
การสำรวจอวกาศจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT หรือไม่ ?
ห้วงอวกาศมักเป็นแหล่งของความพิศวงและเกินกว่าจินตนาการ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของยุคอวกาศเมื่อ 60 ปีก่อน มนุษย์เราพยายามอย่างหนักที่จะได้ออกไปสัมผัสห้วงอวกาศ ถึงแม้เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงต่อหนึ่งวันก็ตาม เทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่มนุษย์ได้ลิ้มรสประสบการณ์ในจักรวาล ยานอวกาศ Apollo 11 ยานลำแรกที่บรรทุกมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้สำเร็จ ที่ซึ่งมีประสิทธิภาพการประมวลผลน้อยกว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน และเมื่อไหร่การสำรวจอวกาศจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT (ระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง) องค์การ NASA และ SpaceX ยังคงต้องมุ่งมั่นกันต่อไปและได้ตั้งเป้าหมายต่อไปคือดาวอังคาร เอื้อมให้ถึงดวงดาว มนุษย์เราได้ส่งยานไร้คนขับออกไปสู่จักรวาลที่ไกลมาก ยังเกินว่าจินตนาการจะไปถึง NASA ได้ปล่อยยานอวกาศคู่แฝด Voyager 1 และ Voyager 2 ไปนอกโลกกว่า 40 ปี และออกไปพื้นที่รอบนอกระบบสุริยะ แต่น่าเสียดายขีดจำกัดของเทคโนโลยีและร่างกายมนุษย์ทำให้เราไม่สามารถไปไกลกว่าดวงจันทร์ ปัจจุบัน เป้าหมายของเราคือส่งมนุษย์ไปยังดาวเคราะห์ดวงที่ 4 ของระบบสุริยะ ซึ่งก็คือ ดาวอังคาร (Mars หรือ the Red Planet) องค์การ NASA เชื่อมั่นว่าเราสามารถส่งมนุษย์ไปยังดางอังคารได้ภายในกลางปี พ.ศ. 2573 ในขณะที่ Elon Musk ผู้ที่เป็น CEO ของ SpaceX ตั้งเป้าหมายไว้ในปี พ.ศ. 2583 สำหรับใครหลายคน หากนึกถึงการเดินทางออกไปสู่จักรวาลเป็นความฝันที่เกินจะเอื้อมถึงได้ แต่นั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าคุณไม่สามารถนำห้วงอวกาศมาสู่บ้านคุณได้แทน การจำลองอวกาศไว้ที่บ้าน หากคุณมีอุปกรณ์ที่เชื่อมกับ IoT อยู่ที่บ้านแล้ว คุณสามารถเข้าข้อมูลอัพเดตดาวอังคารใน ever-growing database ที่แสดงให้เห็นถึงหน้าตาพื้นผิวของดาวอังคาร อีกทั้งแอพ NASA Mars สร้างขึ้นโดยองค์การ Alexa แอพที่จะคอยตอบคำถามเกี่ยวกับดาวอังคาร เทคโนโลยี IoT เติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง ระบบนี้ยังมีปัญหาในช่วงเริ่มแรกแต่จะทำให้การเดินทางและการสำรวจอวกาศได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน การสำรวจอวกาศและตัวคุณ ในขณะที่ความสามารถในการประมวลผลของเครื่องคิดเลขพกพาอาจเพียงพอที่จะนำมนุษย์ไปสู่ดวงจันทร์และกลับมายังโลกได้ แต่จะต้องใช้ความสามารถที่มากกว่านั้นในการเดินทางไปยังดาวอังคารหรือไกลกว่านั้น นั้นจึงเป็นจุดที่ทำให้เทคโนโลยี IoT เข้ามามีอิทธิพลในการดำรงชีวิต ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาสนับสนุนการสำรวจอวกาศนั้น ดำเนินการโดยบริษัทโทรคมนาคม Sigfox ริเริ่มโครงการ Mustang จะเชื่อมต่อกับสัญญานดาวเทียมในวงโคจรและอุปกรณ์บนดิน (บนโลก) เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อ IoT เข้ากับสถานที่ที่คล้ายคลึงกับสถานีอวกาศนานาชาติและยานอากาศระหว่างดวงดาว ...

