World From Space

พายุเฮอริเคนเออร์มา (ตอนที่ 2)
กล้องถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความละเอียดปานกลาง (MODIS) ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม Terra ขององค์การนาซาได้บันทึกภาพที่สาม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 พายุก็ได้พัดถล่มแองกวิลลาและพร้อมที่จะถล่มหมู่เกาะเวอร์จิน ภาพเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ไม่เพียงแต่กระแสลมของพายุเฮอริเคนเออร์มาที่มีกำลังแรงเท่านั้น ความแรงกระแสลมยังแผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางอย่างไม่น่าเชื่อ กระแสลมระดับพายุเฮอริเคนมีความกว้างถึง 50 ไมล์ (85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) จากศูนย์กลางพายุ กระแสลมระดับเขตร้อนมีความกว้างถึง 185 ไมล์ หรือ (295 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) นักอุตุนิยมวิทยาได้บันทึกไว้ว่าพายุเฮอริเคนมีความกดอากาศที่ศูนย์กลางอยู่ที่ (914 มิลลิบาร์) ต่ำที่สุดเท่าที่วัดได้สำหรับพายุที่อยู่นอกอ่าวแมกซิโกและทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตก วันที่ 6 กันยายน พายุเฮอริเคนเออร์มา นักอุตุนิยมวิทยาได้ใช้ถ้อยคำว่าพลังงานสะสมของพายุไซโคลน ซึ่งบรรยายว่าพายุเฮอริเคนเออร์มานั้นมีอำนาจการทำลายล้างมากกว่าพายุที่เกิดขึ้นไปแล้วในฤดูพายุ 8 ลูกแรกในมหาสมุทรแอตแลนติกรวมกันของปี 2560 ตามที่นักอุตุนิยมวิทยาชื่อนาย Philip Klotzbach แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดกล่าวไว้ พายุเฮอริเคนเออร์มาได้ทำลายสถิติในการสะสมพลังงานเป็นพายุไซโคลนมากที่สุดในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เฮอริเคนแห่งชาติอยากให้เฮอริเคนลูกนี้เปลี่ยนทิศไปทางเหนือถึงตะวันตกเฉียงเหนือหลังจากเฉียด เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน และ ไฮติ ต่อจากนั้นการพยากรณ์ได้เผยให้เห็นว่าเส้นทางเดินของพายุเฮอริเคนเออร์มา มีแนวทางเคลื่อนผ่านไปหรือใกล้กับเติร์กและหมู่เกาะเคคอส บาฮามาส และจะขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าในที่สุด การพยากรณ์ทิศทางของพายุเฮอริเคนยังคงมีความซับซ้อนและท้าทายยิ่งนัก แต่นักอุตุนิยมวิทยากลับมีทักษะมากยิ่งขึ้นกับการพยากรณ์ทั้งการเฝ้าติดตามและความรุนแรงของพายุต่าง ๆ ในกว่าทศวรรษที่ผ่านมา การพยากรณ์การเฝ้าติดตามเส้นทางเดินพายุห้าวันล่วงหน้า ณ ตอนนี้ดีกว่าการพยากรณ์สองวันล่วงหน้าเมื่อย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2528 นักวิจัยอุตุนิยมวิทยาแห่งศูนย์ Goddard Space Flight ของ องค์การนาซา นาย Scott Braun กล่าวว่า “การพยากรณ์ความรุนแรงพายุพัฒนาไปช้าแต่ก็ได้นำมาใช้หลังปี พ.ศ. 2552 การแก้ไขปรับปรุงเป็นผลมาจากการลงทุนต่าง ๆ อันนำมาซึ่งแบบจำลองต่าง ๆ ที่ดีกว่า ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการร่วมมือประสานการพยากรณ์และการร่วมกันปรับปรุงฐานข้อมูลทางเทคนิค” หากคุณอาศัยอยู่ใกล้ที่ใดก็ตามที่เป็นไปได้ว่าเป็นเส้นทางพายุเฮอริเคนเออร์มา กรุณาเข้าไปที่เว็บไซต์การเตรียมพร้อมรับมือพายุเฮอริเคน ในส่วนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ที่มาบทความ : Daily Express บันทึก : เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ ...

