GIS

27 ข้อแตกต่างระหว่าง ArcGIS และ QGIS การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ของซอฟท์แวร์ GIS ในประวัติศาสตร์ GIS ตอนที่ 3
เรามาดูกันต่อข้อที่ 8-10 ในตอนที่ 3 นี้ 8. การใช้งาน plugin คุณกำลังคิดว่าเรากำลังพูดถึง QGIS อยู่ใช่หรือไม่? เราทุกคนรู้ว่าคุณสามารถปรับการวิเคราะห์ด้วยปลั๊กอินซึ่ง QGIS มีปลั๊กอินจำนวนมากกว่า 300 ตัวในการช่วยแก้ปัญหาทุกวัน แต่คุณอาจจะไม่รู้ว่า ArcGIS มีปลั๊กอินเช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถให้คำตอบได้กับทุกปัญหาของ GIS การรวบรวมฟรีด้วย R stats (สิ่งแวดล้อมการสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่) ตัวเลือกเพิ่มเติมของ Marine Tool, NetCDF ,ET GeoWizards, ArcGIS Patch Analyst ด้วยเวอร์ชั่นล่าสุดใน app store ของ Esri -- ArcGIS Marketplace จึงมีปลั๊กอินใหม่ ๆ ออกมาให้ใช้อย่างมากมาย ในตลาดมีโปรแกรมให้คุณเลือกทั้งแบบเสียเงินและให้ใช้ฟรีที่จะช่วยแก้ปัญหา spatial ให้คุณ โปรแกรม Esri ช่วยคุณได้ทุกเรื่องไปจนถึงการจัดสวน คุณต้องเข้าใจความสามารถในการเติบโตและเอกลักษณ์ของ Esri เพื่อให้มันช่วยแก้ปัญหา geopspatial ของคุณ 9.กระบวนการประมวลผลแรสเตอร์ทั้งใน QGIS และ ArcGIS ชุดการวิเคราะห์ข้อมูลทางพื้นที่คือที่สุดของการจัดการข้อมูลแรสเตอร์ แม้ว่าจะเป็นการคำนวณธรรมดา (แผนที่พิชคณิต หรือ ชุดเครื่องมือที่ติดเงื่อนไข) สถิติ (คำนวณหลายตัวแปร, พื้นที่ใกล้เคียง หรือชุดเครื่องมือแบ่งเขตข้อมูล) หรือ สร้างค่าพื้นผิว (การแก้ไขพื้นผิว , ความหนาแน่น หรือ การซ้อนทับของพื้นผิว) ArcGIS ที่มีเครื่องมือพื้นฐานด้วยแรสเตอร์นั่นเชื่อถือได้ เครื่องมือวิเคราะห์เชิงพื้นที่ยังรองรับเครื่องมือพิเศษสำหรับน้ำใต้บาดาล อุทกวิทยา ต้นทุนพื้นผิว และรังสีดวงอาทิตย์ และยังมีตัวเลือกอื่น ๆ คือให้ฟิลเตอร์ (จัดกลุ่มใหม่ หรือ เครื่องมือกรองข้อมูล) หรือเครื่องมือที่ทำข้อมูลให้ง่าย เครื่องมือคำนวณแรสเตอร์ใน QGIS คำนวณแผนที่เชิงพีชคณิตโดยใช้การทำงานการคำนวณและตรีโกณมิติได้น้อยกว่า QGIS มีวิธีการที่หลากหลายในการปรับปรุง Kriging แบบธรรมดาและอเนกประสงค์เป็นเครื่องมือที่แยกออกมาใน QGIS แต่ใน ArcGIS มันเป็นปุ่มวิทยุที่อยู่ภายใต้เครื่องมือ ...

27 ข้อแตกต่างระหว่าง ArcGIS และ QGIS การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ของซอฟท์แวร์ GIS ในประวัติศาสตร์ GIS ตอนที่ 8
ดีใจด้วย คุณได้มาถึงช่วงสุดท้ายของ 27 ช้อแตกต่างของเราแล้ว มาดูกันต่อที่ 3 ข้อสุดท้าย ข้อที่ 25-27 ในตอนที่ 8 นี้กัน 25. กำหนดพิกัด XY โดยที่อยู่ geocoding Geocoding คือกระบวนการในการกำหนดค่า XY สำหรับที่อยู่ถนน ทางเลือกหนึ่งในการทำ geocode คือผ่านทาง ArcGIS Online Geocoding โดยต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้มีสิทธิ์ในการใช้งาน ArcGIS Desktop มีวิธีในการใส่ที่อยู่ในแผนที่โดยใช้ข้อมูลของตัวเอง สร้างที่ระบุตำแหน่งที่อยู่ หาที่อยู่โดยแถบเครื่องมือ geocoding พิมพ์ตำแหน่งที่อยู่โดยการเพิ่มจุดที่ตั้ง ถ้าคุณต้องการหลีกเลี่ยงการติดเครดิตใดใด คุณมีทางเลือกสองทางในการใช้ QGIS และเป็นทางเลือกที่ดีทั้งสองทาง MMQGIS plugin เหมาะสำหรับ geocoding ปริมาณมาก การนำเข้าข้อมูลจำนวนมากนี้ใช้ spreadsheet (CSV) ซึ่งมีที่อยู่จำนวนมากและใส่ลงไปในแผนที่ที่กำหนดไว้ GeoCode plugin ต้องใช้ที่อยู่เป็นข้อมูล โดยการพิมพ์ที่อยู่เข้าไป กด Ok คุณจะเห็นที่อยู่ปรากฏบนแผนที่ หากเราไม่ชอบให้ภาพติดเครดิตหรือต้องจ่ายเพิ่มเพื่อ geocoding ให้ใช้ GQIS เพื่อ geocoding 26. การปรับรูปทรงเลขาคณิตด้วยเครื่องมือแปลงข้อมูล นักเขียนแผนที่จะรวมคุณสมบัติต่าง ๆ เพื่อแปลงรูปหลายเหลี่ยมให้เป็นจุดหรือตรงกันข้าม และบางครั้งการเปลี่ยนลักษณะอาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่ด้วย QGIS แล้ว ความยุ่งยากนี้ไม่จำเป็นเลย ใน QGIS คุณสามารถแปลงเส้นเป็นรูปหลายเหลี่ยม หรือชี้ไปที่รูปหลายเหลี่ยม หรือสิ่งอื่นที่อยู่ระหว่างนั้น ใน ArcMap คุณอาจต้องมีการให้อนุญาตเพิ่มสำหรับการแปลงฐานข้อมูล QGIS มีเครื่องมือสามัญการค่อนข้างดี เครื่องมือเหล่านี้ใช้เพื่อลดความซ้ำซ้อนของเส้น รวมจุดและรูปหลายเหลี่ยมและอื่น ๆ 27. ArcGIS ทำให้ผู้อ่านจมดิ่งไปกับตัวอย่างที่ยากและเอกสาร (ในทางที่ดี) เอกสารใน ArcGIS นั้นสุดยอด ArcGIS ไม่เพียงแค่จัดหาเอกสารในเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออย่างไรอย่างเดียว มันยังมีฐานข้อมูลตัวอย่างให้สำหรับท่านใช้เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ ไม่ได้พูดว่าเอกสาร QGIS ไม่ดี มันให้ข้อมูล เขียนได้อย่างดี นำไปปฏิบัติใช้ได้ ...

