองในเรื่องของ

การวิจัยพืชซึ่งมีผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารและการปกป้องสิ่งแวดล้อมในที่สุดแล้ว ผู้รับผลประโยชน์หลักในความพยายามที่จะพัฒนาพันธุ์พืชสำหรับดาวอังคารก็คือโลกนั่นเอง

Briardo Llorente, CSIRO ชีววิทยาสังเคราะห์เพื่อนร่วมทีมในอนาคต Macquarie University

บทความนี้ถูกตีพิมพ์ใหม่จาก The Conversation ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons อ่าน บทความต้นฉบับ ได้ในประเด็น และ การอภิปราย Follow all the Expert Voices – และแสดงความคิดเห็นได้ – ใน Facebook, Twitter และ Google + ทัศนคติต่างๆแสดงให้กับบรรดาผู้เขียนและสำนักพิมพ์ไม่มีความจำเป็นต้องสะท้อนทัศนคติต่างๆ บทความในภาคนี้ออกเผยแพร่ครั้งแรกใน Space.com


ที่มาบทความ : Briardo Llorente สืบค้นวันที่ : 23 กันยายน พ.ศ. 2561
สืบค้นจาก : https://www.space.com/41843-growing-crops-on-mars.html

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.