World from Space

พายุเฮอริเคนเออร์มา (ตอนที่ 2)

กล้องถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความละเอียดปานกลาง (MODIS) ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม Terra ขององค์การนาซาได้บันทึกภาพที่สาม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 พายุก็ได้พัดถล่มแองกวิลลาและพร้อมที่จะถล่มหมู่เกาะเวอร์จิน ภาพเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ไม่เพียงแต่กระแสลมของพายุเฮอริเคนเออร์มาที่มีกำลังแรงเท่านั้น ความแรงกระแสลมยังแผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางอย่างไม่น่าเชื่อ กระแสลมระดับพายุเฮอริเคนมีความกว้างถึง 50 ไมล์ (85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) จากศูนย์กลางพายุ กระแสลมระดับเขตร้อนมีความกว้างถึง 185 ไมล์ หรือ (295 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) นักอุตุนิยมวิทยาได้บันทึกไว้ว่าพายุเฮอริเคนมีความกดอากาศที่ศูนย์กลางอยู่ที่ (914 มิลลิบาร์) ต่ำที่สุดเท่าที่วัดได้สำหรับพายุที่อยู่นอกอ่าวแมกซิโกและทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตก วันที่ 6 กันยายน พายุเฮอริเคนเออร์มา นักอุตุนิยมวิทยาได้ใช้ถ้อยคำว่าพลังงานสะสมของพายุไซโคลน ซึ่งบรรยายว่าพายุเฮอริเคนเออร์มานั้นมีอำนาจการทำลายล้างมากกว่าพายุที่เกิดขึ้นไปแล้วในฤดูพายุ 8 ลูกแรกในมหาสมุทรแอตแลนติกรวมกันของปี 2560 ตามที่นักอุตุนิยมวิทยาชื่อนาย Philip Klotzbach แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดกล่าวไว้ พายุเฮอริเคนเออร์มาได้ทำลายสถิติในการสะสมพลังงานเป็นพายุไซโคลนมากที่สุดในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เฮอริเคนแห่งชาติอยากให้เฮอริเคนลูกนี้เปลี่ยนทิศไปทางเหนือถึงตะวันตกเฉียงเหนือหลังจากเฉียด เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน และ ไฮติ ต่อจากนั้นการพยากรณ์ได้เผยให้เห็นว่าเส้นทางเดินของพายุเฮอริเคนเออร์มา มีแนวทางเคลื่อนผ่านไปหรือใกล้กับเติร์กและหมู่เกาะเคคอส บาฮามาส และจะขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าในที่สุด การพยากรณ์ทิศทางของพายุเฮอริเคนยังคงมีความซับซ้อนและท้าทายยิ่งนัก แต่นักอุตุนิยมวิทยากลับมีทักษะมากยิ่งขึ้นกับการพยากรณ์ทั้งการเฝ้าติดตามและความรุนแรงของพายุต่าง ๆ ในกว่าทศวรรษที่ผ่านมา การพยากรณ์การเฝ้าติดตามเส้นทางเดินพายุห้าวันล่วงหน้า ณ ตอนนี้ดีกว่าการพยากรณ์สองวันล่วงหน้าเมื่อย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2528 นักวิจัยอุตุนิยมวิทยาแห่งศูนย์ Goddard Space Flight ของ องค์การนาซา นาย Scott Braun กล่าวว่า “การพยากรณ์ความรุนแรงพายุพัฒนาไปช้าแต่ก็ได้นำมาใช้หลังปี พ.ศ. 2552 การแก้ไขปรับปรุงเป็นผลมาจากการลงทุนต่าง ๆ อันนำมาซึ่งแบบจำลองต่าง ๆ ที่ดีกว่า ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการร่วมมือประสานการพยากรณ์และการร่วมกันปรับปรุงฐานข้อมูลทางเทคนิค” หากคุณอาศัยอยู่ใกล้ที่ใดก็ตามที่เป็นไปได้ว่าเป็นเส้นทางพายุเฮอริเคนเออร์มา กรุณาเข้าไปที่เว็บไซต์การเตรียมพร้อมรับมือพายุเฮอริเคน ในส่วนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ที่มาบทความ : Daily Express บันทึก : เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ ...

