ก่อนไฟป่า หลังน้ำท่วม

ดาวน์โหลดไฟล์รูปภาพ (6 MB, JPEG, 4042×4042)

ไฟป่าขนาดใหญ่ที่ลุกลามไปมากกว่า 138,000 เอเคอร์ และยังคงลุกไหม้ต่อไป แต่ในลักษณะการลุกไหม้แบบไม่มีควันไฟและขยายพื้นที่อย่างช้า ๆ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการฟื้นฟูผืนป่ากำลังแก้ปัญหานี้อย่างหนัก พวกเขาจำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าควรมุ่งเน้นการฟื้นฟูไปที่บริเวณไหนก่อน ดังนั้นพวกเขาจึงใช้แผนที่เพื่อระบุถึงความเสียของพันธุ์พืชและหน้าดินที่ถูกทำลายด้วยเพลิงไหม้

กลุ่มผู้ดูแลการจัดการพื้นที่เพลิงไหม้ฉุกเฉิน (BAER) ของกองการบริการป่าไม้ในสหรัฐอเมริกา ได้ไปตรวจสอบในสถานที่ทันทีที่ไฟมอดลง หน้าที่ของพวกเขาคือช่วยป้องกันอ่างเก็บน้ำ บริเวณลุ่มน้ำ และโครงสร้างพื้นฐานจากนํ้าท่วมกับการกัดกร่อนของเพลิงไหม้ โดยมีภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยองค์การนาซา ร่วมกับกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งคอยนำทางผู้ร่วมงานไปยังบริเวณป่าไม้ที่ต้องการการฟื้นฟูช่วยเหลือ

ดาวน์โหลดไฟล์รูปภาพ (5 MB, JPEG, 4042×4042)

กลุ่มนักวิจัยร่วมกับศูนย์ RSAC (The Forest Service’s Remote Sensing Applications Center) ศูนย์เพื่อการพัฒนาและการวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกลด้านป่าไม้ ตั้งอยู่ที่เมือง Salt Lake รัฐยูทาห์ ได้ศึกษาภาพถ่ายดาวเทียมที่บันทึกลักษณะป่าไม้ก่อนและหลังเกิดเพลิงไหม้ ด้วยภาพจากระบบเซนเซอร์ OLI (Operational Land Imager) ของดาวเทียม Landsat 8 ขององค์การนาซา แสดงให้เห็นพื้นดินที่ขรุขระรอบ Silver Fire ของ New Mexico ในทั้งสองภาพ ใช้หลักการสีผสมเท็จ (False Color) ด้วยคลื่นอินฟาเรดระยะใกล้ (near infrared) อินฟาเรดคลื่นสั้น (Shortwave infrared) และแสงสีเขียว ทำให้ปรากกฏบริเวณที่ถูกไหม้แสดงเป็นสีแดง บริเวณป่าไม้หรือพื้นที่เพาะปลูกแสดงเป็นสีเขียว และบริเวณพื้นที่เปลือยเปล่าหรือทะเลทรายแสดงเป็นสีน้ำตาล

Jeff Masek นักวิทยาศาสตร์โปรแกรมดาวเทียม Landsat ของนาซ่า ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด (NASA’s Goddard Space Flight Center) อธิบายไว้ว่า ช่วงความยาวคลื่นอินฟาเรดระยะใกล้สะท้อนกลับมายังเซนเซอร์ของดาวเทียม Landsat ทำให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของพืชอย่างชัดเจน แต่บริเวณที่ถูกเพลิงไหม้กลับไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แถบคลื่นความถี่ของอินฟาเรดคลื่นสั้น มีลักษณะเงาแบบเฉพาะตัวสำหรับบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้และพื้นดินที่ถูกทำลาย “สามารถเห็นลักษณะการเผาไหม้อย่างชัดเจนจากอินฟาเรดคลื่นสั้น”