ดาวเทียมสำรวจความชื้นของดินในช่วงที่เกิดพายุเฮอร์ริเคน Harvey
ดาวเทียมสำรวจความชื้นของดินในช่วงที่เกิดพายุเฮอร์ริเคน Harvey ตั้งแต่เกิดเฮอร์ริเคน Harvey เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ปริมาณน้ำฝนลดลงมากเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะรอบ ๆ เมืองฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส เมื่อวานพวกเขาเผยการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนโดยอ้างอิงข้อมูลจากดาวเทียม ในขณะที่ภาพของวันนี้แสดงถึงผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 19-27 สิงหาคม พ.ศ. 2560 แผนที่ด้านบนแสดงถึงสภาพของดินโดยรอบทางตอนใต้ของรัฐเท็กซัสในวันที่ 27 สิงหาคม เปรียบเทียบกับวันที่ 19 สิงหาคม สีต่าง ๆ บนแผนที่แสดงถึงปริมาณความชื้นของดิน โดยสีที่เข้มที่สุดแทนดินที่ใกล้อิ่มตัวหรืออิ่มตัวแล้ว และขนาดของหกเหลี่ยมแสดงถึงระดับการเปลี่ยนแปลงความชื้นของดินตั้งแต่วันก่อนเกิดเฮอร์ริเคน Harvey จนถึงช่วงกลางของเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนนี้ซึ่งถือเป็นวันที่สามารถเก็บข้อมูลได้ล่าสุด สำหรับโดยรอบเมืองฮิวส์ตัน แสดงข้อมูลเพียงบางส่วน เนื่องจากพื้นผิวของพื้นที่แถวนั้น น้ำไม่สามารถผ่านได้ เช่น ถนน ตึก และโครงสร้างพื้นฐาน อุตุนิยมวิทยาและรายงานการติดตามภัยแล้งก่อนที่จะเกิดพายุเฮอร์ริเคนแสดงถึงความแห้งแล้งที่ผิดปกติที่ทุเลาลงในพื้นที่ตอนเหนือและตะวันตกของเมืองฮิวส์ตัน รวมถึงใกล้เมือง Chorpus Christi ด้วย ในขณะที่พื้นที่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองฮิวส์ตัน ค่อนข้างมีฝนมาก นักอุตุนิยมวิทยาจาก Southeast Regional Climate Center บันทึกไว้ในวันที่ 23 สิงหาคมซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดพายุเฮอร์ริเคน Harvey ว่า รัฐเท็กซัส หลุยเซียร์นา และรัฐอื่น ๆ ทางตอนใต้กำลังจะเกิดฝนตกหนักมากที่สุดเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน ข้อมูลที่ใช้ในแผนที่ด้านบนมาจากดาวเทียม Soil Moisture Active Passive (SMAP) ซึ่งใช้เครื่องวัดพลังงานรังสีในการวัดความชื้นของดินในระยะความลึก 5 เซนติเมตรจากพื้นดิน มีความละเอียดประมาณ 9 กิโลมิเตอร์ต่อพิกเซล คุณสามารถเห็นข้อมูลภาพที่ได้จาก SMAP เปรียบเทียบก่อนและหลังการเกิดเฮอร์ริเคนตามรูปด้านล่าง ณ วันที่ 21 และ 22 สิงหาคม 2560 และ วันที่ 25 และ 26 สิงหาคม 2560 จากการสำรวจแบบ SMAP พบว่า ก่อนการเกิดพายุเฮอร์ริเคน ระดับความชื้นของดินอยู่ในช่วง 20 ...