27 ข้อแตกต่างระหว่าง ArcGIS และ QGIS การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ของซอฟท์แวร์ GIS ในประวัติศาสตร์ GIS ตอนที่ 7
เรามาดูกันต่อข้อที่ 22-24 ในตอนที่ 7 นี้ 22.การสร้างการปรับแต่งอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือแก้ไขขั้นสูงของ ArcMap การปรับแต่ง ArcGIS และ QGIS จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เครื่องมือปรับแต่งไม่ได้ถูกสร้างมาให้เหมือนกันทุกอย่างอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น การคลิกขวาเพิ่งจบการใช้งานภาพวาดใน QGIS แต่ใน ArcGISใช้การกดเลือกซ้ำกัน 2 ครั้ง คุณจะชอบการจบการใช้งานด้วยการกดเลือกด้วยปุ่มทางขวาของเมาส์มากกว่าเพราะการกดเลือกซ้ำกัน 2 ครั้ง อาจทำให้กดพลาดตรงมุมได้ QGIS รองรับเครื่องมือปรับแต่งเช่น การเปลี่ยนรูปร่าง การแบ่งภาพ และการติดตาม (ด้วยการติดตามอัตโนมัติ) การลบวงแหวนออกจากรูปร่างและการสร้างรูปร่างโดนัทด้วยความสะดวก คุณสามารถเก็บภาพได้โดยตัวเลือก snap ทางด้าน QGIS CadTools plugin มีตัวเลือกทั้งหมด 13 ตัว ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตัวปรับแต่ง rolling back ใน QGIS ซึ่งใน ArcMap สามารถใช้ได้จาก properties ตรงยอดของภาพวาดทุกยอดสามารถย้ายที่หรือย้ายออกได้ การสร้างข้อมูลใน ArcMap เป็นเรื่องที่ง่ายมาก ArcGIS มีตัวเลือกให้ใช้ปรับแต่งได้มากกว่า คุณสามารถสร้างภูมิประเทศต่าง ๆ ได้โดยการตั้งค่าแบบภูมิประเทศ ตัวเลือกขั้นสูงทำให้สามารถแยกรายละเอียดภูมิประเทศ ตัดขอบ ขยายโค้งหรือแทนที่รูปทรงต่าง ๆ เครื่องมือติดตามใน ArcMap ทำให้งานทุกอย่างง่ายขึ้นเหมือนเป็นตัวช่วยจากสวรรค์ 23.คุณจะพบปัญหา 99 อย่างแต่ไม่ใช่การผิดพลาดในเรื่อง topology จุดทับซ้อนรูปหลายเหลี่ยมหรือไม่? มีการทับซ้อนหรือไม่? เส้นควรทับเขตพื้นที่อื่นหรือไม่ ผมสามารถอธิบาย topology ใน AcrGIS ได้คำเดียวคือ อัจฉริยะ นี่เป็นแถบเครื่องมืออัจฉริยะ หากคุณกังวลเรื่องความผิดพลาดของข้อมูล GIS (มีการทับซ้อน, ช่องว่าง) ArcGIS มีการตรวจสอบที่ซับซ้อนด้วยเครื่องมือ topology ซึ่งตรวจสอบความถูกต้องของการเปลี่ยนรูปร่างด้วยข้อกำหนดมากว่า 30 ข้อซึ่งสามารถป้องกันเรื่อง topology โดยอัตโนมัติหรือปรับเอง สามารถเริ่มสร้างข้อกำหนดเรื่อง topology ได้เมื่อข้อมูลอยู่ใน geodatabase QGIS มีข้อกำหนดเรื่อง topology ดังนี้ “ต้องมี ...
27 ข้อแตกต่างระหว่าง ArcGIS และ QGIS การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ของซอฟท์แวร์ GIS ในประวัติศาสตร์ GIS ตอนที่ 6
เรามาดูกันต่อข้อที่ 18-27 ในตอนที่ 6 นี้ 18.ถอนสมอและแล่นเรือออกไปจากภาพสองมิติใน ArcGlobe และ ArcScene นี่คือเวลาถอนสมอและแล่นเรือออกไปเพื่อไปจากภาพสองมิติ ArcGlobe and ArcScene เป็นโปรแกรมเดียวที่ใช้สำหรับขยายการวิเคราะห์ภาพสามมิติ แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ทำให้คุณมีโอกาสที่ไม่เหมือนใครในการเข้าไปสู่โลกสามมิติ ArcScene สำหรับศึกษาไม่มากกับภาพพื้นที่ วัตถุต่าง ๆ ที่ออกมานั้นเป็นภาพแนวตั้งที่น่าอัศจรรย์เกินจริง ArcGlobe คือฐานข้อมูลซึ่งขยายโลกทั้งหมด ทำให้ฐานข้อมูลของคุณนั้นมีชีวิตราวกับได้บินท่องเที่ยวทะลุมิติแบบสุดยอดเลยทีเดียว เพื่อให้มั่นใจว่าคุณได้รับอนุญาตให้วิเคราะห์ภาพสามมิติได้ล่วงหน้า QGIS ขาดการสนับสนุนภาพสามมิติที่ดี ปลั๊กอิน Qgis2threejs สามารถทำให้เห็นการเคลื่อนไหวได้เร็วในรูปแบบภาพสามมิติ ปลั๊กอิน Qgis2threejs ส่งออกข้อมูลภูมิประเทศ รูปแผนที่ และข้อมูลเวกเตอร์ไปยังเว็บบราวเซอร์ของคุณ แต่อย่าคาดหวังให้เป็นภาพมันเงาเหมือนกับ ArcGlobe หรือ ArcScene โปรแกรม Ya, ArcGIS ให้ภาพสามมิติที่คุณต้องการคุณภาพดีกว่า QGIS 19. การออกแบบ webmaps ที่สุดยอดและเล่าเรื่องราวของคุณ Webmaps อยู่ในแนวโน้มที่จะมีความนิยมมากขึ้น ข่าวอุตสาหกรรม รัฐบาล และธุรกิจ ถูกใช้ในเว็บแผนที่เพราะว่าสามารถบอกเรื่องราวได้ การทำ Webmaps เป็นสิ่งที่ง่ายใน ArcGIs ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์กายภาพเข้าสู่เว็บผ่านทาง ArcGIS ออนไลน์ ArcGIs ออนไลน์สำหรับเว็บแผนที่คือเว็บแผนที่ที่มีขึ้นบนคลังเก็บข้อมูลออนไลน์ GIS ของ Esri ความนิยมที่ทันสมัยคือแผนที่เล่าเรื่องราว ArcGIS เพราะว่าทุกคนมีเรื่องราวที่จะเล่า และด้วย ArcGIS นี้ คุณสามารถควบคุมแผนที่ต่าง ๆ เพื่อเล่าเรื่องราวของคุณ ผู้ให้บริการ QGIS ให้บริการเว็บแผนที่ (WMS) WMS ใช้ห้องสมุดเดียวกันกับ Quantum GIS (QGIS) แอพพลิเคชั่น แผนที่และแม่แบบพิมพ์สร้างขึ้นใน QGIS Desktop ซึ่งสามารถตีพิมพ์เป็นเว็บแผนที่ได้โดยง่ายด้วยการคัดลอกแฟ้มโครงงาน QGIS เข้าไปยังสมุดรายนามผู้ให้บริการเว็บไซด์ South Perth และ Swellendam, South Africa ที่เป็นมันเงา ใช้ Leaflet clients ...
GNSS

