GISTDA SPACE CAMP ประจำปี 2559

โครงการ GISTDA SPACE CAMP ประจำปี 2559

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)


1. หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นแต่โอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศสำหรับเยาวชนไทยนั้น ยังคงเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยากและมีโอกาสน้อยที่จะได้สัมผัสกับ
อุปกรณ์จริง จนเมื่อวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2559 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้เปิดแหล่งเรียนรู้ทางด้านอวกาศในนาม Space Inspirium เพื่อเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้กับเยาวชนไทย นับเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศไทย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาช่วยในการแก้ไขปัญหา โดย GISTDA ได้กำหนดกิจกรรม GISTDA SPACE CAMP#1 ระหว่างวันที่ 2-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น ใน Theme ของ “สนุกคิด GISTDA ท้าทดลอง” เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ อาทิ วิศวกรดาวเทียม นักภูมิสารสนเทศ และนักวิชาการเผยแพร่ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนเกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณการ ตามหลักการ STEM ร่วมกับการสร้างรากฐานของนักเทคโนโลยีอวกาศรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาประเทศไทย นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จะมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมกิจกรรมด้านอวกาศระดับชาติและนานาชาติกับ GISTDA

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ ความเข้าใจในเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงบทบาทของดาวเทียมไทยโชตที่มีต่อการสำรวจและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย และสามารถขยายศักยภาพของข้อมูลจากดาวเทียมในการประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆตามความเหมาะสม
2.2 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักเสียสละและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้อื่น
2.3 เพื่อให้เยาวชนได้เกิดกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลในการสร้างสรรค์ผลงานด้านเทคโนโลยีอวกาศ สามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง
2.4 เพื่อคัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมกิจกรรมด้านอวกาศระดับชาติและนานาชาติกับ GISTDA

3. เป้าหมาย

กลุ่มเยาวชนอายุ 12-14 ปี จำนวน 30 คน

4. ระยะเวลาในการจัด

5 วัน ระหว่างวันที่ 2-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

5. สถานที่จัด

อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

6. ค่าลงทะเบียน 4,500 บาท

7. กำหนดการ

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2559

09:00-09:30 รายงานตัวและลงทะเบียน รับอุปกรณ์ประจำตัว

09:30-10:00 กิจกรรมสร้างความคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมค่าย

10:00-10:30 พิธีเปิด

โดย  นางสาวปราณปริยา วงค์ษา (รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้)

10:30-11:30 แนะนำโครงการ / กิจกรรมนันทนาการทำความรู้จักเพื่อนใหม่และพี่กลุ่ม

11:30-12:30 รับประทานอาหารกลางวัน

12:30-14:30 “สร้างแรงบันดาลใจเด็กไทยสู่เวทีโลก”

โดย ดร.กฤษฎ์ชัย สมสนาน (ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารวิทยาศาสตร์ สวทช.)

นายปริทัศน์  เทียนทอง (เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารวิทยาศาสตร์ สวทช.)

“ทำความรู้จักกับนักบินอวกาศตัวจริง”

โดย  Ms.Naoko Yamazaki (อดีตนักบินอวกาศสังกัด The Japan Aerospace Exploration Agency : JAXA)

“เรียนรู้จากประสบการณ์”

โดย  เด็กหญิงวริศา  ใจดี (โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน)

 นางสาวศวัสมน  ใจดี (โรงเรียนศรีบุณยานนท์) (เยาวชนโครงการ Try Zero-G โดย สวทช. )

14:30-14:45 รับประทานอาหารว่าง

14:45-16:30 สนามทดลองที่ 1 : “การปลูกพืชในภาวะไร้แรงโน้มถ่วง”

โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช  (วิศวกรอวกาศ GISTDA)

16:30-17:30 เข้าที่พักและพักผ่อนตามอัธยาศัย

17:30-18:30 รับประทานอาหารเย็น

18:3019:00 สรุปภาพรวมของกิจกรรมประจำวัน

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2559

07:00-07:30 ตื่นนอน  (ทำธุระส่วนตัว)

07:30-08:00 รับประทานอาหารเช้า

08:00-09:00 กิจกรรมนันทนาการ

09:00-10:30 “นิทานสำรวจโลก ตอน เปิดม่านการเดินทาง”

สนามทดลองที่ 2 : “ออกสำรวจโลกด้วยดวงตาจากอวกาศ”