ประเทศอาร์เจนตินาในยามค่ำคืน
ภาพในปี พ.ศ. 2560 - เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลง เมื่อมองลงมาจากดาวเทียมในเวลากลางวัน พื้นโลกบริเวณศูนย์กลางประเทศอาร์เจนตินาแสดงให้เห็นถึงการลงหลักปักฐานของมนุษย์เรา แต่ในช่วงเวลากลางคืนสถานที่ต่าง ๆ จะเหมือนจุดเรืองแสงเชื่อมต่อกันเป็นเส้นยาว แสงสว่างที่ปรากฏท่ามกลางความมืด บดบังความเป็นตัวตนของเมืองต่าง ๆ เอาไว้หมด จุดแสงไฟเหล่านี้จะปรากฏในทุก ๆ 30-50 กิโลเมตร (คร่าว ๆ ประมาณ 20-30 ไมล์) ตามเมืองต่าง ๆ อยู่รอบสถานีรถไฟ แผนที่จากช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ได้บันทึกเครือข่ายการเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟที่มีลักษณะแปลกตาเอาไว้ วันนี้รถยนต์ได้รับความนิยมกว่ารถไฟมาก แต่เส้นทางรถไฟก็ยังคงอยู่ตามพื้นที่ทั่วไป เส้นทางบางสายสามารถมองเห็นได้จากอวกาศ เช่นสายที่วิ่งขนานระหว่างเมืองคอร์โดบาและวิลล่า มาเรีย เช่นเดียวกับแนวเส้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่วิ่งผ่านเมืองริโอควารโด ในภาพที่สองแสดงให้เห็นถึงผลสำรวจแสงไฟยามค่ำคืนของเมืองอาร์เจนตินาในปี พ.ศ. 2560 ภาพนี้ถูกทำมาจากการรวมส่วนต่าง ๆ ของโลกโดยเก็บเกี่ยวข้อมูลจากคืนที่ท้องฟ้าสดใสที่สุดในแต่ละเดือน ด้วยเครื่อง Visible Infrared imaging Radiometer Suite (VIIRS) บนดาวเทียม NASA-NOAA Suomi NPP เครื่อง VIIRS นี้ทำงานด้วยระบบพิเศษ day/night band ซึ่งเป็นเซนเซอร์ที่ระดับแสงต่ำที่ตรวจวัดการแผ่รังสีและการสะท้อนแสง จะช่วยให้นักวิจัยสามารถแยกแยะความหนาแน่น ประเภท และแหล่งแสงไฟตอนกลางคืน และเพื่อเฝ้าสังเกตการณ์การเปลี่ยนแปลงช่วงข้ามคืน ภาพถ่ายสีตามธรรมชาติ (ด้านซ้าย) เป็นภาพถ่ายจากดาวเทียม Aqua และ Terra โดยเครื่อง Moderate Resolution imaging Spectroradiometer (MODIS) บันทึกพื้นที่บริเวณเดียวกันในช่วงเวลากลางวันที่ซึ่งไร้เมฆปกคลุม มีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกและปศุสัตว์ทั่วไปทั้งอณาเขต ผู้คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศ รวมถึงเมืองคอร์โดบาและซานตาเฟ เนื่องจากองค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทำให้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของประเทศอาร์เจนตินาอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท ที่มาบทความ : บทความโดย Pola Lem บันทึก : เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สืบค้นจาก : https://earthobservatory.nasa.gov/IOTD/view.php?id=90265 ...

