การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม

ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เริ่มแรกเป็นการใช้แปลตีความด้วยสายตาข้อมูลในลักษณะภาพถ่าย ภาพพิมพ์ หรือฟิล์ม ปัจจุบันใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและการที่ดาวเทียมบันทึกภาพตามเวลาการโคจรที่กำหนด ทำให้ได้รับข้อมูลที่ทันสมัยตามช่วงเวลา สามารถที่นำไปใช้ประโยชน์ผสมผสานกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและการพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถสรุปการประยุกต์ข้อมูลจากดาวเทียมในด้านต่างๆ ได้ดังนี้

1. ด้านป่าไม้

ด้านป่าไม้ใช้ในการศึกษาจำแนกชนิดป่าไม้ต่างๆ พรรณไม้ป่าชายเลน สวนป่า การประเมินหาพื้นที่ไฟป่า และติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้มาอย่างต่อเนื่อง

ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านป่าไม้
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านป่าไม้

2. ด้านการเกษตร

ใช้ในการศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูก พืชเศรษฐกิจต่างๆ การพยากรณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติและจากศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลำไย ข้าว อ้อย ข้าวโพดมันสำปะหลัง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และยางพารา

ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านเกษตร
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านเกษตร

3. ด้านการใช้ที่ดิน

ข้อมูลจากดาวเทียมใช้ในการทำแผนที่การใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินที่ทันสมัยและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม

ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน

4. ด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน

ข้อมูลด้านโครงสร้างทางธรณี โดยเฉพาะลักษณะภูมิประเทศ และธรณีสัณฐาน สามารถศึกษาได้อย่างชัดเจนจากข้อมูลจากดาวเทียม การทำแผนที่ธรณีโครงสร้างของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่บอกถึงแหล่งแร่แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตลอดจนแหล่งน้ำบาดาล และการวางแผนการสร้างเขื่อน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเอาข้อมูลจากดาวเทียมไปใช้ศึกษาทางด้านโบราณคดี เช่น พื้นที่เมืองโบราณ แนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก ขอบเขตของหินต่างชนิดกัน เป็นต้น

ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน

5. ด้านอุทกวิทยา และการจัดการทรัพยากรน้ำ

ข้อมูลจากดาวเทียมมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคลองชลประทาน แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ และเขื่อน การศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนในอ่างน้ำเพื่อการบำรุงรักษาเขื่อน การทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อประเมินความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ในการวางแผนป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และบรรเทาช่วยเหลือราษฎรประสบภัยน้ำท่วม ติดตามการเปลี่ยนแปลงเส้นและความกว้างของแม่น้ำ ศึกษาคุณภาพของน้ำ ใช้ในการประเมินวิเคราะห์พื้นที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งการวางแผนการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านอุทกวิทยาและการจัดการทรัพยากรน้ำ
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านอุทกวิทยาและการจัดการทรัพยากรน้ำ
ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคองลดลงจากการซ้อนข้อมูลจาก ดาวเทียม LANDSAT ปี 2540 กับปี 2548
ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคองลดลงจากการซ้อนข้อมูลจาก
ดาวเทียม LANDSAT ปี 2540 กับปี 2548

6. ด้านสมุทรศาสตร์และทรัพยากรชายฝั่ง

ข้อมูลจากดาวเทียมนำไปใช้ในการศึกษาการแพร่กระจายของตะกอน พื้นที่หาดเลน และทรัพยากรชายฝั่ง การทำแผนที่เพาะเลี้ยงและการประมงชายฝั่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

เครื่องมือประมง (โป๊ะและหลักเลี้ยงหอย) ในอ่าวไทย จ. ชลบุรี จากข้อมูลดาวเทียม RADARSAT
เครื่องมือประมง (โป๊ะและหลักเลี้ยงหอย) ในอ่าวไทย
จ. ชลบุรี จากข้อมูลดาวเทียม RADARSAT
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านสมุทรศาสตร์ และทรัพยากรชายฝั่ง
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านสมุทรศาสตร์ และทรัพยากรชายฝั่ง

7. ด้านการทำแผนที่

ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศให้ถูกต้องและทันสมัยการทำแผนที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เส้นทางคมนาคม แผนที่ผังเมือง เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านการทำแผนที่
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านการทำแผนที่
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านการทำแผนที่
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านการทำแผนที่

8. ด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลจากดาวเทียมถูกนำมาใช้ในการศึกษาประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และวางแผนลดความสูญเสียจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม วาตภัยจากไต้ฝุ่น ด้านสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ในการติดตามการแพร่กระจายของตะกอนจากการทำเหมืองแร่ในทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง การกระจายของน้ำเสีย การบุกรุกทำลายป่าไม้ เป็นต้น

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

9. ด้านการผังเมืองและการขยายเมือง

ข้อมูลจากดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงสามารถใช้ในการติดตามการขยายตัวเมืองและแหล่งชุมชนเพื่อการวางแผนรองรับด้านโครงสร้างพื้นฐาน การหาตำแหน่งหมู่บ้านชนกลุ่มน้อย หรือหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานใหม่

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านผังเมือง และการขยายเมือง
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านผังเมือง และการขยายเมือง

10.ด้านความมั่นคงของชาติ

ดาวเทียมสามารถถ่ายภาพที่มีรายละเอียดสูงเพียงพอที่ใช้สังเกตการณ์ต่างๆ โดยสามารถใช้ถ่ายภาพพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงสูง เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ จัดทำเป็นคลังข้อมูลการข่าวได้ นอกจากนี้ใช้ในการตรวจการปลูกพืชเสพติด และตรวจจับพื้นที่อาจมีการขนย้ายยาเสพติดได้ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงที่จะได้รับไม่อาจประเมินค่าได้

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านความมั่นคงของชาติ
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านความมั่นคงของชาติ

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.