Carl Albury นักวิทยาศาสตร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล ศูนย์การบริการด้านป่าไม้ กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบอัตราส่วนก่อนและหลังเกิดไฟไหม้ป่า ระหว่างภาพที่ใช้อินฟาเรดระยะใกล้และอินฟาเรดคลื่นสั้น ทำให้เราสามารถประเมินระดับการเผาไหม้ได้ จากอัตราส่วนที่ได้มา Carl Albury สร้างแผนที่แบบไม่ละเอียดเกี่ยวกับระดับการเผาไหม้ เรียกว่า BARC (Burned Area Reflectance Classification) ดังภาพแผนที่ด้านล่างนี้ บริเวณสีแดงแสดงถึงพื่นที่เกิดไฟไหม้ป่า

ดาวน์โหลดไฟล์รูปภาพ (5 MB, JPEG, 4042×4042)

Carl Albury ได้กล่าวไว้อีกว่า หากไม่มีแผนที่ BARC นี้ วิธีที่สามารถทราบข้อมูลเหล่านี้ได้ คือการเดินเท้าเข้าไปสำรวจพื้นที่จริงหรือโดยเฮลิคอปเตอร์ ที่ซึ่งยากและอันตรายมาก แผนที่เป็นอุปกรณ์ชี้นำทางให้แก่นักสำรวจถึงสิ่งที่ต้องทำและบริเวณไหนที่ต้องสำรวจ

Carl Albury ได้สร้างแผนที่ BARC สำหรับรูปแบบการเกิดไฟไหม้ป่า ประมาณร้อยกว่ารูปแบบ เช่น เขาได้สร้างแผนที่สำหรับ Silver Fire ในช่วงที่ยังไม่เกิดเพลิงไหม้ เพื่อให้ผู้ร่วมทีมของเขาสามารถทำงานได้เร็วที่สุด สมาชิกกลุ่ม BAER กำหนดและปรับเปลี่ยนโครงสร้างของแผนที่จากการสำรวจภาคพื้นดิน และใช้แผนที่ปรับปรุงใหม่นี้ในการวางแผนโครงการฟื้นฟูหลายโครงการ

Penny Luehring ผู้นำกลุ่มผู้ดูแลการจัดการพื้นที่เพลิงไหม้ฉุกเฉิน (BAER) และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำของศูนย์การบริการป่าไม้กล่าวไว้ว่า หลักสำคัญของโครงการฟื้นฟูเหล่านี้คือความรวดเร็วในการปฏิบัติการ ในด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้ของ California ประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังจากฤดูกาลเกิดไฟไหม้ป่า ก็เริ่มเกิดฝนตกและน้ำท่วม เพราะฉะนั้นเพื่อควบคุมและบรรเทาผลกระทบจากน้ำในเหตุการณ์เหล่านี้ได้ หากมีโอกาสจึงต้องเร่งปฏิบัติการทันที

หลังจากเหตุการณ์ Silver Fire กลุ่ม BAER สามารถระบุถึงพื้นที่ ๆ ถูกเผาไหม้อย่างรุนแรงในพื้นที่ต้นน้ำของชุมชน ที่ตั้งแคมป์ และถนนป่าไม้ สมาชิกกลุ่ม BAER เริ่มฟื้นฟูพื้นที่เหล่านั้นด้วยการเพาะปลูกข้าวบาร์เลย์บนพื้นที่ 11,000 เอเคอร์ ถมหน้าดินด้วยปุ๋ยบนพื้นที่ 800 เอเคอร์ ปิดถนนบางสาย และสิ่งป้องกันภัยจากน้ำต่าง ๆ

ที่มาบทความ : บทความโดย Kate Ramsayer, สำนักข่าววิทยาศาสตร์โลกขององค์การนาซา
บันทึก : เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ที่มารูปภาพ : Neal Herbert/National Park Service
สืบค้นจาก : https://earthobservatory.nasa.gov/IOTD/view.php?id=82023&eocn=image&eoci=related_image

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.