A-68 ที่ล่องลอยอย่างไม่มีจุดหมาย
ภาพเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 มีหลายเหตุการณ์ได้เกิดขึ้น ณ คาบสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Peninsula) ภายใต้คืนมืดที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งขั้วโลกในปี 2560 นั่นคือ “การหลุดตัว” (calving) ของภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ (iceberg) จากหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี (Larsen C ice shelf) ในเดือนกรกฎาคม นักวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยข้อมูลที่พิจารณาทั้งจากด้านอุณหภูมิและจากเรดาร์ เพื่อสังเกตรอยแตกแยกและเพื่อเฝ้าดูการเคลื่อนตัวที่จะตามมาในภายหลังของก้อนน้ำแข็ง กระทั่งในเดือนสิงหาคม นักวิทยาศาสตร์ได้รับภาพของภูเขาน้ำแข็งก้อนใหม่ที่แสงอาทิตย์ส่องถึงเป็นครั้งแรก ซึ่งศูนย์สังเกตการณ์สภาพน้ำแข็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (US National Ice Center) ตั้งชื่อว่า A-68 เครื่องวัดความละเอียดในระดับปานกลาง (MODIS) บนดาวเทียม Terra ขององค์การนาซา ได้จับภาพมุมกว้างของภูเขาน้ำแข็งนี้ในวันที่ 11 กันยายน และอีกหลายวันต่อมาในวันที่ 16 กันยายน อุปกรณ์บันทึกข้อมูล Operational Land Imager (OLI) และ Thermal Infrared Sensor (TIRS) บนดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติแลนด์แซท 8 (Landsat 8)ได้จับภาพรายละเอียดของภูเขานี้ได้อีก ภาพด้านซ้ายมือ แสดงภูเขาน้ำแข็งในลักษณะที่เป็นภาพสีผสมจริงตามธรรมชาติของมัน จะเห็นร่องรอยการแตกแยกของก้อนภูเขาน้ำแข็งหลักและหิ้งน้ำแข็งขยายกว้างออก ในขณะที่ก้อนเมฆที่อยู่เหนือไปทางตะวันออกได้ฉายเงาลงบนภูเขาน้ำแข็ง ส่วนภาพด้านขาวมือ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลด้านอุณหภูมิ แสดงพื้นที่เดียวกัน แต่ในลักษณะภาพสีผสมเท็จ สังเกตได้ว่าก้อนเมฆเหนือหิ้งน้ำแข็งไม่ได้แสดงอะไรเหมือนเช่นที่ภาพจากอุณหภูมิแสดงออกมา เป็นเพราะว่ามันมีอุณหภูมิเดียวกันกับหิ้งน้ำแข็งเลย ภาพที่พิจารณาจากอุณหภูมิจึงมีข้อดีคือ สามารถแสดงขอบเขตที่เป็นจุดสิ้นสุดของบริเวณน้ำแข็งที่เย็นกว่า กับจุดเริ่มต้นของน้ำที่อุ่นในทะเล Weddell (Weddell Sea) นอกจากนี้ยังสามารถบ่งชี้ความแตกต่างของความหนาของน้ำแข็งได้ด้วย ตัวอย่างเช่น “me’lange” มีความหนากว่า (ซึ่งแสดงสัญญาณที่เย็นกว่า) น้ำแข็งฟราซิล (frazil ice) แต่มีความบางกว่า (ซึ่งแสดงสัญญาณที่อุ่นกว่า) หิ้งน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็ง ภาพข้างล่างต่อไปนี้ แสดงความบางของชิ้นน้ำแข็งฟราซิล (ซึ่งไม่สามารถต้านทานกระแสลม กระแสน้ำขึ้นน้ำลงได้มากนัก) และแสดงแนวโน้มการเคลื่อนที่ของภูเขาน้ำแข็งก้อนใหญ่นี้ ที่ห่างออกจากหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี (Larsen C) ในช่วงหลายสัปดาห์ของการสังเกตการณ์ นักวิทยาศาสตร์ได้พบการขยายของรอยแตกระหว่างภูเขาน้ำแข็งกับหิ้งน้ำแข็งที่กว้างออกไปมากขึ้น การขยายตัวออกอย่างช้า ๆ ...
Geoinformatics

การสำรวจอวกาศจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT หรือไม่ ?