โดย  นายจักรพงษ์ ทะวะละ (นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA และพิธีกรรายการ The Surveyor)  

10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 “เรียนรู้กระบวนการทำงานกับดาวเทียมไทยโชต”

โดย  นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช  (วิศวกรอวกาศ GISTDA)

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:30 “Edutainment at SPACE INSPIRIUM : Space Zone” เล่นและเรียนรู้เพื่อค้นพบแรงบันดาลใจ

14:30-14:45 รับประทานอาหารว่าง

14:45-16:00 “Edutainment at SPACE INSPIRIUM : Space Zone” เล่นและเรียนรู้เพื่อค้นพบแรงบันดาลใจ

16:00-17:30 เข้าที่พักและพักผ่อนตามอัธยาศัย

17:30-18:00 รับประทานอาหารเย็น

18:00-20:00 “นิทานแห่งดวงดาว เรื่องราวแห่งการค้นพบ : story 1”           

โดย นายเขมชาติ  จิตรไส : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้

“นิทานแห่งดวงดาว เรื่องราวแห่งการค้นพบ : story 2”           

โดย นายสุพจน์  นิธินันทน์ : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2559

07:00-07:30 ตื่นนอน  (ทำธุระส่วนตัว)

07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า

08:30-10:30 “Geocaching พิกัดซ่าท้าตะลุย : อธิบายวิธีเล่น”

10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 สนามทดลองที่ 3 : ตามล่าหาพิกัดด้วยดาวเทียม

โดย  นางสาวศิริพักตร์  เสมียนคิด (นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA)

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:00 “อัพเดทความรู้กับภารกิจสำรวจอวกาศในปัจจุบัน”

โดย  นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช  (วิศวกรอวกาศ GISTDA)

14:00-14:15 รับประทานอาหารว่าง

14:15-16:30 สนามทดลองที่ 4 : สนุกคิด  GISTDA ท้าทดลอง

โดย  นางสาวนลินี  รังแก้ว (นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA)

16:30-17:30 พักผ่อนตามอัธยาศัย

17:30-18:30 รับประทานอาหารเย็น

18:30-19:30 กิจกรรมนันทนาการ

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2559

07:00-07:30 ตื่นนอน  (ทำธุระส่วนตัว)

07:30-08:00 รับประทานอาหารเช้า

08:00-10:30 “แรงโน้มถ่วง”

โดย นางสาวทิพวรรณ  วันวิเวก (นักวิจัย GISTDA)   

10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 Parachute, you can do it!

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:30 สนามทดลองที่ 5 Parachute, you can do it!

14:30-15:00 รับประทานอาหารว่าง

15:00-18:00 สนามทดลองที่ 5  Parachute, you can do it!

18:00-18:30 รับประทานอาหารเย็น

18:30-19:30 กิจกรรมนันทนาการ

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2559

07:00-07:30 ตื่นนอน  (ทำธุระส่วนตัว)

07:30-08:00 รับประทานอาหารเช้า

08:00-11:30 การนำเสนอผลงานเด็กไทยก้าวไกลไปในอวกาศ

11:30-11:45 “เครือข่ายนักสำรวจ”เครือข่ายแห่งสายใยผู้หลงใหลในเทคโนโลยี

11:45-12:00 “สรุปผลการทดลอง : การปลูกพืชในภาวะไร้แรงโน้มถ่วง”

โดย  นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช  (วิศวกรอวกาศ GISTDA)

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:00 พิธีปิด

14:00-14:30 เก็บสัมภาระ

14:30-14:45 รับประทานอาหารว่าง

14:45 เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

 

ศึกษาดูงาน 2016 International Space Camp
วันที่ 18-22 กรกฎาคม 2559
ณ เมืองแดจ็อน สาธารณรัฐเกาหลี
จัดโดย
Korea Aerospace Research Institute (KARI)

สทอภ. ได้ดำเนินการรับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 2016 International Space Camp ซึ่งจัดโดย Korea Aerospace Research Institute (KARI) โดยคัดเลือกเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีศักยภาพและคุณสมบัติเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทย จากกิจกรรม GISTDA SPACE CAMP ครั้งที่ 1 ไปเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกับตัวแทนเยาวชนจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ และเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและวิศวกรรมศาสตร์ อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การเรียนรู้และการเข้าใจเนื้อหาทางด้านเทคโนโลยีอวกาศได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป นอกจากนี้เยาวชนยังจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันกับผู้แทนเยาวชนจากนานาประเทศที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