ทำภาพ 3D ไม่ง้อ Arcscene
หากใครเคยต้องการทำภาพ 3D บริเวณใด บริเวณหนึ่ง คงต้องปวดหัวแน่นอน กับการต้องเตรียม ทั้งภาพ ดาวเทียม Dem software ซึ่งส่วนมากที่เราใช้กัน คือ Software Arcscene ของค่าย ESRI แต่ทำออกมาแล้วก็ไม่สวยงาม วันนี้เลยใช้ความสามารถ ของ Google Earth ในการทำภาพ 3D โดย software ที่ต้องใช้คือ Maptiler Download ที่ http://www.maptiler.org/ และ Google Earth วิธีการคือ นำภาพ ที่ต้องการทำ 3D มาทำ tile image เพื่อนำไปแสดงผลบน google earth เปิด software Maptiler เลือก Google Earth (KML Super overlay) เสร็จแล้ว Continue เลือกภาพ Add Continue เลือกระบบพิกัด Continue เลือกระดับการสร้างPyramid Continue เลือกที่เก็บ file Continue ไปเรื่อยๆ จนถึง Render เมื่อ render เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เปิด folder ที่เก็บ file จะเจอ file doc.kml Double-click เพื่อเปิดด้วย google earth capture หน้าจอเพื่อนำไปใช้งานต่อไป ข้อดีคือ มีภาพพื้นที่บริเวณอื่นๆ ติดอยู่ในภาพด้วย ไม่เหมือน Arcscene ที่มีภาพเฉพาะบริเวณที่ทำ 3D เท่านั้น ที่มา : geo2ass.wordpress.com ...

อากาศยานไร้คนขับที่มีความแม่นยำสูง ระบบ GNSS: คือเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจในขณะนี้
เป็นช่วงเวลาที่ยุ่งมากในสองสามเดือนที่ผ่านมานี้ ในเรื่องเกี่ยวกับ UAVs โครงการ GNSS ความแม่นยำสูง และ GIS ประกอบกับมีการประชุมเชิงปฏิบัติการต่างๆเข้ามาแทรกในช่วงนั้นด้วย เทคโนโลยี GNSS และ UAV ความแม่นยำสูงกำลังเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก UAVs: ที่ผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer) และการทำแผนที่บนทางลาดชัน เห็นได้ชัดว่า UAVs สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป (Consumer) ได้รับความสนใจอย่างมาก ในกลุ่มตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ห้าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) เริ่มให้ UAVs ลงทะเบียนในปลายปี พ.ศ. 2558 ในปัจจุบัน UAVs กว่าเจ็ดแสนลำได้ทำลงทะเบียนกับ FAA แล้ว ซึ่งมีจำนวนมากกว่าอากาศยานที่มีคนขับถึงสามแสนสองหมื่นลำ ในความเป็นจริง จำนวนที่อากาศยานไร้คนขับ UAVs ลงทะเบียนมีมากกว่าจำนวนการจดทะเบียนของอากาศยานที่มีคนขับมานานแล้ว (มากกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา) FAA รายงานว่า ณ จุดใดจุดหนึ่งในระหว่างวัน มีอากาศยานที่มีคนขับบินอยู่เหนือน่านฟ้าอเมริกาถึงเจ็ดพันลำ นั่นชวนให้เราสงสัยว่า มีอากาศยานไร้คนขับกี่ลำที่กำลังบินอยู่เหนือศีรษะเราตรงจุดที่เราอยู่ในเวลานั้น? ไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ อาศัยความช่วยเหลือจากผู้บริโภค หลักๆของ UAVs ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาเป็นการใช้ในโลกการค้าเสียมากกว่า ตั้งแต่เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559 FAA อนุญาตให้ใครก็ตามสามารถบิน UAVs เพื่อธุรกิจได้ ($150 และตอบ 42 ข้อได้ถูกต้องจาก 60 คำถาม) บริษัทจำนวนมากมายกำลังซื้อ UAVs ที่ “ผู้บริโภคผลิตเอง” และใช้ประโยชน์มากมายจากพวกมัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้บริโภคผลิตขึ้นเองเป็นอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ตลาดผู้บริโภคและยังมีคุณภาพมากพอที่จะนำมาใช้ในธุรกิจ ตลาดอากาศยานไร้คนขับคือตัวอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ DJI เป็นบริษัทผู้ผลิตอากาศยานไร้คนขับที่ใหญ่ที่สุดในโลก รายได้อยู่กว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เป้าหมายอยู่ที่ตลาดผู้บริโภคเป็นหลักและขายอากาศยานไร้คนขับประสิทธิภาพระดับล่าง กลาง และ ระดับสูง ให้กับธุรกิจต่างๆ เป็นจำนวนมาก ลองคิดดูซิ คุณสามารถซื้อ DJI Phantom 4 Pro ได้ที่ร้าน Apple Store และ ในวันต่อมาสามารถสร้างแผนที่ชั้นความสูง (Elevation contours) สำหรับไซต์งานได้ ต่อมาคือตัวอย่างของโรงงานกระดาษที่ผมได้บินมาเมื่อสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมบินน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ...