ห้วงอวกาศมักเป็นแหล่งของความพิศวงและเกินกว่าจินตนาการ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของยุคอวกาศเมื่อ 60 ปีก่อน มนุษย์เราพยายามอย่างหนักที่จะได้ออกไปสัมผัสห้วงอวกาศ ถึงแม้เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงต่อหนึ่งวันก็ตาม เทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่มนุษย์ได้ลิ้มรสประสบการณ์ในจักรวาล ยานอวกาศ Apollo 11 ยานลำแรกที่บรรทุกมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้สำเร็จ ที่ซึ่งมีประสิทธิภาพการประมวลผลน้อยกว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน และเมื่อไหร่การสำรวจอวกาศจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT (ระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง) องค์การ NASA และ SpaceX ยังคงต้องมุ่งมั่นกันต่อไปและได้ตั้งเป้าหมายต่อไปคือดาวอังคาร เอื้อมให้ถึงดวงดาว มนุษย์เราได้ส่งยานไร้คนขับออกไปสู่จักรวาลที่ไกลมาก ยังเกินว่าจินตนาการจะไปถึง NASA ได้ปล่อยยานอวกาศคู่แฝด Voyager 1 และ Voyager 2 ไปนอกโลกกว่า 40 ปี และออกไปพื้นที่รอบนอกระบบสุริยะ แต่น่าเสียดายขีดจำกัดของเทคโนโลยีและร่างกายมนุษย์ทำให้เราไม่สามารถไปไกลกว่าดวงจันทร์ ปัจจุบัน เป้าหมายของเราคือส่งมนุษย์ไปยังดาวเคราะห์ดวงที่ 4 ของระบบสุริยะ ซึ่งก็คือ ดาวอังคาร (Mars หรือ the Red Planet) องค์การ NASA เชื่อมั่นว่าเราสามารถส่งมนุษย์ไปยังดางอังคารได้ภายในกลางปี พ.ศ. 2573 ในขณะที่ Elon Musk ผู้ที่เป็น CEO ของ SpaceX ตั้งเป้าหมายไว้ในปี พ.ศ. 2583 สำหรับใครหลายคน หากนึกถึงการเดินทางออกไปสู่จักรวาลเป็นความฝันที่เกินจะเอื้อมถึงได้ แต่นั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าคุณไม่สามารถนำห้วงอวกาศมาสู่บ้านคุณได้แทน การจำลองอวกาศไว้ที่บ้าน หากคุณมีอุปกรณ์ที่เชื่อมกับ IoT อยู่ที่บ้านแล้ว คุณสามารถเข้าข้อมูลอัพเดตดาวอังคารใน ever-growing database ที่แสดงให้เห็นถึงหน้าตาพื้นผิวของดาวอังคาร อีกทั้งแอพ NASA Mars สร้างขึ้นโดยองค์การ Alexa แอพที่จะคอยตอบคำถามเกี่ยวกับดาวอังคาร เทคโนโลยี IoT เติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง ระบบนี้ยังมีปัญหาในช่วงเริ่มแรกแต่จะทำให้การเดินทางและการสำรวจอวกาศได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน การสำรวจอวกาศและตัวคุณ ในขณะที่ความสามารถในการประมวลผลของเครื่องคิดเลขพกพาอาจเพียงพอที่จะนำมนุษย์ไปสู่ดวงจันทร์และกลับมายังโลกได้ แต่จะต้องใช้ความสามารถที่มากกว่านั้นในการเดินทางไปยังดาวอังคารหรือไกลกว่านั้น นั้นจึงเป็นจุดที่ทำให้เทคโนโลยี IoT เข้ามามีอิทธิพลในการดำรงชีวิต ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาสนับสนุนการสำรวจอวกาศนั้น ดำเนินการโดยบริษัทโทรคมนาคม Sigfox ริเริ่มโครงการ Mustang จะเชื่อมต่อกับสัญญานดาวเทียมในวงโคจรและอุปกรณ์บนดิน (บนโลก) เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อ IoT เข้ากับสถานที่ที่คล้ายคลึงกับสถานีอวกาศนานาชาติและยานอากาศระหว่างดวงดาว ...