การนำเข้าค่าพิกัดสู่เครื่อง GPS
การนำเข้าค่าพิกัดสู่เครื่อง GPS ครั้งนี้จะอธิบายการนำเข้าจาก 2 โปรแกรม ได้แก่ DNR Garmin และ Quantum GIS 1. ใช้โปรแกรม DNR Garmin 1 เมื่อเชื่อมต่อเครื่อง GPS เข้ากับโปรแกรม DNR Garmin จะปรากฏค่าพิกัดขึ้นมา 1.2 จากนั้นให้นำเข้าค่าพิกัด โดยคลิกที่ File --> Load from --> File 1.3 ชนิดของไฟล์ที่สามารถนำเข้าได้ ได้แก่ Shapefile (.shp) ครั้งนี้จะเป็นการนำเข้าในรูปแบบนี้ Dbase (.dbf) Text file (.txt) Google Earth Format (.kml) GPS eXchange Format (.gpx) Lowrance Export Text (.txt) 1.4 เมื่อนำเข้าข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ตัวโปรแกรมจะสอบถามค่า Fields ที่ต้องการระบุ ให้เลือก Ident เป็น Sequential ID ส่วน Comment เลือก ช่อง Name แล้วคลิก OK ไฟล์ข้อมูลค่าพิกัดจะแสดงว่าดาวน์โหลดไฟล์สู่โปรแกรมสำเร็จ จำนวน 10 จุด ดังรูป 1.5 จากนั้นให้ทำการ Upload ไฟล์ค่าพิกัด จำนวน 10 จุด เข้าสู่เครื่อง GPS โดยไปที่เมนู Waypoint เลือก Upload 2. ใช้โปรแกรม Quantum GIS 2.1 ทำการดาวน์โหลดข้อมูลค่าพิกัด GPS เข้าสู่เครื่อง GPS โดยไปที่แถบเมนู Vector ...

พื้นหลักฐาน WGS84
World Geodetic System 1984 WGS84 เป็นพื้นหลักฐานที่มีจุดศูนย์กำเนิดอยู่ที่จุดศูนย์กลางมวลสารของโลก ( Earth’s center of mass) ใครจะรู้บ้างว่า พื้นหลักฐาน WGS84 ที่เราใช้ๆ กันอยู่นั้น ได้ถูกปรับค่ามาแล้วตั้ง 5 ครั้ง ตั้งแต่เริ่มใช้งาน WGS84 Original Epoch 1984.0 Base on ITRF90 WGS84 (G730) Epoch 1994.0 Base on ITRF91 WGS84 (G873) Epoch 1997.0 Base on ITRF94 WGS84 (G1150) Epoch 2001.0 Base on ITRF2000 WGS84 (G1674) Epoch 2005.0 Base on ITRF2008 WGS84 (G1762) Epoch 2005.0 Base on ITRF2008 โดยสาเหตุที่ต้องมีการปรับค่านั้นเนื่องจากระบบ WGS นั้นเป็นระบบพื้นหลักฐานอ้างอิงทั่วโลก แต่ในสภาพความเป็นจริงนั้น โลกเรามีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา ลองนึกถึงว่าเรายืนจับค่าพิกัดอยู่ในเรือที่ลอยอยู่ในน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปค่าพิกัดก็เปลี่ยนตามไปด้วย แต่เปลือกโลกเคลื่อนตัวช้ากว่านั้น ซึ่งอาจจะแค่ระดับเซนติเมตรต่อปี ก่อนจะไปไกลกว่านั้นขอ อธิบายตัวอักษร & ตัวเลขนิดนึง G730 G = GPS, 730 = GPS week number สัปดาห์ของดาวเทียมระบบ GPS Epoch คือยุค 1984, ยุค 1994 ถ้าให้เทียบก็คล้ายๆ Version ประมาณนั้น ในงานที่ต้องการความถูกต้องเชิงตำแหน่งสูงมาก ต้องมีเรื่องกรอบเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างที่บอกไว้ว่ามีเรื่องการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง เกี่ยวพันกับหน่วยงานนึงที่ชื่อ International Earth ...

