GNSS

การนำเข้าค่าพิกัดสู่เครื่อง GPS

การนำเข้าค่าพิกัดสู่เครื่อง GPS ครั้งนี้จะอธิบายการนำเข้าจาก 2 โปรแกรม ได้แก่ DNR Garmin และ Quantum GIS 1. ใช้โปรแกรม DNR Garmin 1 เมื่อเชื่อมต่อเครื่อง GPS เข้ากับโปรแกรม DNR Garmin จะปรากฏค่าพิกัดขึ้นมา 1.2 จากนั้นให้นำเข้าค่าพิกัด โดยคลิกที่ File --> Load from --> File 1.3 ชนิดของไฟล์ที่สามารถนำเข้าได้ ได้แก่ Shapefile (.shp) ครั้งนี้จะเป็นการนำเข้าในรูปแบบนี้ Dbase (.dbf) Text file (.txt) Google Earth Format (.kml) GPS eXchange Format (.gpx) Lowrance Export Text (.txt) 1.4 เมื่อนำเข้าข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ตัวโปรแกรมจะสอบถามค่า Fields ที่ต้องการระบุ ให้เลือก Ident เป็น Sequential ID ส่วน Comment เลือก ช่อง Name แล้วคลิก OK ไฟล์ข้อมูลค่าพิกัดจะแสดงว่าดาวน์โหลดไฟล์สู่โปรแกรมสำเร็จ จำนวน 10 จุด ดังรูป 1.5 จากนั้นให้ทำการ Upload ไฟล์ค่าพิกัด จำนวน 10 จุด เข้าสู่เครื่อง GPS โดยไปที่เมนู Waypoint เลือก Upload 2. ใช้โปรแกรม Quantum GIS 2.1 ทำการดาวน์โหลดข้อมูลค่าพิกัด GPS เข้าสู่เครื่อง GPS โดยไปที่แถบเมนู Vector ...

พื้นหลักฐาน WGS84

World Geodetic System 1984 WGS84 เป็นพื้นหลักฐานที่มีจุดศูนย์กำเนิดอยู่ที่จุดศูนย์กลางมวลสารของโลก ( Earth’s center of mass) ใครจะรู้บ้างว่า พื้นหลักฐาน WGS84 ที่เราใช้ๆ กันอยู่นั้น ได้ถูกปรับค่ามาแล้วตั้ง 5 ครั้ง ตั้งแต่เริ่มใช้งาน WGS84 Original Epoch 1984.0 Base on ITRF90 WGS84 (G730) Epoch 1994.0 Base on ITRF91 WGS84 (G873) Epoch 1997.0 Base on ITRF94 WGS84 (G1150) Epoch 2001.0 Base on ITRF2000 WGS84 (G1674) Epoch 2005.0 Base on ITRF2008 WGS84 (G1762) Epoch 2005.0 Base on ITRF2008 โดยสาเหตุที่ต้องมีการปรับค่านั้นเนื่องจากระบบ WGS นั้นเป็นระบบพื้นหลักฐานอ้างอิงทั่วโลก แต่ในสภาพความเป็นจริงนั้น โลกเรามีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา ลองนึกถึงว่าเรายืนจับค่าพิกัดอยู่ในเรือที่ลอยอยู่ในน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปค่าพิกัดก็เปลี่ยนตามไปด้วย แต่เปลือกโลกเคลื่อนตัวช้ากว่านั้น ซึ่งอาจจะแค่ระดับเซนติเมตรต่อปี ก่อนจะไปไกลกว่านั้นขอ อธิบายตัวอักษร & ตัวเลขนิดนึง G730 G = GPS, 730 = GPS week number สัปดาห์ของดาวเทียมระบบ GPS Epoch คือยุค 1984, ยุค 1994 ถ้าให้เทียบก็คล้ายๆ Version ประมาณนั้น ในงานที่ต้องการความถูกต้องเชิงตำแหน่งสูงมาก ต้องมีเรื่องกรอบเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างที่บอกไว้ว่ามีเรื่องการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง เกี่ยวพันกับหน่วยงานนึงที่ชื่อ International Earth ...