ดาวเทียมสำรวจความชื้นของดินในช่วงที่เกิดพายุเฮอร์ริเคน Harvey

ดาวเทียมสำรวจความชื้นของดินในช่วงที่เกิดพายุเฮอร์ริเคน Harvey ตั้งแต่เกิดเฮอร์ริเคน Harvey เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ปริมาณน้ำฝนลดลงมากเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะรอบ ๆ เมืองฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส เมื่อวานพวกเขาเผยการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนโดยอ้างอิงข้อมูลจากดาวเทียม ในขณะที่ภาพของวันนี้แสดงถึงผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 19-27 สิงหาคม พ.ศ. 2560 แผนที่ด้านบนแสดงถึงสภาพของดินโดยรอบทางตอนใต้ของรัฐเท็กซัสในวันที่ 27 สิงหาคม เปรียบเทียบกับวันที่ 19 สิงหาคม สีต่าง ๆ บนแผนที่แสดงถึงปริมาณความชื้นของดิน โดยสีที่เข้มที่สุดแทนดินที่ใกล้อิ่มตัวหรืออิ่มตัวแล้ว และขนาดของหกเหลี่ยมแสดงถึงระดับการเปลี่ยนแปลงความชื้นของดินตั้งแต่วันก่อนเกิดเฮอร์ริเคน Harvey จนถึงช่วงกลางของเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนนี้ซึ่งถือเป็นวันที่สามารถเก็บข้อมูลได้ล่าสุด สำหรับโดยรอบเมืองฮิวส์ตัน แสดงข้อมูลเพียงบางส่วน เนื่องจากพื้นผิวของพื้นที่แถวนั้น น้ำไม่สามารถผ่านได้ เช่น ถนน ตึก และโครงสร้างพื้นฐาน อุตุนิยมวิทยาและรายงานการติดตามภัยแล้งก่อนที่จะเกิดพายุเฮอร์ริเคนแสดงถึงความแห้งแล้งที่ผิดปกติที่ทุเลาลงในพื้นที่ตอนเหนือและตะวันตกของเมืองฮิวส์ตัน รวมถึงใกล้เมือง Chorpus Christi ด้วย ในขณะที่พื้นที่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองฮิวส์ตัน ค่อนข้างมีฝนมาก นักอุตุนิยมวิทยาจาก Southeast Regional Climate Center บันทึกไว้ในวันที่ 23 สิงหาคมซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดพายุเฮอร์ริเคน Harvey ว่า รัฐเท็กซัส หลุยเซียร์นา และรัฐอื่น ๆ ทางตอนใต้กำลังจะเกิดฝนตกหนักมากที่สุดเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน ข้อมูลที่ใช้ในแผนที่ด้านบนมาจากดาวเทียม Soil Moisture Active Passive (SMAP) ซึ่งใช้เครื่องวัดพลังงานรังสีในการวัดความชื้นของดินในระยะความลึก 5 เซนติเมตรจากพื้นดิน มีความละเอียดประมาณ 9 กิโลมิเตอร์ต่อพิกเซล คุณสามารถเห็นข้อมูลภาพที่ได้จาก SMAP เปรียบเทียบก่อนและหลังการเกิดเฮอร์ริเคนตามรูปด้านล่าง ณ วันที่ 21 และ 22 สิงหาคม 2560 และ วันที่ 25 และ 26 สิงหาคม 2560 จากการสำรวจแบบ SMAP พบว่า ก่อนการเกิดพายุเฮอร์ริเคน ระดับความชื้นของดินอยู่ในช่วง 20 ...

ประเทศอาร์เจนตินาในยามค่ำคืน

ภาพในปี พ.ศ. 2560 - เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลง เมื่อมองลงมาจากดาวเทียมในเวลากลางวัน พื้นโลกบริเวณศูนย์กลางประเทศอาร์เจนตินาแสดงให้เห็นถึงการลงหลักปักฐานของมนุษย์เรา แต่ในช่วงเวลากลางคืนสถานที่ต่าง ๆ จะเหมือนจุดเรืองแสงเชื่อมต่อกันเป็นเส้นยาว แสงสว่างที่ปรากฏท่ามกลางความมืด บดบังความเป็นตัวตนของเมืองต่าง ๆ เอาไว้หมด จุดแสงไฟเหล่านี้จะปรากฏในทุก ๆ 30-50 กิโลเมตร (คร่าว ๆ ประมาณ 20-30 ไมล์) ตามเมืองต่าง ๆ อยู่รอบสถานีรถไฟ แผนที่จากช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ได้บันทึกเครือข่ายการเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟที่มีลักษณะแปลกตาเอาไว้ วันนี้รถยนต์ได้รับความนิยมกว่ารถไฟมาก แต่เส้นทางรถไฟก็ยังคงอยู่ตามพื้นที่ทั่วไป เส้นทางบางสายสามารถมองเห็นได้จากอวกาศ เช่นสายที่วิ่งขนานระหว่างเมืองคอร์โดบาและวิลล่า มาเรีย เช่นเดียวกับแนวเส้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่วิ่งผ่านเมืองริโอควารโด ในภาพที่สองแสดงให้เห็นถึงผลสำรวจแสงไฟยามค่ำคืนของเมืองอาร์เจนตินาในปี พ.ศ. 2560 ภาพนี้ถูกทำมาจากการรวมส่วนต่าง ๆ ของโลกโดยเก็บเกี่ยวข้อมูลจากคืนที่ท้องฟ้าสดใสที่สุดในแต่ละเดือน ด้วยเครื่อง Visible Infrared imaging Radiometer Suite (VIIRS) บนดาวเทียม NASA-NOAA Suomi NPP เครื่อง VIIRS นี้ทำงานด้วยระบบพิเศษ day/night band ซึ่งเป็นเซนเซอร์ที่ระดับแสงต่ำที่ตรวจวัดการแผ่รังสีและการสะท้อนแสง จะช่วยให้นักวิจัยสามารถแยกแยะความหนาแน่น ประเภท และแหล่งแสงไฟตอนกลางคืน และเพื่อเฝ้าสังเกตการณ์การเปลี่ยนแปลงช่วงข้ามคืน ภาพถ่ายสีตามธรรมชาติ (ด้านซ้าย) เป็นภาพถ่ายจากดาวเทียม Aqua และ Terra โดยเครื่อง Moderate Resolution imaging Spectroradiometer (MODIS) บันทึกพื้นที่บริเวณเดียวกันในช่วงเวลากลางวันที่ซึ่งไร้เมฆปกคลุม มีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกและปศุสัตว์ทั่วไปทั้งอณาเขต ผู้คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศ รวมถึงเมืองคอร์โดบาและซานตาเฟ เนื่องจากองค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทำให้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของประเทศอาร์เจนตินาอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท ที่มาบทความ : บทความโดย Pola Lem บันทึก : เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สืบค้นจาก : https://earthobservatory.nasa.gov/IOTD/view.php?id=90265 ...

