
จีนเริ่มใช้โดรนในการส่งอาหาร
คุณไม่จำเป็นต้องรอโดรนส่งอาหาร ถ้าคุณอยู่ในย่านในเมืองของประเทศจีน บริการส่งอาหารออนไลน์ของยักษ์ใหญ่ Alibaba ชื่อว่า ‘Ele.me’ ได้รับอนุญาตให้ใช้โดรนส่งอาหารในย่านอุตสาหกรรม Jinshan เมืองเซียงไฮ บริการนี้ไม่ได้นำอาหารมาส่งถึงหน้าประตูบ้าน แต่ช่วยประหยัดเวลา โดยส่งทั้งหมด 17 เส้นทางที่มีจุดนัดพบวางสินค้า 2 จุด อาหารจะมาส่งภายใน 20 นาที ซึ่งถ้าต้องฝ่ารถติดในเวลาเพียงเท่านี้นั้นเป็นไปไม่ได้เลย ถึงแม้จะใช้ระบบออโตเมชั่น Ele.me เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับคนขับ ใช้มนุษย์เพียงแค่ประมาณ 15{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ของเส้นทาง เป็นการลดต้นทุนในการดำเนินกิจการเป็นอย่างมาก การขนส่งปัจจุบันทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 5 เท่า วิธีที่ว่านี้ใช้ไม่ได้ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหลัก คุณอาจคิดว่า Ele.me กำลังใช้ทางลัดเพื่อใช้โดรนให้บริการ ซึ่งในขณะเดียวกันบริษัทในจีนก็มีข้อได้เปรียบในการใช้โดรนบริการ เพราะสหรัฐฯเพิ่งเริ่มพิจารณากฎซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้โดรนในการขนส่งได้ โดยที่แคมเปญ Made in China 2025 ให้ทุนการลงทุนและเงินกู้เพื่อช่วยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเช่นนี้ อาจจะเป็นนำหน้าที่ไม่นานนัก แต่ก็ทำให้ใครๆอิจฉาชาวเซี่ยงไฮ้ที่สามารถรอรับอาหารส่งได้ทางอากาศ ที่มาบทความ : Jon Fingas วันที่สืบค้น : 30 พฤษภาคม 2561 สืบค้นจาก : http://blogs.discovermagazine.com/drone360/2017/11/07/google-street-view-with-drones/#.W2CMPtUzZhE ...

12 ประโยชน์ของโดรน
1.ช่วยชีวิต โดรนช่วยสำรวจความเสียหาย ระบุตำแหน่งผู้บาดเจ็บหรือผู้สูญหาย และ ประเมินความเสี่ยงในสถานการณ์ต่างๆ โดยทีมกู้ภัยและแพทย์ฉุกเฉินไม่ต้องเสี่ยงชีวิตในการช่วยเหลือในภัยพิบัติทั้งแบบที่เกิดจากมนุษย์และธรรมชาติ 2.ศึกษาพายุเฮอริเคน โดรนสามารถเข้าไปในใจกลางพายุโดยไม่ต้องเสี่ยงชีวิตมนุษย์เพื่อเก็บข้อมูลให้นักวิจัยวิเคราะห์และพัฒนาการพยากรณภัยธรรมชาติ 3.ตรวจสภาพสิ่งก่อสร้าง การตรวจสภาพสิ่งก่อสร้างที่มีความยาก แพง และเสี่ยงภัย หรือ พื้นที่ที่เข้าถึงยากไม่ว่าจะเป็นใต้สะพาน หรือบนยอดตึกสูง ไม่จำเป็นต้องใช้นั่งร้าน เครน หรือ สายรัดวุ่นวายต่างอีกต่อไป เพียงแค่ปล่อยระบบโดรนสำรวจก็สามารถทำการตรวจสภาพต่างๆในระยะไกลได้อย่างง่ายดาย 4.ลดขั้นตอนการจัดการทางการเกษตร การใช้ระบบโดรนช่วยในการจัดการการเพาะปลูกเพื่อ สังเกต ตรวจวัด และตอบสนองความต้องการของพืชแต่ละชนิด ทำให้สามารถจัดการบริเวณที่ต้องการการดูแลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทำให้ผลผลิตดีขึ้น อนุรักษ์ทรัพยากร และป้องกันการสิ้นเปลืองต่างๆ 5.