การสำรวจอวกาศจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT หรือไม่ ?

ห้วงอวกาศมักเป็นแหล่งของความพิศวงและเกินกว่าจินตนาการ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของยุคอวกาศเมื่อ 60 ปีก่อน มนุษย์เราพยายามอย่างหนักที่จะได้ออกไปสัมผัสห้วงอวกาศ ถึงแม้เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงต่อหนึ่งวันก็ตาม เทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่มนุษย์ได้ลิ้มรสประสบการณ์ในจักรวาล

ยานอวกาศ Apollo 11 ยานลำแรกที่บรรทุกมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้สำเร็จ ที่ซึ่งมีประสิทธิภาพการประมวลผลน้อยกว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน และเมื่อไหร่การสำรวจอวกาศจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT (ระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง) องค์การ NASA และ SpaceX ยังคงต้องมุ่งมั่นกันต่อไปและได้ตั้งเป้าหมายต่อไปคือดาวอังคาร

เอื้อมให้ถึงดวงดาว

มนุษย์เราได้ส่งยานไร้คนขับออกไปสู่จักรวาลที่ไกลมาก ยังเกินว่าจินตนาการจะไปถึง NASA ได้ปล่อยยานอวกาศคู่แฝด Voyager 1 และ Voyager 2 ไปนอกโลกกว่า 40 ปี และออกไปพื้นที่รอบนอกระบบสุริยะ แต่น่าเสียดายขีดจำกัดของเทคโนโลยีและร่างกายมนุษย์ทำให้เราไม่สามารถไปไกลกว่าดวงจันทร์

ปัจจุบัน เป้าหมายของเราคือส่งมนุษย์ไปยังดาวเคราะห์ดวงที่ 4 ของระบบสุริยะ ซึ่งก็คือ ดาวอังคาร (Mars หรือ the Red Planet) องค์การ NASA เชื่อมั่นว่าเราสามารถส่งมนุษย์ไปยังดางอังคารได้ภายในกลางปี พ.ศ. 2573 ในขณะที่ Elon Musk ผู้ที่เป็น CEO ของ SpaceX ตั้งเป้าหมายไว้ในปี พ.ศ. 2583

สำหรับใครหลายคน หากนึกถึงการเดินทางออกไปสู่จักรวาลเป็นความฝันที่เกินจะเอื้อมถึงได้ แต่นั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าคุณไม่สามารถนำห้วงอวกาศมาสู่บ้านคุณได้แทน

การจำลองอวกาศไว้ที่บ้าน

หากคุณมีอุปกรณ์ที่เชื่อมกับ IoT อยู่ที่บ้านแล้ว คุณสามารถเข้าข้อมูลอัพเดตดาวอังคารใน ever-growing database ที่แสดงให้เห็นถึงหน้าตาพื้นผิวของดาวอังคาร อีกทั้งแอพ NASA Mars สร้างขึ้นโดยองค์การ Alexa แอพที่จะคอยตอบคำถามเกี่ยวกับดาวอังคาร

เทคโนโลยี IoT เติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง ระบบนี้ยังมีปัญหาในช่วงเริ่มแรกแต่จะทำให้การเดินทางและการสำรวจอวกาศได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน

การสำรวจอวกาศและตัวคุณ

ในขณะที่ความสามารถในการประมวลผลของเครื่องคิดเลขพกพาอาจเพียงพอที่จะนำมนุษย์ไปสู่ดวงจันทร์และกลับมายังโลกได้ แต่จะต้องใช้ความสามารถที่มากกว่านั้นในการเดินทางไปยังดาวอังคารหรือไกลกว่านั้น นั้นจึงเป็นจุดที่ทำให้เทคโนโลยี IoT เข้ามามีอิทธิพลในการดำรงชีวิต

ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาสนับสนุนการสำรวจอวกาศนั้น ดำเนินการโดยบริษัทโทรคมนาคม Sigfox ริเริ่มโครงการ Mustang จะเชื่อมต่อกับสัญญานดาวเทียมในวงโคจรและอุปกรณ์บนดิน (บนโลก) เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อ IoT เข้ากับสถานที่ที่คล้ายคลึงกับสถานีอวกาศนานาชาติและยานอากาศระหว่างดวงดาว

เมื่อเครือข่ายเป็นที่ยอมรับและผลประโยชน์ที่จะได้อย่างไม่สิ้นสุด

การตรวจสอบเครื่องมือต่าง ๆ : เครือข่าย IoT สามารถใช้เพื่อตรวจสอบระบบนิวเคลียร์ของยานอวกาศ เช่นเดียวกับระบบที่สำคัญอื่น ๆ ความแข็งแรงของภายนอกยาน และการสนับสนุนการใช้ชีวิตบนยานอวกาศ
• การสื่อสารตามเวลาจริง : ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์เสี่ยงต่อการเสียชีวิต การสื่อสารนี้จะช่วยบันทึกการสำรวจของคุณไว้ไม่ให้สูญหายไป
• การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล : ข้อมูลบางส่วนที่ได้มาจากการสำรวจอวกาศนั้นยากที่จะเข้าใจ สามารถใช้เทคโนโลยี IoT เข้ามาช่วยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยให้นักวิจัยเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น

นี่เป็นตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งานที่เป็นไปได้สำหรับอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เมื่อเริ่มเชื่อมต่อการใช้งานกับการเดินทางและการสำรวจอวกาศ

สู่โลกอนาคต

พวกเรากำลังเข้าสู่ยุคสปีซีส์ระหว่างดวงดาว พวกเรามีทั้งความมุ่งมั่นและความเฉลียวฉลาด ตอนนี้เราแค่รอให้เทคโนโลยีไล่ให้ทันกับสิ่งที่เราคาดฝันไว้ ดาวอังคารเป็นเพียงแค่ก้าวแรกในการสำรวจอวกาศ และ IoT จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ยิ่งใหญ่และมีประโยชน์มากที่สุดในการนำพาเราไปยังดาวอังคารแน่ ๆ

ที่มาบทความ : เขียนโดย Kayla Matthews      บันทึก : เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560
สืบค้นจาก : http://www.techzone360.com/topics/techzone/articles/2017/01/11/428670-will-space-exploration-soon-benefit-from-iot-tech.htm#

Keyword ที่ใช้ : การสำรวจอวกาศ
Tag ที่ใช้ : IoT

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.