ทำภาพ 3D ไม่ง้อ Arcscene
หากใครเคยต้องการทำภาพ 3D บริเวณใด บริเวณหนึ่ง คงต้องปวดหัวแน่นอน กับการต้องเตรียม ทั้งภาพ ดาวเทียม Dem software ซึ่งส่วนมากที่เราใช้กัน คือ Software Arcscene ของค่าย ESRI แต่ทำออกมาแล้วก็ไม่สวยงาม วันนี้เลยใช้ความสามารถ ของ Google Earth ในการทำภาพ 3D โดย software ที่ต้องใช้คือ Maptiler Download ที่ http://www.maptiler.org/ และ Google Earth วิธีการคือ นำภาพ ที่ต้องการทำ 3D มาทำ tile image เพื่อนำไปแสดงผลบน google earth เปิด software Maptiler เลือก Google Earth (KML Super overlay) เสร็จแล้ว Continue เลือกภาพ Add Continue เลือกระบบพิกัด Continue เลือกระดับการสร้างPyramid Continue เลือกที่เก็บ file Continue ไปเรื่อยๆ จนถึง Render เมื่อ render เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เปิด folder ที่เก็บ file จะเจอ file doc.kml Double-click เพื่อเปิดด้วย google earth capture หน้าจอเพื่อนำไปใช้งานต่อไป ข้อดีคือ มีภาพพื้นที่บริเวณอื่นๆ ติดอยู่ในภาพด้วย ไม่เหมือน Arcscene ที่มีภาพเฉพาะบริเวณที่ทำ 3D เท่านั้น ที่มา : geo2ass.wordpress.com ...

อากาศยานไร้คนขับที่มีความแม่นยำสูง ระบบ GNSS: คือเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจในขณะนี้
เป็นช่วงเวลาที่ยุ่งมากในสองสามเดือนที่ผ่านมานี้ ในเรื่องเกี่ยวกับ UAVs โครงการ GNSS ความแม่นยำสูง และ GIS ประกอบกับมีการประชุมเชิงปฏิบัติการต่างๆเข้ามาแทรกในช่วงนั้นด้วย เทคโนโลยี GNSS และ UAV ความแม่นยำสูงกำลังเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก UAVs: ที่ผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer) และการทำแผนที่บนทางลาดชัน เห็นได้ชัดว่า UAVs สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป (Consumer) ได้รับความสนใจอย่างมาก ในกลุ่มตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ห้าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) เริ่มให้ UAVs ลงทะเบียนในปลายปี พ.ศ. 2558 ในปัจจุบัน UAVs กว่าเจ็ดแสนลำได้ทำลงทะเบียนกับ FAA แล้ว ซึ่งมีจำนวนมากกว่าอากาศยานที่มีคนขับถึงสามแสนสองหมื่นลำ ในความเป็นจริง จำนวนที่อากาศยานไร้คนขับ UAVs ลงทะเบียนมีมากกว่าจำนวนการจดทะเบียนของอากาศยานที่มีคนขับมานานแล้ว (มากกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา) FAA รายงานว่า ณ จุดใดจุดหนึ่งในระหว่างวัน มีอากาศยานที่มีคนขับบินอยู่เหนือน่านฟ้าอเมริกาถึงเจ็ดพันลำ นั่นชวนให้เราสงสัยว่า มีอากาศยานไร้คนขับกี่ลำที่กำลังบินอยู่เหนือศีรษะเราตรงจุดที่เราอยู่ในเวลานั้น? ไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ อาศัยความช่วยเหลือจากผู้บริโภค หลักๆของ UAVs ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาเป็นการใช้ในโลกการค้าเสียมากกว่า ตั้งแต่เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559 FAA อนุญาตให้ใครก็ตามสามารถบิน UAVs เพื่อธุรกิจได้ ($150 และตอบ 42 ข้อได้ถูกต้องจาก 60 คำถาม) บริษัทจำนวนมากมายกำลังซื้อ UAVs ที่ “ผู้บริโภคผลิตเอง” และใช้ประโยชน์มากมายจากพวกมัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้บริโภคผลิตขึ้นเองเป็นอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ตลาดผู้บริโภคและยังมีคุณภาพมากพอที่จะนำมาใช้ในธุรกิจ ตลาดอากาศยานไร้คนขับคือตัวอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ DJI เป็นบริษัทผู้ผลิตอากาศยานไร้คนขับที่ใหญ่ที่สุดในโลก รายได้อยู่กว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เป้าหมายอยู่ที่ตลาดผู้บริโภคเป็นหลักและขายอากาศยานไร้คนขับประสิทธิภาพระดับล่าง กลาง และ ระดับสูง ให้กับธุรกิจต่างๆ เป็นจำนวนมาก ลองคิดดูซิ คุณสามารถซื้อ DJI Phantom 4 Pro ได้ที่ร้าน Apple Store และ ในวันต่อมาสามารถสร้างแผนที่ชั้นความสูง (Elevation contours) สำหรับไซต์งานได้ ต่อมาคือตัวอย่างของโรงงานกระดาษที่ผมได้บินมาเมื่อสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมบินน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ...