A-68 ที่ล่องลอยอย่างไม่มีจุดหมาย

ภาพเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 มีหลายเหตุการณ์ได้เกิดขึ้น ณ คาบสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Peninsula) ภายใต้คืนมืดที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งขั้วโลกในปี 2560 นั่นคือ “การหลุดตัว” (calving) ของภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ (iceberg) จากหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี (Larsen C ice shelf) ในเดือนกรกฎาคม นักวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยข้อมูลที่พิจารณาทั้งจากด้านอุณหภูมิและจากเรดาร์ เพื่อสังเกตรอยแตกแยกและเพื่อเฝ้าดูการเคลื่อนตัวที่จะตามมาในภายหลังของก้อนน้ำแข็ง กระทั่งในเดือนสิงหาคม นักวิทยาศาสตร์ได้รับภาพของภูเขาน้ำแข็งก้อนใหม่ที่แสงอาทิตย์ส่องถึงเป็นครั้งแรก ซึ่งศูนย์สังเกตการณ์สภาพน้ำแข็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (US National Ice Center) ตั้งชื่อว่า A-68 เครื่องวัดความละเอียดในระดับปานกลาง (MODIS) บนดาวเทียม Terra ขององค์การนาซา ได้จับภาพมุมกว้างของภูเขาน้ำแข็งนี้ในวันที่ 11 กันยายน และอีกหลายวันต่อมาในวันที่ 16 กันยายน อุปกรณ์บันทึกข้อมูล Operational Land Imager (OLI) และ Thermal Infrared Sensor (TIRS) บนดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติแลนด์แซท 8 (Landsat 8)ได้จับภาพรายละเอียดของภูเขานี้ได้อีก ภาพด้านซ้ายมือ แสดงภูเขาน้ำแข็งในลักษณะที่เป็นภาพสีผสมจริงตามธรรมชาติของมัน จะเห็นร่องรอยการแตกแยกของก้อนภูเขาน้ำแข็งหลักและหิ้งน้ำแข็งขยายกว้างออก ในขณะที่ก้อนเมฆที่อยู่เหนือไปทางตะวันออกได้ฉายเงาลงบนภูเขาน้ำแข็ง ส่วนภาพด้านขาวมือ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลด้านอุณหภูมิ แสดงพื้นที่เดียวกัน แต่ในลักษณะภาพสีผสมเท็จ สังเกตได้ว่าก้อนเมฆเหนือหิ้งน้ำแข็งไม่ได้แสดงอะไรเหมือนเช่นที่ภาพจากอุณหภูมิแสดงออกมา เป็นเพราะว่ามันมีอุณหภูมิเดียวกันกับหิ้งน้ำแข็งเลย ภาพที่พิจารณาจากอุณหภูมิจึงมีข้อดีคือ สามารถแสดงขอบเขตที่เป็นจุดสิ้นสุดของบริเวณน้ำแข็งที่เย็นกว่า กับจุดเริ่มต้นของน้ำที่อุ่นในทะเล Weddell (Weddell Sea) นอกจากนี้ยังสามารถบ่งชี้ความแตกต่างของความหนาของน้ำแข็งได้ด้วย ตัวอย่างเช่น “me’lange” มีความหนากว่า (ซึ่งแสดงสัญญาณที่เย็นกว่า) น้ำแข็งฟราซิล (frazil ice) แต่มีความบางกว่า (ซึ่งแสดงสัญญาณที่อุ่นกว่า) หิ้งน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็ง ภาพข้างล่างต่อไปนี้ แสดงความบางของชิ้นน้ำแข็งฟราซิล (ซึ่งไม่สามารถต้านทานกระแสลม กระแสน้ำขึ้นน้ำลงได้มากนัก) และแสดงแนวโน้มการเคลื่อนที่ของภูเขาน้ำแข็งก้อนใหญ่นี้ ที่ห่างออกจากหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี (Larsen C) ในช่วงหลายสัปดาห์ของการสังเกตการณ์ นักวิทยาศาสตร์ได้พบการขยายของรอยแตกระหว่างภูเขาน้ำแข็งกับหิ้งน้ำแข็งที่กว้างออกไปมากขึ้น การขยายตัวออกอย่างช้า ๆ ...

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.