Thailand Aerospace Youth Forum 2018

สรุปผลการจัดงาน THAILAND AEROSPACE YOUTH FORUM ครั้งที่ 2

วันที่ 14 กันยายน 2561
ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ภายใต้แนวคิด “เปิดโลกอากาศยาน เปิดม่านแรงบันดาลใจ”
ผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 2,237 คน
(หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาจากทั่วประเทศ)

พิธีเปิด

กล่าวเปิดงาน – รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์  ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พิธีมอบสื่อการเรียนการสอนด้านภูมิสารสนเทศให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12,400 ชุดประกอบด้วย

  • ตำราประกอบการเรียนการสอนเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
  • หนังสือการ์ตูน ชุดคู่ซ่าท้าสำรวจ

    • คู่ซ่าท้าสำรวจ ตอน การรับรู้ระยะไกล
    • คู่ซ่าท้าสำรวจ ตอน หนึ่งวันกับภูมิสารสนเทศ
    • คู่ซ่าท้าสำรวจ ตอน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
    • คู่ซ่าท้าสำรวจ ตอน ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
  • ชุดมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย

    • DVD การ์ตูนคู่ซ่าท้าสำรวจ จำนวน 3 ตอน
    • Geo-informatics game
    • DVD สารคดีสั้นสำรวจประเทศไทย
  • สื่อการเรียนรู้ การ์ตูน 2D Animation คู่ซ่าท้าสำรวจ

    • ตอน 1 วันกับภูมิสารสนเทศ
    • ตอนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

20180914-tayf-0082.jpg

มอบรางวัล Space Brand Ambassador

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวศิรินทร์ จิตคล่องทรัพย์ จากโรงเรียนไทยคริสเตียน
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวอันนา แซ่เตีย จากโรงเรียนยโสธรพิทยาคม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายทัศณ์พล คุณวุฒิพร จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน กรุงเทพฯ
  • รางวัล Popular Vote ได้แก่ นางสาววิสสุตา เมืองชล จากโรงเรียนระยองวิทยาคม


กิจกรรม Inspired Talk

การพูดเพื่อจุดประกายความคิดให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย และสร้างแรงบัลดาลใจให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาดังกล่าว ผ่านการเรียนรู้และจิตนาการที่ไร้ขอบเขตของโลกปัจจุบัน ซึ่งนำเสนอโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในกลุ่มเยาวชน ประกอบด้วย

  • นายพร้อม เสือทิม ตัวแทนนักวิจัยเยาวชนที่ส่งการทดลองไปผลิตอาหารบนอวกาศ
  • นายหม่อง ทองดี แชมป์ร่อนเครื่องบินกระดาษและยุวทูตประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์
  • นายณัชธกฤษณ์ สาระไชย เยาวชนผู้บันทึกความทรงจำทางอากาศ ภารกิจ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง
  • นายกรทอง วิริยะเศวตกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง spaceth.co เว็บไซต์ด้านอวกาศโดยกลุ่มเยาวชนไทย ที่ได้รับรางวัล Best New Blog จากงาน Thailand Best Blog Awards 2017


กิจกรรม The master debate on stage

การโต้วาที ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาด้านอากาศยานและเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยจากหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิเช่น นักบิน วิศวกร นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ รวมถึงภาคเอกชน ที่จะมาบอกเล่าถึงประสบการณ์ ผลงานที่ภาคภูมิใจ รวมถึงบอกเล่าถึงแรงบันดาลใจของในแต่ละท่านในสายอาชีพตนเอง ในหัวข้อ “วุฒิวิศวะ จำเป็นต่องานด้าน AEROSPACE หรือไม่”
ประกอบด้วย

  • นางสาวนวรัตน์ เติมธนาสมบัติ
  • ดร.ภวิศ แพร่ภัทร
  • ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล
  • นายตฤณภัทร บูรณการ


กิจกรรม STEM DRONE PROJECT

การประกวดโครงงานศึกษาและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมด้วยโดรน โดยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วประเทศ เป็นการนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการเกี่ยวกับผลการศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขที่ประยุกต์ใช้โดรนเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ตามหลักของการคิดวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ภายใต้การให้คำปรึกษาจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
โครงงานที่ได้จากกิจกรรมนี้จะมีการถ่ายทอดสู่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นต้นแบบของการส่งเสริมการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเรียนการสอนแบบ STEM ที่เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านวิศวกรรมอากาศยาน และการคิดวิเคราะห์เชิงภูมิสารสนเทศ

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ร.ร.วัดประดู่ จ.ระยอง
ผลงาน Guardian of the beach

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ร.ร.ยโสธรพิทยาคม จ.ยโสธร
ผลงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยโดรนเพื่อคาดการณพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมขังและหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งเครื่อง Detect Drain

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ร.ร.หาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา
ผลงาน การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ
เพื่อการสำรวจแนวรอยเลื่อนในพื้นที่รอบแอ่งหาดใหญ่

รางวัล TOPVOTE ได้แก่ ร.ร.กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กทม.
ผลงาน การใช้โดรนบินสำรวจปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ ในแต่ละระดับความสูงเปรียบเทียบบริเวณในเมือง และนอกเมืองเพื่อสร้างแผนที่ 3 มิติ

tayf2018_page_4_image_0003.jpg


กิจกรรม YOUTH PRESENTER

การประกวดการนำเสนอแนวคิดทางด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศระดับเยาวชน เป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนแนวคิดและจิตนาการด้วยการนำเสนอตามหัวข้อ “นวัตกรรมใหม่จากอวกาศสู่ชีวิตประจำวัน”