ระบบระบุพิกัดภายในอาคารเพื่อนสนิทของ GNSS ในอนาคต
ปัจจุบันเรามีระบบระบุพิกัดจากดาวเทียมนำร่องทั่วโลก (Global Navigation Satellites System: GNSS) 4 ระบบใหญ่ๆ ด้วยกันคือ RUSSIA-GLONASS, USA-GPS, EU-GALILEO และ China-BEIDOU ระบบถูกนำมาใช้เพื่ออ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ แต่ทว่าข้อจำกัดของสัญญาณวิทยุที่แพร่กระจายจากดาวเทียมนำร่องอย่างน้อย 4 ดวงนั้นไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ในเขตอาคารที่ซับซ้อนได้ เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามบิน คลังพัสดุ หรือ แม้กระทั้งในเขตชุมชนเมืองหนาแน่นบางพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อเสียของระบบ GNSS ปัญหาเหล่านี้ทำให้ระบบ GNSS ต้องมีการนำข้อมูลจากเซนเซอร์อย่างอื่นเข้ามาประมวลผลร่วมกันเช่น เข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Compass), ตัววัดความเร่ง (Accelerometer sensor), และ Gyroscope sensor หรือแม้กระทั้งระบบกล้องวงจรปิด (Image processing) โดยผ่านระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ เช่น ตัวกรองคาลแมน (Kalman Filter) เป็นต้น เพื่อให้ระบบยังคงประมาณค่าตำแหน่งของผู้ใช้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆอย่างไรก็ตามข้อมูลจากเครื่องรับสัญญาณ GNSS ก็ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญหลักในการประมวลผล จากบทความวิจัยนักวิจัยหลายๆ ท่านได้ให้ความเห็นว่า มนุษย์ส่วนใหญ่นั้นใช้ชีวิตมากกว่า 70{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ภายในอาคาร แต่ยังไม่มีระบบระบุพิกัดใดๆ ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอเข้ามาช่วยงานระบบ GNSS เพื่อให้ข้อมูลพิกัดหรือเส้นทางเมื่อเราต้องการทราบตำแหน่งภายในอาคารได้ ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการทราบว่าร้านค้า A อยู่ห่างจากเรากี่เมตรและต้องเดินเส้นทางไหน?, ห้องน้ำที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ใด?, ประตูขึ้นเครื่องหมายเลข 99 ไปทางไหนใกล้ที่สุด? ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่พบในปัจจุบัน ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวแนะนำถึงความหมายของระบบระบุพิกัดในอาคาร รวมไปถึงเทคนิคที่นักวิจัยใช้ในการวิจัยนั้นมีอะไรบ้างพอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อของเยาวชนไทยในอนาคต รูปที่ 1. ระบบระบุพิกัดในอนาคตสำหรับเมืองต้นแบบ Smart City [1] ระบบระบุพิกัดในอาคาร (Indoor Positioning System, Local-Based Service) คือระบบที่ให้บริการ ตำแหน่ง และ เส้นทางแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับระบบ GNSS ในปัจจุบันโดย มีการนำสัญญาณคลื่นวิทยุ ตัวอย่างเช่น WI-FI IEEE 802.11 a/b/g/n ซึ่งถูกติดตั้งอยู่แล้วเพื่อให้บริการข้อมูลอินเตอร์เน็ต, ตัวปล่อยสัญญาณวิทยุโปโตคลอแบบ XBee หรือ ...

การแปลงพิกัดระหว่าง MGRS เป็น UTM หรือ UTM เป็น MGRS
โพสต์นี้ผมต้องการแสดงวิธีการจำ การแปลงพิกัดระหว่าง MGRS เป็น UTM หรือ UTM เป็น MGRS ในแบบวิธีของผมนะครับ ซึ่งผมอาจจะอธิบายอาจจะไม่ได้ละเอียดตั้งแต่ต้น ที่มาหลายๆ อย่างอย่างเช่นพวกค่ากริดโซน ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเข้าใจกันอยู่แล้ว สมมติเราได้ค่า MGRS มาค่านึงเช่น 47PML370329 ก่อนอื่นต้องแยกตัวเลขที่ประกอบเป็นชุดนี้ก่อน แยกได้เป็น 47 P M L 370 329 เอาเป็นว่าผมไม่อธิบายที่มา ของ ตัวเลข 47 P ว่ามายังไงนะครับ ผมอยากเน้นเรื่องการแปลงค่าพิกัดทางทหาร MGRS เป็นพิกัดแบบ UTM มากกว่า ตัวที่เราสนใจ คือค่า ML370329 โดยถ้าตัวเลขที่ตามมามีผลต่อเรื่องความแม่นยำเชิงตำแหน่ง …..ถ้าระบุ 47P เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วง 6 องศา x 8 องศา (longitude 96-102 ตะวันออก และ latitude 8-16 เหนือ) 47PML เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัสแสนเมตร หรือ 100 กิโลเมตร 47PML3 3 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัสหมื่นเมตร หรือ 10 กิโลเมตร 47PML37 32 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัสพันเมตร หรือ 1 กิโลเมตร 47PML370329 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัส 100 เมตร ถ้าอยากจะให้เราถึงระดับ 10 เมตรต้องทำไง ก็เพิ่มตัวเลขเข้าไปอีกหลักนึง คือ 47PML3705 3295 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัส 10 เมตร ถ้าอยากให้รู้ถึงระดับ 1 เมตรก็เพิ่มอีก 1 หลัก ...
Remote Sensing

