หลักสูตร ข่าวกรองภูมิสารสนเทศ สำหรับ ทร. รุ่นที่ 2

หลักสูตร ข่าวกรองภูมิสารสนเทศ สำหรับ ทร. รุ่นที่ 2

ระหว่างวันจันทร์ที่ 12  วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2561

ระยะเวลาการฝึกอบรม 5 วัน

ห้องฝึกอบรม ชั้น 3 อาคารสถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ สทอภ.

ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

 

 

ที่มาของหลักสูตร

บันทึกข้อตกลง ระหว่าง กองทัพเรือ กับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(
องค์การมหาชน) ว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

 

วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ

1. เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ มาใช้งานการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการข่าว ภารกิจป้องกันประเทศ และพัฒนาประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศกับข้อมูลข่าวสารทางทะเลและชายฝั่ง มาใช้ในการวิเคราะห์ด้านการข่าว และการปฏิบัติการทางทหาร การแก้ปัญหาภัยพิบัติสาธารณะ รวมถึงร่วมกันวิจัยและพัฒนาระบบการจัดเก็บการบริหารจัดการข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสารทางทะเล และการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทะเลและชายฝั่ง ข้อมูลด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศระหว่างกัน และกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านเครือข่ายสารสนเทศในการดำเนินกิจกรรมทางทะเลให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางทะเล

4. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการรับรู้เท่าทันสถานการณ์ทางทะเลเพื่อใช้ในการแจ้งเตือนภัย และการพัฒนากลไกให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุระหว่างทั้งสองฝ่ายจากภัยคุกคามทางทะเล และสถานการณ์ทางทะเลที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

5. เพื่อหาแนวทางในการจัดหา และให้บริการข้อมูลจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ พื้นที่เกิดภัยพิบัติ พื้นที่เกิดสถานการณ์ที่ฉุกเฉินร้ายแรง และพื้นที่ปฏิบัติการทางการทหาร

6. เพื่อพัฒนาบุคลากร และเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

7. เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ที่ทั้งสองฝ่าย เห็นสมควรร่วมกัน

 

ความสำคัญของหลักสูตร

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการตัดสินใจและวิเคราะห์ปัญหาในเชิงพื้นที่ สามารถนำเข้า ปรับปรุง แก้ไข วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับปัจจุบันระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง อย่างแพร่หลาย เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การวางผังเมือง การจัดการชุมชนและการจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ การเข้าใจกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญ สทอภ. เล็งเห็นความสำคัญของความต้องการดังกล่าว จึงเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้ เนื้อหาภายในหลักสูตรจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เข้าใจวิธีการสร้างการจัดการข้อมูล เข้าใจการเชื่อมโยงระหว่างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการรับรู้จากระยะไกล และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ตลอดจนการใช้ประโยชน์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ รวมทั้งฝึกปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ทันสมัยเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ในระดับสูง ต่อไป

 

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

  • เข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • เข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าใจความสัมพันธ์และความเชื่อมโยง ตลอดจนประโยชน์ของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS RS และ GNSS)
  • สามารถใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อ สร้าง ปรับปรุง แก้ไข จัดการ วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ได้
  • สามารถนำความรู้ทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้

 

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ที่ต้องการเรียนรู้การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นฐานและผู้ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการใช้งานข้อมูลภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การใช้ที่ดิน การเกษตร การจัดทำแผนที่ รวมถึงบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป

 

เนื้อหาหลักสูตร

Module 1 หลักการพื้นฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  • ความหมายระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • องค์ประกอบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • ประโยชน์และความสามารถของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • ประโยชน์และความสามารถของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

 

Module 2 ความเข้าใจเรื่องแผนที่

  • หลักการอ่านแผนที่ ระบบพิกัด มาตราส่วน ทิศทาง ระยะทางในแผนที่

 

Module 3 ข้อมูลและฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  • ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Data)
  • ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Database)
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Topology of Data)
  • ความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล (Relations in a Database)

 

Module 4 การนำเข้าและการสร้างฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  • การนำเข้าข้อมูล (Data Input)
  • การปรับปรุงข้อมูลให้เหมาะสม (Data Manipulation)
  • การจัดการฐานข้อมูล (Data Management)
  • การเรียกค้นข้อมูล (Data Query)

 

Module 5 การนำเสนอข้อมูลและการแสดงผล (Geographic Visualization)

  • การเรียกค้นข้อมูล (Data Query)
  • การออกแบบแผนที่ (Cartographic Design)
  • การออกแบบแผนที่ (Cartographic Design)
  • การสร้างและนำเสนอแผนที่ (Map Production)

 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม : มีความรู้พื้นฐานการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือการสร้างแบบจำลอง การใช้งานข้อมูลภูมิสารสนเทศ

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 30 คน โดยพิจารณาตามคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกของ สทอภ.

 

การประเมินผล

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรอง โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินผลการฝึกอบรม ดังนี้

เข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

ผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้ครบถ้วนและมีผลงานผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

 

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.