ระบบระบุพิกัดภายในอาคารเพื่อนสนิทของ GNSS ในอนาคต

ปัจจุบันเรามีระบบระบุพิกัดจากดาวเทียมนำร่องทั่วโลก (Global Navigation Satellites System: GNSS) 4 ระบบใหญ่ๆ ด้วยกันคือ RUSSIA-GLONASS, USA-GPS, EU-GALILEO และ China-BEIDOU ระบบถูกนำมาใช้เพื่ออ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ แต่ทว่าข้อจำกัดของสัญญาณวิทยุที่แพร่กระจายจากดาวเทียมนำร่องอย่างน้อย 4 ดวงนั้นไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ในเขตอาคารที่ซับซ้อนได้ เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามบิน คลังพัสดุ หรือ แม้กระทั้งในเขตชุมชนเมืองหนาแน่นบางพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อเสียของระบบ GNSS ปัญหาเหล่านี้ทำให้ระบบ GNSS ต้องมีการนำข้อมูลจากเซนเซอร์อย่างอื่นเข้ามาประมวลผลร่วมกันเช่น เข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Compass), ตัววัดความเร่ง (Accelerometer sensor), และ Gyroscope sensor หรือแม้กระทั้งระบบกล้องวงจรปิด (Image processing) โดยผ่านระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ เช่น ตัวกรองคาลแมน (Kalman Filter) เป็นต้น เพื่อให้ระบบยังคงประมาณค่าตำแหน่งของผู้ใช้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆอย่างไรก็ตามข้อมูลจากเครื่องรับสัญญาณ GNSS ก็ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญหลักในการประมวลผล จากบทความวิจัยนักวิจัยหลายๆ ท่านได้ให้ความเห็นว่า มนุษย์ส่วนใหญ่นั้นใช้ชีวิตมากกว่า 70{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ภายในอาคาร แต่ยังไม่มีระบบระบุพิกัดใดๆ ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอเข้ามาช่วยงานระบบ GNSS เพื่อให้ข้อมูลพิกัดหรือเส้นทางเมื่อเราต้องการทราบตำแหน่งภายในอาคารได้ ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการทราบว่าร้านค้า A อยู่ห่างจากเรากี่เมตรและต้องเดินเส้นทางไหน?, ห้องน้ำที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ใด?, ประตูขึ้นเครื่องหมายเลข 99 ไปทางไหนใกล้ที่สุด? ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่พบในปัจจุบัน ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวแนะนำถึงความหมายของระบบระบุพิกัดในอาคาร รวมไปถึงเทคนิคที่นักวิจัยใช้ในการวิจัยนั้นมีอะไรบ้างพอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อของเยาวชนไทยในอนาคต รูปที่ 1. ระบบระบุพิกัดในอนาคตสำหรับเมืองต้นแบบ Smart City [1] ระบบระบุพิกัดในอาคาร (Indoor Positioning System, Local-Based Service) คือระบบที่ให้บริการ ตำแหน่ง และ เส้นทางแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับระบบ GNSS ในปัจจุบันโดย มีการนำสัญญาณคลื่นวิทยุ ตัวอย่างเช่น WI-FI IEEE 802.11 a/b/g/n ซึ่งถูกติดตั้งอยู่แล้วเพื่อให้บริการข้อมูลอินเตอร์เน็ต, ตัวปล่อยสัญญาณวิทยุโปโตคลอแบบ XBee หรือ ...

การแปลงพิกัดระหว่าง MGRS เป็น UTM หรือ UTM เป็น MGRS

โพสต์นี้ผมต้องการแสดงวิธีการจำ การแปลงพิกัดระหว่าง MGRS เป็น UTM หรือ UTM เป็น MGRS ในแบบวิธีของผมนะครับ ซึ่งผมอาจจะอธิบายอาจจะไม่ได้ละเอียดตั้งแต่ต้น ที่มาหลายๆ อย่างอย่างเช่นพวกค่ากริดโซน ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเข้าใจกันอยู่แล้ว   สมมติเราได้ค่า MGRS มาค่านึงเช่น  47PML370329 ก่อนอื่นต้องแยกตัวเลขที่ประกอบเป็นชุดนี้ก่อน แยกได้เป็น   47 P M L 370 329 เอาเป็นว่าผมไม่อธิบายที่มา ของ ตัวเลข 47 P ว่ามายังไงนะครับ ผมอยากเน้นเรื่องการแปลงค่าพิกัดทางทหาร MGRS เป็นพิกัดแบบ UTM มากกว่า ตัวที่เราสนใจ คือค่า ML370329 โดยถ้าตัวเลขที่ตามมามีผลต่อเรื่องความแม่นยำเชิงตำแหน่ง …..ถ้าระบุ 47P  เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วง 6 องศา x 8 องศา    (longitude 96-102 ตะวันออก และ latitude 8-16 เหนือ) 47PML  เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัสแสนเมตร หรือ 100 กิโลเมตร 47PML3 3  เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัสหมื่นเมตร หรือ 10 กิโลเมตร 47PML37 32 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัสพันเมตร หรือ 1 กิโลเมตร 47PML370329 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัส 100 เมตร ถ้าอยากจะให้เราถึงระดับ 10 เมตรต้องทำไง ก็เพิ่มตัวเลขเข้าไปอีกหลักนึง คือ 47PML3705 3295 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัส 10 เมตร ถ้าอยากให้รู้ถึงระดับ 1 เมตรก็เพิ่มอีก 1 หลัก ...

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.