Sentinel-2 – มากกว่าที่ตาเห็น
ยินดีต้อนรับสู่ ArcGIS Living Atlas of the World ทุก ๆ วันเราใช้ภาพในการชี้นำ และการสังเกตการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัวเรา ในหลาย ๆ ครั้ง เรายึดเอาสิ่งที่เห็นเป็นหลักว่า สิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นอย่างที่เราคิดว่ามันควรเป็น บางครั้งเราวิเคราะห์และตรวจสอบสิ่งที่อาจจะไม่คุ้นชิน หรือ ในบางครั้งการเปลี่ยนมุมมองใหม่ อาจจะทำให้เราเข้าใจอะไรเพิ่มเติมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อเราพยายามทำความเข้าใจโลกของเรามากขึ้นโดยมองภาพและวิเคราะห์ในมุมที่กว้างขึ้น อีเอสอาร์ไอกำลังปล่อยภาพจากดาวเทียม Sentinel-2 ให้ผู้ใช้บริการ อีเอสอาร์ไอ ผู้ใช้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการทางการเกษตร การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงหน้าดิน การสำรวจแหล่งพลังงาน การวางแผนรับมือและบรรเทาทุกข์จากภัยธรรมชาติ รวมไปถึงผู้รับผิดชอบในด้านอื่นๆ ต่างก็มีเครื่องมือใหม่ที่ทรงพลังในการทำงาน ในขณะนี้ดาวเทียม Sentinel-2 กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ArcGIS Living Atlas of the World ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลสำคัญทางภูมิศาสตร์ทั่วโลก บริการทดลองใช้จาก Sentinel-2 ของอีเอสอาร์ไอ สนับสนุนโดย ArcGIS Image Server ซึ่งจะมีการอัพเดตภาพ Sentinel-2 รายวัน มีการเก็บย้อนหลัง 14 เดือน และ มีข้อมูลทั้งหมด 13 ชุด การวิเคราะห์ภาพสามารถใช้เพื่อสร้างดัชนีที่แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น คุณภาพผลิตผลทางการเกษตรหรือความชื้นในดินตลอดจนการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณ ตัวอย่างที่น่าสนใจและกรณีการนำไปใช้ Sentinel-2 แสดงภาพคุณภาพแปลงเกษตรและปริมาณน้ำเพื่อตรวจสอบและบริหารจัดการเกษตรกรรมบนโลก ภาพตัวอย่างแสดง แปลงการเกษตรต่างๆจากชุดข้อมูลที่ได้จาก Sentinel-2 : ภาพสีธรรมชาติ (ซ้าย) แสดงคลื่นแสงที่ดวงตาของเราสามารถรับรู้ได้โดยธรรมชาติ, คลื่นช่วงสั้นอินฟาเรดของพืชพรรณ (กลาง) แสดงพืชพรรณที่แข็งแรงที่สุดเป็นสีเขียวสว่างและ ดัชนีความชื้นของน้ำ (ขวา ) แสดงระดับความชื้นสูงที่สุดเป็นสีฟ้า สัญญานความร้อนใช้ในการระบุการเผาไหม้ของน้ำมันและบ่อก๊าซธรรมชาติและจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาพตัวอย่างแสดงบ่อน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติในตะวันออกกลาง :ภาพสีธรรมชาติ (ซ้าย) แสดงคลื่นแสงที่ดวงตาของเราสามารถรับรู้ได้โดยธรรมชาติและคลื่นช่วงสั้นอินฟาเรด (ขวา) แสดงภาพที่ทำให้คุณสามารถมองเห็นการเผาไหม้ของบ่อน้ำมันได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในภาพสีธรรมชาติ สัญญานความร้อน และความสามารถในการมองเห็นผ่านควัน สามารถใช้ในการจัดการไฟป่า ภาพตัวอย่างแสดงถึงไฟป่าที่รัฐโอคลาโฮมาจากชุดข้อมูลของ Sentinel-2 : ภาพสีธรรมชาติ (ซ้าย) แสดงคลื่นแสงที่ดวงตาของเราสามารถรับรู้ได้โดยธรรมชาติ คลื่นช่วงสั้นอินฟาเรดและคลื่นใกล้อินฟาเรดแสดงจุดที่เผาไหม้ของไฟป่าและแสดงบริเวณที่ไฟเผาไปแล้ว และบริเวณที่กว้างกว่าของคลื่นสั้นอินฟาเรด (ขวา) ...