ช่วยบังคับใช้กฎหมาย โดรนช่วยตามหาเด็กที่สูญหาย ช่วยในการตรวจตรา ติดตาม สืบสวนอุบัติเหตุและ เฝ้าระวังในกลุ่มคนจำนวนมาก 6.การถ่ายภาพทางอากาศ โดรนช่วยถ่ายทอดภาพในมุมที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ โดยโดรนสามารถถ่ายทอดภาพทางอากาศสำหรับข่าว ถ่ายทำภาพยนตร์ หรือภาพที่ให้ประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ 7.ส่งสินค้า โดรนช่วยส่งพัสดุ อาหารหรือสินค้าต่างๆ ให้ผู้บริโภคในระยะไกล 8.ปกป้องธรรมชาติ โดรนสามารถช่วยติดตามการคุกคามสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ กลุ่มอาชญากร และนักค้าสัตว์ป่า และยังสามารถค้นหาและติดตามการเคลื่อนไหวของสัตว์ใกล้สูญพันธ์อีกด้วย 9.สร้างแผนที่ 3D สร้างสามารถใช้สำรวจภูมิประเทศต่างๆ นำภาพมาประมวลรวมและสร้างแผนที่สามมิติขึ้นมา 10.นำเที่ยว โดรนสามารถช่วยโฆษณาทางธุรกิจได้ เช่นการปล่อยคูปองในกลุ่มฝูงชน หรือบินขึ้นเหนือฝูงชนเพื่อแสดงป้ายโฆษณา ซึ่งเป็นการโฆษณาที่ประหยัดต้นทุนมากที่สุดเลยทีเดียว 11.โฆษณา โดรนสามารถช่วยโฆษณาทางธุรกิจได้ เช่นการปล่อยคูปองในกลุ่มฝูงชน หรือบินขึ้นเหนือฝูงชนเพื่อแสดงป้ายโฆษณา ซึ่งเป็นการโฆษณาที่ประหยัดต้นทุนมากที่สุดเลยทีเดียว 12.จัดการคลังสินค้า โดรนช่วยให้สามารถมองเห็นบริเวณคลังสินค้าในบริเวณกว้างโดยไม่ต้องออกไปจากออฟฟิสเลย อย่างเช่นดีลเลอร์ขายรถสามารถใช้โดรนในการช่วยจัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่มาบทความ : futurism สืบค้นจาก : https://futurism.com/images/benefitsofdrones/ ...

นักวิทยาศาสตร์ต้องการทำ ‘กูเกิล สตรีตวิว’ ขึ้นใหม่โดยใช้โดรน
กูเกิล สตรีตวิว เป็นเทคโนโลยีที่ให้มุมมองภาพแบบพาโนรามาจากตำแหน่งต่าง ๆ ตามถนนหลายแห่งบนโลก แม้กระทั่งภาพฝูงแกะในหมู่เกาะแฟโร จากกล้องภาคพื้นดิน และในขณะที่ดาวเทียมแสดงภาพสเกลใหญ่ของโลก แล้วพื้นที่ว่างระหว่างนั้นล่ะ เกรกอรี่ ครูซิงเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำงานให้กับบริษัทโดรนอย่าง "3D Robotics and Parrot" ได้ก่อตั้งบริษัทให้คำปรึกษาอากาศยานไร้คนขับชื่อ ‘Drone Scholars’ และกำลังทำโครงการโดรนนักวิทยาศาสตร์ประชาชนเรียกว่า ‘Fly4Fall’ เป้าหมายของโครงการคือการสำรวจใบไม้ร่วงทั่วโลกและทดสอบการกระจายข้อมูลโดรน เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้นคือการสร้าง กูเกิล สตรีตวิว ด้วยภาพจากโดรน เหนือกว่าเพียงแค่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีจากโดรนช่วยให้นักวิจัยค้นพบ “เมืองที่หายสาบสูญ” และ “เฝ้าดูหมีโพล่าที่อาณาจักรขั้วโลกอาร์ติก” ครูซิงเกอร์ยังกล่าวอีกว่า เราสามารถใช้ประโยชน์จากโดรนในการศึกษาค้นคว้าทางชีวภูมิศาสตร์ หรือการกระจายพันธ์ แต่เพราะอะไรถึงต้องทำให้เจ้าของโดรนทั่วไปหันมาทำสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สามารถทำได้จากอุปกรณ์ที่มีอยู่ นั่นเป็นเพราะสิ่งนี้จะช่วยประหยัดเงินและเวลา แทนที่นักวิจัยต้องขับรถทางไกลไปทุกฟาร์มในมิทเวสท์เพื่อถ่ายภาพ ครูซิงเกอร์ กล่าว นักวิทยาศาสตร์ประชาชนสามารถทำได้โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน Fly4Fall ไม่ใช่โครงการแรกของนักวิทยาศาสตร์ประชาชนในการรวบรวมข้อมูลโดรน ในปี 2016 ศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติแคลิฟอร์เนียได้ให้ประชาชนที่มีโดรนมาร่วมกันเก็บภาพน้ำท่วมในบริเวณฝั่งทะเลของรัฐ แต่การรวบรวมข้อมูลครั้งนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ต้องการเพราะไม่มีใครเก็บภาพสิ่งที่นักวิจัยต้องการ ครูซิงเกอร์ เข้าใจถึงความลำบากในการเก็บข้อมูลที่สามารถนำมาใช้จริงได้จากนักวิทยาศาสตร์ประชาชน และเขามีวิธีแก้ปัญหาเพียงไม่กี่วิธี วิธีหนึ่งคือการทำแอปพลิเคชั่นเพื่อให้โดรนบินและเก็บภาพที่เหมือนกัน ซึ่งเป็นวิธีที่เพิ่มความสนุกสนานให้กับผู้ร่วมโครงการด้วย คุณอาจจะบอกว่า "บริเวณที่ต้องการให้เก็บภาพคือบริเวณนี้ ช่วยไปเก็บภาพให้หน่อย" เขากล่าว "หรือคุณอาจจะทำให้สนุกขึ้นมาอีกและให้รางวัลตอบแทนซึ่งเป็นอีกวิธีที่ทำให้คนสนใจมาช่วยทำงานนี้ไม่ใช้เพียงแค่เป็นอาสาสมัครเพื่อการกุศล" วิธีนี้สามารถนำไปใช้นอกเหนือจากในการทำวิจัยวิทยาศาสตร์เช่นกัน ที่จริงแล้ว ครูซิงเกอร์ ใช้โดรนของเขาบินเหนือบริเวณไฟป่า ซึ่งทำลายพื้นที่ปลูกไวน์ในแคลิฟอเนียในเดือนตุลาคม เพื่อเก็บภาพสำหรับกรมดับเพลิงท้องถิ่น เขาอัพโหลดภาพพาโนรามาผ่านแอปพลิเคชั่น Hangar และทำการประมวลผลโดย Pix4d (ตัวอย่างด้านล่าง) แน่นอนว่าการจะทำสิ่งเหล่านี้ในวงกว้างนั้นต้องทำการทดสอบระบบรองรับก่อน ซึ่งทำให้เกิดโครงการ Fly4Fall ขึ้นมา ในตอนนี้ ครูซิงเกอร์ ได้รับการส่งภาพมากกว่า 12 ชุดข้อมูล และเขาคาดหวังว่าจะสามารถรวบรวมเพิ่มอีก ตอนนี้จำนวนอาจจะดูไม่มาก แต่สำหรับเขา "นี่คือความสำเร็จที่เป็นเครื่องพิสูจน์แนวความคิดนี้ ผมคิดว่าปีหน้าเราจะสร้างเครือข่ายให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมด้วย" ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ถ้าใบไม้บนต้นที่อยู่ใกล้คุณร่วงลงมา คุณสามารถเข้าร่วมกับโครงการ Fly4Fall ได้ทันที โดยคุณเพียงแค่มีโดรน DJI (ดูรายชื่อรุ่นโดรนที่เข้าร่วมได้ที่นี่) และ ไอโฟนหรือไอแพด ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Hangar ถ่ายภาพใบไม้ร่วง 360 องศาและส่งมาที่อีเมล 360@dronescholars.com ด้านล่างแสดงตัวอย่างที่ส่งมาร่วมกับ Fly4Fall จากสก๊อตแลนด์ ...