3D สร้างจากรูปภาพได้อย่างไร ? (ตอนที่ 3: การถ่ายภาพ)
กระบวนการแรกของการสร้าง 3D จากรูปภาพ คือ การถ่ายภาพ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ คือ กล้อง Digital และอาจจะมีอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ขาตั้งกล้อง อุปกรณ์ GPS (Global Positioning System) เพื่อระบุตำแหน่งภาพ แสดงในรูปที่ 1 รูปที่ 1 อุปกรณ์ถ่ายภาพ กล้อง Digital และ อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เช่น ขาตั้ง อุปกรณ์ GPS (optional) โดยปกติ การถ่ายคู่ภาพสเตอริโอ ควรจะมีส่วนซ้อนทับกันมากกว่า 60-80 {8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} และ เลือกการบันทึกแบบ Raw format (ข้อมูลดิบ) หรือ ข้อมูลที่มีการบีบอัดน้อย เพื่อให้รูปภาพมีคุณภาพสูง สามารถประมวลผลในขั้นตอน Image Matching ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังรูปที่ 2 ภาพถ่ายจาก UAV ที่มีส่วนซ้อนทับกันมากกว่า 60{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} (รูปบน : แนะนำ) และ น้อยกว่า 60{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} (รูปล่าง : ไม่แนะนำ) รูปที่ 2 การซ้อนทับกันของคู่ภาพสเตอริโอ การถ่ายภาพรอบ ๆ วัตถุ หรือ บริเวณ ที่ต้องการสร้าง 3D นอกจากจะต้องมีส่วนซ้อนทับกันเพียงพอแล้ว จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงมุมกล้องด้วย แสดงตัวอย่างในรูปที่ 3 เนื่องจากการถ่ายภาพ ที่มุมมองต่างกันมาก ๆ คู่ภาพสเตอริโอ จะแสดงรูปร่างวัตถุที่แตกต่างผิดเพี้ยนไป ทำให้มีปัญหาในการทำ Image Matching ได้เช่นกัน รูปที่ 3 ข้อแนะนำสำหรับการถ่ายภาพสำหรับ วัตถุ หรือ บริเวณ ต่าง ๆ [1] ในตอนต่อไป จะได้อธิบายถึงการทำ ...

การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม
ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เริ่มแรกเป็นการใช้แปลตีความด้วยสายตาข้อมูลในลักษณะภาพถ่าย ภาพพิมพ์ หรือฟิล์ม ปัจจุบันใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและการที่ดาวเทียมบันทึกภาพตามเวลาการโคจรที่กำหนด ทำให้ได้รับข้อมูลที่ทันสมัยตามช่วงเวลา สามารถที่นำไปใช้ประโยชน์ผสมผสานกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและการพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถสรุปการประยุกต์ข้อมูลจากดาวเทียมในด้านต่างๆ ได้ดังนี้ 1. ด้านป่าไม้ ด้านป่าไม้ใช้ในการศึกษาจำแนกชนิดป่าไม้ต่างๆ พรรณไม้ป่าชายเลน สวนป่า การประเมินหาพื้นที่ไฟป่า และติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้มาอย่างต่อเนื่อง 2. ด้านการเกษตร ใช้ในการศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูก พืชเศรษฐกิจต่างๆ การพยากรณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติและจากศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลำไย ข้าว อ้อย ข้าวโพดมันสำปะหลัง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และยางพารา 3. ด้านการใช้ที่ดิน ข้อมูลจากดาวเทียมใช้ในการทำแผนที่การใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินที่ทันสมัยและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 4. ด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน ข้อมูลด้านโครงสร้างทางธรณี โดยเฉพาะลักษณะภูมิประเทศ และธรณีสัณฐาน สามารถศึกษาได้อย่างชัดเจนจากข้อมูลจากดาวเทียม การทำแผนที่ธรณีโครงสร้างของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่บอกถึงแหล่งแร่แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตลอดจนแหล่งน้ำบาดาล และการวางแผนการสร้างเขื่อน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเอาข้อมูลจากดาวเทียมไปใช้ศึกษาทางด้านโบราณคดี เช่น พื้นที่เมืองโบราณ แนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก ขอบเขตของหินต่างชนิดกัน เป็นต้น 5. ด้านอุทกวิทยา และการจัดการทรัพยากรน้ำ ข้อมูลจากดาวเทียมมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคลองชลประทาน แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ และเขื่อน การศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนในอ่างน้ำเพื่อการบำรุงรักษาเขื่อน การทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อประเมินความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ในการวางแผนป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และบรรเทาช่วยเหลือราษฎรประสบภัยน้ำท่วม ติดตามการเปลี่ยนแปลงเส้นและความกว้างของแม่น้ำ ศึกษาคุณภาพของน้ำ ใช้ในการประเมินวิเคราะห์พื้นที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งการวางแผนการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ 6. ด้านสมุทรศาสตร์และทรัพยากรชายฝั่ง ข้อมูลจากดาวเทียมนำไปใช้ในการศึกษาการแพร่กระจายของตะกอน พื้นที่หาดเลน และทรัพยากรชายฝั่ง การทำแผนที่เพาะเลี้ยงและการประมงชายฝั่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง 7. ด้านการทำแผนที่ ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศให้ถูกต้องและทันสมัยการทำแผนที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เส้นทางคมนาคม แผนที่ผังเมือง เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย 8. ด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลจากดาวเทียมถูกนำมาใช้ในการศึกษาประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และวางแผนลดความสูญเสียจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม วาตภัยจากไต้ฝุ่น ด้านสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ในการติดตามการแพร่กระจายของตะกอนจากการทำเหมืองแร่ในทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง ...

พารามิเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม-วัตถุเป้าหมาย
ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายเรดาร์แล้วนอกจากพารามิเตอร์ของระบบแล้ว พารามิเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อมมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อบูรณาการกับระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้เพื่อเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบเรดาร์กับสิ่งแวดล้อม ในที่นี้จะกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมหรือเป้าหมายที่ควรศึกษาในเบื้องต้น คือ ความขรุขระของพื้นที่ (Roughness characteristics) คุณสมบัติไดอิเล็กทริก (Dielectric properties) ความเป็นเหลี่ยมและการเรียงตัวของเป้าหมาย(Angularity and Orientation of the target) ระยะห่างของเป้าหมาย (Target spacing) การทะลุทะลวงของสัญญาณ(Signal penetration) และการเน้นสัญญาณ (Signal enhancement) 1. ลักษณะของความขรุขระ เมื่อพื้นผิวราบเรียบการสะท้อนของคลื่นเรดาร์จะเป็นแบบกระจกเงา (Specular reflector) คือ มีมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนพลังงานจะสะท้อนไปยังทิศทางอื่นไม่กลับไปยังระบบบันทึก เมื่อพื้นผิวเริ่มขรุขระขึ้นจะมีพลังงานบางส่วนสะท้อนกลับไปยังระบบ เมื่อความขรุขระมากการสะท้อนจะเป็นแบบแพร่กระจาย (Diffuse reflector) ความขรุขระของพื้นที่อาจมองได้หลายระดับ ได้แก่ ระดับจุลภาค (Microscale) ระดับกลาง(Mesoscale) และระดับมหัพภาค (Macroscale) ในระดับจุลภาคมักจะกำหนดความขรุขระของพื้นเทียบกับความยาวคลื่น ถ้าหากความแปรปรวนโดยเฉลี่ยของพื้นผิวน้อยกว่า 1/8 ของความยาวคลื่นถือว่ามีพื้นผิวเรียบ เช่น ระบบเรดาร์ L-band มีความยาวคลื่น 15 เซนติเมตร พื้นผิวที่ขรุขระ 2 เซนติเมตร ถือว่ามีพื้นผิวที่ราบเรียบ เป็นต้นการวิเคราะห์ในระบบเรดาร์ ถือว่าระดับจุลภาคเป็นระดับสีของภาพ (Image tone) ส่วนในระดับกลางเป็นระดับที่ถือว่าเป็นระดับความหยาบความละเอียดของภาพ (Image texture) ซึ่งเป็นสภาพที่พื้นที่ป่าไม้ที่มีความสูงของต้นไม้สูงต่ำเป็นกลุ่มๆ ทำให้การกระจัดกระจายกลับในบางส่วนมีความสว่างของภาพสูง บางส่วนเกิดเงาซึ่งถือว่าเป็นการจัดเรียงตัวที่ทำให้เกิดลายผิวที่หยาบ ในระดับมหัพภาคเป็นระดับที่สัมพันธ์กับสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง หรือบริเวณภูเขาความลาดชันที่หันหน้าไปยังระบบบันทึกจะมีการกระจายกลับที่รุนแรง ความขรุขระเมื่อปรับเทียบกับความยาวคลื่นมีผลต่อองค์ประกอบของการสะท้อน และกระจัดกระจายกลับ หากมีความขรุขระมากการกระจัดกระจายกลับมากในทางตรงกันข้ามความขรุขระน้อยจะมีการสะท้อนไปทิศทางอื่น 2. คุณสมบัติไดอิเล็กทริก (Dielectric constant) ค่าคงตัวไดอิเล็กทริก ของวัตถุบนพื้นโลกเมื่อแห้งจะมีค่าตั้งแต่ 3-8 โดยน้ำมีค่าคงตัวไดอิเล็กทริกประมาณ 80 สัญญาณเรดาร์จะถูกกำหนดโดยความชื้นที่อยู่ในดินและพืช การเพิ่มขึ้นของความชื้นทำให้ลดการทะลุทะลวงของคลื่นเรดาร์ วัตถุที่มีค่าคงตัวไดอิเล็กทริกสูง หรือมีความชื้นสูง จะมีการสะท้อนคลื่นเรดาร์สูง หรือมีแนวโน้มที่จะมีการสะท้อนกลับสูง ในกรณีของพื้นน้ำคลื่นเรดาร์ไม่สามารถผ่านทะลุทะลวงน้ำได้ และน้ำที่มีพื้นผิวราบเรียบจะสะท้อนคลื่นเรดาร์เป็นแบบกระจกเงา คือคลื่นไม่กลับไปยังระบบบันทึกจะมีความเข้มของคลื่นต่ำ หรือมีความสว่างของภาพต่ำ หรือสีภาพเป็นสีดำเข้ม ส่วนดินชื้นจะมีการกระจัดกระจายกลับของสัญญาณเรดาร์สูง 3. ความเป็นเหลี่ยมและการเรียงตัวของเป้าหมาย ในบางครั้งเรียกว่า ตัวสะท้อนมุม (Corner reflectors) วัตถุขนาดเล็กอาจจะมีความสว่างมากในภาพเรดาร์ ...

พารามิเตอร์ของระบบเรดาร์
1. สมการเรดาร์ (RADAR equation) PR = พลังงานทั้งหมดที่รับ (Total power received) PT = พลังงานที่ส่งออก (Power transmitted) σ0 = การกระจายเรดาร์ต่อหน่วยพื้นที่ หรือสัมประสิทธิ์การกระจัดกระจาย (Radar scatter coefficient) A = พื้นที่หน้าตัด (RADAR cross section) G = อัตราการขยายจากสายอากาศ (Antenna gain) R = ระยะทางแนวพิสัย (Range) λ = ช่วงคลื่น (Wavelength) จากสมการจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเข้มของพลังงานที่กระจัดกระจายกลับ คือ พลังงานที่ส่งออกความยาวคลื่น ขนาดของสายอากาศรับสัญญาณ เรขาคณิตของการถ่ายภาพ เช่น ความกว้างของลำแสงมุมตกกระทบ และระยะทาง เป็นต้น 2. สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงคลื่นเรดาร์ ช่วงคลื่นเรดาร์เป็นช่วงคลื่นที่สูงกว่าคลื่นแสงสว่างและคลื่นความร้อน ซึ่งในทางเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกล อยู่ระหว่าง 1 มิลลิเมตร ถึง 1 เมตร ซึ่งเป็นช่วงคลื่นไมโครเวฟ (ภาพที่ 3.58) และมักนิยมใช้ตัวอักษรที่เป็นมาตรฐานบอกช่วงคลื่น ตามภาพ เรียงลำดับจากสั้นไปยาว คือ แบนด์ Ka K Ku X C S L UHF และ P ซึ่งได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแบนด์ต่างๆ กับความยาวคลื่นและความถี่ 3. โพลาไรเซชัน (Polarization) โพลาไรเซชัน หมายถึง ทิศทางการแผ่กระจายของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะมีการกระจายทั้งแนวตั้งและแนวนอนโดยระบบเรดาร์สามารถที่จะส่งหรือรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในทิศทางการแผ่กระจายทั้งแนวตั้ง (Vertical : V) และแนวนอน(Horizontal : H) เมื่อส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในทิศทางการแผ่กระจายทางแนวนอน (H) และรับคลื่นการแผ่กระจายในแนวนอน (H) จะใช้สัญลักษณ์ HH ในทำนองเดียวกันก็มีการรับส่งเป็น ...
Google Earth