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ภัททิยา พิบูลจินดา โรงเรียนกำเนิดวิทย์
    ผลงาน Satel Detect Pollution

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ชนัญญา พลิคามิน โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
    ผลงาน Smart kitchen

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นพวิชัย เหม่งเวหา โครงการบ้านเรียนรุ่งอรุณ
    ผลงาน Heate Shield สะท้อนความร้อน

  • รางวัล TOPVOTE ได้แก่ นภสร พรมแม้น สาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง)
    ผลงาน เทคโนโลยีอวกาศพาสุขขจัดภัยน้ำท่วม


กิจกรรม APRSAF-Thailand Youth Poster (ประกวดวาดภาพจากแรงบันดาลใจ)

กิจกรรมประกวดภาพวาดสร้างแรงบันดาลใจ ระดับเยาวชน อายุ 8-11 ปีจากทั่วประเทศ ภายใต้หัวข้อ My home in space เพื่อเป็นเวทีสำหรับการคัดเลือกภาพวาดตัวแทนประเทศไทยส่งเข้าสู่การประกวดภาพวาดระดับนานาชาติ หรือ APRSAF Poster contest ระหว่างการประชุม APRSAF-25 ระหว่างวันที่ 6-9 พฤศจิกายน 2561 ณ ประเทศสิงคโปร์

ตัวแทนประเทศไทยสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้แก่

  • ด.ญ.ภวิษย์พร ปิยะศิริศิลป์
  • ด.ช.กฤศณัฏฐ์ เชาว์วรวิญญ
  • ด.ช.ธนบดี พลามิตร


UAV Startup 2018 รอบ Final Pitching

การเฟ้นหาสุดยอดไอเดียของกลุ่มธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมจากผู้ประกอบการขนาดเล็กเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ด้านเศรษฐกิจ

ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออก
ผู้ชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ อากาศยานไร้คนขับหว่านปุ๋ยชนิดเม็ดแบบสั่งตัดสำหรับการปลูกข้าว
ผู้ชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ ระบบตรวจการอัจฉริยะบนมือถือ

ด้านสังคม

ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โครงการอากาศยานไร้นักบินสำหรับผลิตกุ้งในระบบปิดโดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ
ผู้ชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมต้นแบบของระบบรักษาความปลอดภัยด้วยอากาศยานไร้นักบิน
ผู้ชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ การประยุกต์ใช้ตัวรับ LIDAR ต้นทุนต่ำบนอากาศยานไร้คนขับ สำหรับการสำรวจตรวจสอบและประเมินทาง

tayf2018_page_6_image_0004.jpg


กิจกรรม Workshop

Space Maker Workshop การทดลองออกแบบและสร้างจรวดที่สามารถเคลื่อนที่จากฐานปล่อยไปยังเป้าหมายที่กำหนดไว้ จัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

ก่อร่างสร้างโดรน การสร้างโดรนจากโฟม ที่จะนำไปสู่แข่งขันการสร้างอากาศยานไร้คนขับแบบปีกตรึง (Fixed-Wing) จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Aircraft Design Workshop การออกแบบและทำให้แผ่นวัสดุที่เตรียมให้ ให้สามารถบินได้ เพื่อเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นในการออกแบบอากาศยาน จัดโดยภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Drone Coding Workshop การประยุกต์ใช้โดรนเพื่อส่งเสริมการศึกษาในรูปแบบ STEM ในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ผ่านด้วยการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้และพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนากระบวนความคิดของเยาวชนไทย จัดโดย Drone Academy Thailand

Drone Mapping Workshop การประยุกต์ใช้โดรนเพื่อส่งเสริมการศึกษาในรูปแบบ STEM ในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ผ่านการสร้างแผนที่จากโดรน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้และพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนากระบวนความคิดของเยาวชนไทย จัดโดย ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก และ บริษัท Dev Drone Mapper

Drone Traffic Workshop การเยี่ยมชมศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาเชิงกลยุทธและปฏิบัติการด้านการบินและอวกาศ หรือ Strategic and Operation Aerospace Research: SOAR โดยมีภารกิจหลักในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในประเทศไทย ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม (innovation) และความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี (state-of-the-art) เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้จริงทั้งในภาคนโยบาย, ภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชนแบบครบวงจร

การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการความเป็นเลิศและนวัตกรรมการบินและอวกาศ หรือ GISTDA’s Aerospace Laboratory of eXellence and Innovation: GALAXI ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการเชื่อมโยงให้เกิดอุตสาหกรรมการบินและอวกาศสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะด้านการทดสอบมาตรฐาน โดยห้องปฏิบัติการฯ ได้ผ่านการตรวจรับรองแล้วเสร็จ ซึ่งนับเป็นหน่วยงานของรัฐแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานด้าน Aerospace AS9100D และอยู่ระหว่างการขอรับมาตรฐาน ISO/IEC17025


การจัดนิทรรศการ

  • นิทรรศการผลงานการศึกษาด้วยโดรนระดับเยาวชน
  • นิทรรศการหน่วยงานต่างๆ

tayf2018_page_8_image_0005.jpg


หน่วยงานความร่วมมือ

  • องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
  • ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ
  • สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง
  • บริษัท Drone Academy Thailand
  • บริษัท Dev Drone Mapper
  • บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

*** จนกว่าเราจะพบกันอีก ***

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.