กองทัพเรือออกแบบโดรนที่สามารถทำงานได้ทั้ง ทางอากาศและทางน้ำ
โดรนเป็ดตัวต้นแบบรุ่นล่าสุดของกองทัพเรือ(เครดิต:ศูนย์ปฏิบัติการและวิจัยของนาวิกโยธินสหรัฐ) กองทัพเรือแห่งสหรัฐอเมริกาให้ความสนใจเป็นอย่างมากกับการพัฒนาหุ่นยนต์ใต้น้ำและหุ่นยนต์บินได้ แล้วจะดีกว่าหรือไม่หากมีการคิดค้นโดรนที่สามารถทำได้ทั้งสองอย่าง และนั่นคือสิ่งที่โครงการฟลิมเมอร์ (Flimmer) จากศูนย์ปฏิบัติการและวิจัยของนาวิกโยธินมุ่งมั่นที่จะทำ ต้นแบบของฟลิมเมอร์คือหุ่นรูปทรงกระเป๋าเดินทางที่สามารถบินและทำงานใต้น้ำได้ ประสบความสำเร็จในการออกตัวจากเครื่องบินที่ความสูง 1000 ฟุตลงบนผิวน้ำ จากนั้นเคลื่อนที่ใต้น้ำด้วยความเร็ว 11 ไมล์ต่อชั่วโมง จากผลข้างต้นหุ่นยนต์ชนิดนี้อาจถูกใช้เพื่อไล่ล่าเรือดำน้ำฝ่ายศัตรูจากทั้งทางอากาศและทางน้ำ ถึงแม้ว่าจะต้องปรับแต่งรูปลักษณ์ของหุ่นชนิดนี้อีกมากก็ตาม อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับทีมดีไซน์เนอร์ของโครงการฟลิมเมอร์คือความหนาแน่นของน้ำที่มีมากกว่าความหนาแน่นของอากาศถึง 1000 เท่า ในขณะที่น้ำหนักมากๆจะเป็นปัญหาต่อการบินบนอากาศ แต่เมื่ออยู่ใต้น้ำหุ่นก็ต้องการความคงทน หนาแน่น และความหนักเพื่อ ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆพังเมื่อเจอแรงดันน้ำ ฟลิมเมอร์จึงต้องมีน้ำหนักเบาเพียงพอที่จะทำการบินบนอากาศได้และแข็งแรงเพียงพอสำหรับการรับมือกับแรงดันน้ำ หุ่นฟลิมเมอร์รุ่นล่าสุดคือ ฟลายอิ้งวานด้า(Flying WANDA) ซึ่งได้ “แรงบันดาลใจมาจากปลาในตระกูลนกขุนทองที่มีความปราดเปรียวว่องไวและมีครีบที่งอได้” โดยที่ปลายปีกของฟลายอิ้งวานด้าจะมีลักษณะคล้ายครีบปลาที่สามารถพับขึ้นได้เพื่อทำให้การขึ้นบินของหุ่นมีเสถียรภาพในการทรงตัว และยังมีใบพัดที่ด้านหลังเพื่อช่วยสร้างแรงขับให้กับหุ่น สำหรับการทำงานในน้ำจะใช้ครีบ 1 คู่ที่บริเวณใกล้ๆกับส่วนหน้าและครีบที่ส่วนหางของตัวหุ่นเพื่อปรับทิศทางของการเคลื่อนที่ใต้น้ำ หุ่นวานด้าสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 57 ไมล์ต่อชั่วโมงในอากาศ ส่วนในน้ำจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 11 ไมล์ต่อชั่วโมง หุ่นฟลิมเมอร์บินบนผิวน้ำ (เครดิต:ศูนย์ปฏิบัติการและวิจัยของนาวิกโยธินสหรัฐ) กองทัพเรือของสหรัฐวางแผนที่จะใช้โดรนรุ่นนี้ที่มีรูปร่างเหมือนเป็ดในการบินลาดตระเวนเพื่อหาข่าวในสถานที่ต่างๆ และใช้ไล่ตามเรือดำน้ำของฝ่ายศัตรู ทีมวิศวกรของกองทัพยังคงทำงานหนักในการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาหุ่นฟลิมเมอร์ให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นทั้งทางอากาศและทางน้ำ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอนว่าหุ่นฟลิมเมอร์จะสามารถนำไปใช้งานได้จริงในน่านน้ำของฝั่งศัตรูได้เมื่อไร ที่มาบทความ : Carl Engelking บันทึก : เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 สืบค้นจาก : https://dronelife.com/2018/05/22/huge-construction-project-surveyed-by-drones-without-human-pilot-airobotics ...