Google เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน Google Earth Pro 7.3.2
เมื่อวานนี้ Google ได้ทำการเปิดตัว Google Earth Pro รุ่น 7.3.2 (Google Earth สำหรับเดสก์ท็อป-ไม่ใช่สำหรับหน้าจอมือถือ) ฉันได้เลือกไฮไลต์จากโพสต์ประกาศของ Google Earth และ Maps เขียนไว้ด้านล่างบทความนี้ Google Earth รุ่นใหม่นี้ได้นำเอาประเด็นปัญหาต่างจากแพลตฟอร์มและฟีเจอร์ต่างๆมาปรับปรุง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Google ได้นำเอาฟีเจอร์ที่จำเป็นสำหรับการจัดการเนื้อหาสถานที่มาไว้ในแถบด้านข้าง ฟีเจอร์นี้เป็นที่ต้องการใช้มากที่สุดของผู้ใช้งาน Google Earth นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก และแน่นอนว่า Google ได้เพิ่มความสามารถในการเลือกสถานที่หลายๆแห่งแล้วลากและวางลงในโฟลเดอร์ที่ต่างกันหรือลบพื้นที่ที่เลือกหลายรายการ ดูภาพหน้าจอของการลากและวางรายการจากโฟลเดอร์หนึ่งไปยังอีกโฟลเดอร์หนึ่งด้านล่าง: คุณสามารถดาวน์โหลด Google Earth Pro รุ่นใหม่ได้ในตอนนี้ โดยไปที่หน้าดาวน์โหลด Google Earth Pro สำหรับเดสก์ท็อป โดย Google จะอัปเดตผู้ใช้ที่มีการติดตั้ง Google Earth Pro อยู่แล้วโดยอัตโนมัติ (หากคุณได้ให้อนุญาตในขณะทำการติดตั้ง): เป็นเรื่องที่ดีที่ Google ทำการสนับสนุนและปรับปรุง Google Earth Pro บนเดสก์ท็อปต่อไป โดยเฉพาะเมื่อรุ่นเดสก์ท็อปนี้มีฟีเจอร์และความสามารถในการทำงานที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับเวอร์ชันใหม่ ๆ ของการใช้งานผ่านเว็บหรือมือถือ ซึ่ง Google กำลังมุ่งพัฒนาอยู่ในขณะนี้ รายการเปลี่ยนแปลงใน Google Earth Pro 7.3.2 รายการการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาที่สำคัญสำหรับการเปิดตัว Google Earth Pro รุ่นใหม่ ; พาแนลสถานที่: การเลือกหลายรายการ ,การย้าย , การลบ; การปรับปรุงประสิทธิภาพ การปรับปรุงและแก้ไขความปลอดภัยของเครือข่าย ; การปรับปรุงการรับรองใบอนุญาต (Certificate support) การปรับปรุงการนำเข้า CSV: รองรับรูปแบบไฟล์ Mac เก่า , ช่องข้อความหลายบรรทัด เครื่องมือแก้ไขพื้นดิน (Ground overlay editor): แก้ไขการหมุนตำแหน่ง การหมุนเพื่อจัดการตำแหน่ง ตัวอย่างก่อนพิมพ์: ซูมภาพโดย ...

เปิดตัว Google Earth Pro 7.3.
เมื่อคืนนี้ Google ได้ปล่อยตัว Google Earth Pro เวอร์ชั่น 7.3.1 เวอร์ชันเดสก์ท็อปใหม่ (ซึ่งฟรีแม้จะมีชื่อ "Pro" ที่ทำให้สับสนก็ตาม) คุณสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่: www.google.com/earth/desktop/ เวอร์ชันใหม่ 7.3.1 แสดงถึงการทำงานที่สำคัญโดย Google ในการเพิ่ม "การแก้ไขบั๊ก , ปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณลักษณะและพัฒนาระดับความปลอดภัย" - ตามที่ประกาศในฟอรัมความช่วยเหลือของ Google Earth “link ?” ฉันได้เขียนคำอธิบายฉบับเต็มไว้ด้านล่าง แต่ฉันต้องการแจ้งเบื้องต้นเกี่ยวกับเวอร์ชันใหม่สำหรับผู้ที่อาจสับสนเกี่ยวกับ Google Earth เวอร์ชันต่างๆ : ขณะนี้มี Google Earth สองเวอร์ชันที่แตกต่างกัน คือ : ได้แก่ Google Earth Pro (สำหรับเดสก์ท็อป OSes: Windows 7+, Mac OS 10.8+ และ Linux) และ Google Earth สำหรับ Chrome และมือถือ (บนเว็บและ Android / IOS) เวอร์ชั่น บนเว็บ / มือถือเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนใหม่บางส่วนใหม่จาก Google Earth เดิม แต่มีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะในเรื่องการเพิ่มเนื้อหา (อ่านได้จากบทความเดือนเมษายนที่ผ่านมา “link ?”) ในทางกลับกัน Google Earth เวอร์ชันเดสก์ท็อป Pro มีคุณลักษณะทั้งหมดสำหรับการสร้างเนื้อหาสะสมจาก 13 ปีที่ผ่านมาของการพัฒนาใน Google Earth รวมทั้งมีเลเยอร์และเนื้อหามากมาย (ตามที่ระบุไว้ในบล็อกนี้ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2548) ในที่สุด Google วางแผนที่จะรวมคุณสมบัติเพิ่มเติมในเวอร์ชัน บนเว็บ / มือถือ แต่ในขณะนี้พวกเขาวางแผนที่จะพัฒนา Google Earth ...