 

 

วันที่ 19 กรกฎาคม 2559
ค่ายเยาวชนอวกาศนานาชาติวันนี้เด็กไทยของเราเข้าร่วมกิจกรรมสร้างและปล่อยจรวด (building rocket parachute) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้เยาวชนประกอบโมเดลจรวดขนาดเล็ก และส่งขึ้นสู่ความสูงประมาณ 5-6 เมตร โดยการแข่งขันจะวัดกันตรงที่จรวดที่ปล่อยร่มชูชีพและกางออกมาได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด และร่วงสู่พื้นด้วยความเร็วคงที่ ผลปรากฏว่ามีผู้แทนเยาวชน 3 คน จาก 3 ประเทศที่ได้รับรางวัล คือ ประเทศจีน ประเทศรีลังกา และประเทศไทย โดยน้องข้าวมอลต์

 

 

วันที่ 20 กรกฎาคม 2559
KARI ได้จัดกิจกรรมเล่นและเรียนรู้ให้กับเยาวชนจากนานาชาติ รวมถึงเยาวชนจากประเทศทั้ง 6 คน โดยช่วงเช้าพาไปเรียนรู้วิถีชีวิตดั่งเดิมของคนเกาหลีในอดีต ณ Korea Folk Village ทำให้เยาวชนไทยทั้งหกคนเข้าใจและรู้จักคนเกาหลีมากขึ้นผ่านการบรรยายของไกด์ท้องถิ่นและการแสดงศิลปะวัฒธนธรรม และในช่วงบ่ายพาไปเล่นปลดปล่อยพลังงานที่ Gwacheon National Science Museum พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่รวมแรงบันดาลใจด้านอวกาศโดยเฉพาะ ด้านในน้องๆได้สัมผัสกับเทคโนโลยีอวกาศมากมาย อาทิเช่น ห้องปฎิบัติการควบคุมการปล่อยจรวดจำลอง International Space Station จำลอง จรวดนำส่ง ชุดนักบินอวกาศ กลไกไอพ่นจรวดนำส่ง รวมถึงได้เล่นกับเครื่องเล่น Gyroscope แบบสามที่นั่ง และอื่นๆอีกมากมาย ช่วงสุดท้ายของวันเยาวชนได้ชมภาพยนต์เรื่อง “Dream to fly” ที่บอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการการของอากาศยานที่ทำให้มนุษย์สามารถบินได้ซึ่งต้นกำเนิดนั้นเริ่มต้นมาจาก “ความฝัน”

วันที่ 21 กรกฎาคม 2559
วันสุดท้ายของค่าย 2016 International Space Camps ทาง KARI ได้จัดกิจกรรมให้เยาวชนทุกคนได้ระดมสมองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยีอวกาศ ได้แก่ วิธีกำจัดขยะอวกาศที่มีประสิทธิภาพและการสร้างที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในอวกาศ ซึ่งเยาวชนทุกคนล้วนขมักเขม้นระดมความคิดจากประสบการณ์และความรู้ที่เก็บเกี่ยวมาตลอดค่ายผสมผสานกับจิตนาการของเด็กๆ เอง ผลงานที่ได้นับว่าสร้างความตื่นตาตื่นใจแก่กลุ่มนักศึกษาวิศวกรรมอวกาศไม่น้อย และในตอนท้ายแต่ละกลุ่มต้องนำเสนอไอเดียหน้าห้องประชุม ซึ่งมีตัวแทนเยาวชนไทยจำนวน 2 คนคือ น้องใบปาล์มและน้องไอซี รับหน้าที่ตัวแทนกลุ่มในการนำเสนอ สิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งคือซึ่งทั้งมีจำนวนสามทีมที่มีเยาวชนไทยเข้าไปมีส่วนร่วม ได้รับการโหวตจากทุกคนในห้องให้เป็นทีมที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นไปได้ และนำเสนอได้ประทับใจ โดยกลุ่มของน้องใบปาล์มได้รับรางวัลชนะเลิศ และกลุ่มของน้องไอซีและน้องทะเลได้รับรางวัลที่สองร่วมกัน เป็นอันจบภารกิจของเยาวชนไทยในเวทีนานาชาติอย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้อย่างน่าประทับใจ โดยน้องๆเยาวชนไทยทั้ง 6 คนจะเดินทางด้วยสายการบินไทยถึงประเทศไทยวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 22:50 น.

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.