การแก้ปัญหาฟอนต์ภาษาไทยจาก ArcMap บน Google Earth
การนำข้อมูลภูมิสารสนเทศขึ้นไปแสดงบน Google Earth ไม่ใช่เรื่องยาก มีหลายโปรแกรมที่สามารถที่จะ Export ไฟล์นามสกุลต่างๆ ไปเป็น KML หรือ KMZ โดยส่วนตัวแล้วใช้อยู่ 2 โปรแกรม คือ QGIS และ ArcMap ซึ่งโปรแกรม QGIS นั้นสามารถแปลง Shape File ไปเป็น KML ได้ทันทีและไม่มีปัญหาเรื่องฟอนต์ภาษาไทย เพียงแต่ว่ารูปแบบการนำเสนอในส่วนของตาราง จะไม่สวยงามเหมือนกับการแปลง Shape File ไปเป็น KMZ บน ArcMap แต่การมีรูปแบบตารางที่สวยงามก็ทำให้ไม่สามารถแสดงภาษาไทยได้ถูกต้อง ซึ่งแสดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมต่อๆ กัน บังเอิญมีเจ้าหน้าที่ของบริษัท ESRI มาดูเครื่องให้ที่ทำงาน เลยสอบถามและได้วิธีการแก้ไขมาดังนี้ 1. ทำการแปลง Shape File ไปเป็น KMZ แบบปกติ โดยฟังก์ชั่น Layer to KML (แต่โปรแกรมบันทึกเป็น KMZ แล้วทำไม ไม่เขียนว่า Layer to KMZ) 2. ไฟล์ KMZ ที่ได้นำมาแตกไฟล์เป็น KML โดยโปรแกรม 7-Zip (ลองใช้โปรแกรม WinZip, WinRar, หรือเปลี่ยนนามสกุลแล้วไม่ได้) 3. เปิดไฟล์ KML ด้วยโปรแกรมอ่าน Text ทั่วไป ในที่นี้ใช้ Edit Plus 4. แทนที่ชื่อฟอนต์ Arial, Verdana ทั้งหมดในไฟล์ด้วยชื่อฟอนต์ที่อ่านภาษาไทยได้ ในที่นี้เลือกใช้ AngsanaUPC, Tahoma 5. Save ทับไฟล์เดิมและนำไปเปิดบน Google Earth ก็จะแสดงฟอนต์ภาษาไทยได้ปกติ แหล่งที่มา : https://gi4u.wordpress.com ...

การส่งออกข้อมูลเส้นทาง (Route) จาก Google Earth
ปัญหาอย่างหนึ่งที่ได้เจอมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ ต้องการเส้นทางของถนนสายหลักจาก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร ไปยัง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในรูปแบบ Shapefile เพื่อที่จะนำไปใช้สร้าง Buffer และคำนวณพื้นที่ ซึ่งข้อมูลถนน Shapefile ที่มีอยู่ก็ไม่สมบูรณ์ เส้นถนนขาดๆ เกินๆ ไม่ประติดประต่อกัน จะไป Query จากข้อมูล Attribute ก็ไปกันใหญ่ เนื่องจากข้อมูลมีไม่ครบและหายไปเยอะ ถ้าจะให้มาเลือกเส้นทางเองทีละเส้นก็คงจะไปไม่รอด ก็ได้ Google Earth นี่แหละช่วยทำให้ชีวิตการทำงานทางด้าน GIS ง่ายขึ้นเยอะ ซึ่งวิธีการทำก็ไม่ยาก ดังนี้ 1. เปิดโปรแกรม Google Earth และกดปุ่ม “รับเส้นทาง” 2. พิมพ์สถานที่เริ่มต้นและปลายทาง และกดปุ่ม “ขอเส้นทาง” 3. กดปุ่ม “คัดลอก” เพื่อส่งข้อมูลเส้นทางไปยัง “สถานที่ของฉัน” 4. คลิกขวาที่ข้อมูลเส้นทาง 5. เลือก “บันทึกสถานที่เป็น…” และเลือกที่บันทึกไฟล์ในนามสกุล KMZ 6. เปิดโปรแกรม ArcMap และเลือกกลุ่มเครื่องมือ “Search window” 7. พิมพ์ข้อความ “KML to Layer” และกดปุ่มค้นหา 8. เลือกคำสั่ง “KML to Layer” 9. เลือกไฟล์ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้จากข้อที่ 5 และเลือกที่บันทึกไฟล์ใหม่ 10. คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล ที่ต้องการส่งออกเป็น Shapefile 11. เลือกที่บันทึกไฟล์ใหม่เป็น Shapefile ที่มา : gi4u.wordpress.com ...
Google Maps

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) 1. ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information data) 2. ระบบนำเข้าข้อมูล (Data input system) 3. การแปลงข้อมูล (Transformation) โดยการแปลงเป็นเลข (Digitization) 4. การนำเข้าข้อมูลแบบเชิงเส้น (Vector data input) 5. การนำเข้าข้อมูลแรสเตอร์ (Raster data input) 6. ตัวอย่างการนำเข้าข้อมูลจากแผนที่และภาพถ่ายดาวเทียม (Example of map and satellite inputs) 7. การจัดเก็บและการแก้ไขข้อมูล (Data storage and editing) 8. การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนที่ (Map output) 9. ข้อมูล (Data) นิยามและความหมาย สารสนเทศ (Information) การจำแนกประเภทข้อมูล คุณสมบัติของข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ฐานข้อมูลและระบบ การจัดการฐานข้อมูล(Database and database management system) มาตรฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS data standards) มาตรฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS standards) การเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพัฒนามาตรฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขององค์การระหว่างประเทศ (Involvement of international organization in GIS standards and standardization) หลักการหรือแนวคิดเกี่ยวกับมาตรฐาน (The concept of standard) มาตรฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์คืออะไร? (What is GIS standard?) มาตรฐานสารสนเทศภูมิศาสตร์มีความสัมพันธ์กับมาตรฐานอื่นอย่างไรบ้าง? (How are GIS standards related to other ...

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
1. ด้านการใช้ที่ดิน และเกษตรกรรม การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่คุ้มครองเกษตรกรรม การประเมินที่ดินสำหรับหาความเหมาะสมของพืช การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตร 2. ด้านป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ 3. ด้านภัยพิบัติ สึนามิ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย การประยุกต์ใช้กำหนดเขตพื้นที่น้ำท่วมในภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน (จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช) กษัยการของดิน การประยุกต์ใช้เพื่อติดตามพายุไต้ฝุ่นในประเทศไทย 4. ด้านโรคระบาดวิทยา การใช้งานเพื่อการวางแผนด้านสาธารณสุข การศึกษาด้านโรคระบาด : โรคฉี่หนู การศึกษาด้านโรคระบาด : โรคไข้หวัดนก 5. แผนที่จัดเก็บภาษี 6. การจัดการชายฝั่งทะเล 7. การประยุกต์เพื่อสาธารณูปโภค 8. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet GIS) ...