Sentinel-2 – มากกว่าที่ตาเห็น
ยินดีต้อนรับสู่ ArcGIS Living Atlas of the World ทุก ๆ วันเราใช้ภาพในการชี้นำ และการสังเกตการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัวเรา ในหลาย ๆ ครั้ง เรายึดเอาสิ่งที่เห็นเป็นหลักว่า สิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นอย่างที่เราคิดว่ามันควรเป็น บางครั้งเราวิเคราะห์และตรวจสอบสิ่งที่อาจจะไม่คุ้นชิน หรือ ในบางครั้งการเปลี่ยนมุมมองใหม่ อาจจะทำให้เราเข้าใจอะไรเพิ่มเติมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อเราพยายามทำความเข้าใจโลกของเรามากขึ้นโดยมองภาพและวิเคราะห์ในมุมที่กว้างขึ้น อีเอสอาร์ไอกำลังปล่อยภาพจากดาวเทียม Sentinel-2 ให้ผู้ใช้บริการ อีเอสอาร์ไอ ผู้ใช้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการทางการเกษตร การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงหน้าดิน การสำรวจแหล่งพลังงาน การวางแผนรับมือและบรรเทาทุกข์จากภัยธรรมชาติ รวมไปถึงผู้รับผิดชอบในด้านอื่นๆ ต่างก็มีเครื่องมือใหม่ที่ทรงพลังในการทำงาน ในขณะนี้ดาวเทียม Sentinel-2 กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ArcGIS Living Atlas of the World ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลสำคัญทางภูมิศาสตร์ทั่วโลก บริการทดลองใช้จาก Sentinel-2 ของอีเอสอาร์ไอ สนับสนุนโดย ArcGIS Image Server ซึ่งจะมีการอัพเดตภาพ Sentinel-2 รายวัน มีการเก็บย้อนหลัง 14 เดือน และ มีข้อมูลทั้งหมด 13 ชุด การวิเคราะห์ภาพสามารถใช้เพื่อสร้างดัชนีที่แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น คุณภาพผลิตผลทางการเกษตรหรือความชื้นในดินตลอดจนการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณ ตัวอย่างที่น่าสนใจและกรณีการนำไปใช้ Sentinel-2 แสดงภาพคุณภาพแปลงเกษตรและปริมาณน้ำเพื่อตรวจสอบและบริหารจัดการเกษตรกรรมบนโลก ภาพตัวอย่างแสดง แปลงการเกษตรต่างๆจากชุดข้อมูลที่ได้จาก Sentinel-2 : ภาพสีธรรมชาติ (ซ้าย) แสดงคลื่นแสงที่ดวงตาของเราสามารถรับรู้ได้โดยธรรมชาติ, คลื่นช่วงสั้นอินฟาเรดของพืชพรรณ (กลาง) แสดงพืชพรรณที่แข็งแรงที่สุดเป็นสีเขียวสว่างและ ดัชนีความชื้นของน้ำ (ขวา ) แสดงระดับความชื้นสูงที่สุดเป็นสีฟ้า สัญญานความร้อนใช้ในการระบุการเผาไหม้ของน้ำมันและบ่อก๊าซธรรมชาติและจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาพตัวอย่างแสดงบ่อน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติในตะวันออกกลาง :ภาพสีธรรมชาติ (ซ้าย) แสดงคลื่นแสงที่ดวงตาของเราสามารถรับรู้ได้โดยธรรมชาติและคลื่นช่วงสั้นอินฟาเรด (ขวา) แสดงภาพที่ทำให้คุณสามารถมองเห็นการเผาไหม้ของบ่อน้ำมันได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในภาพสีธรรมชาติ สัญญานความร้อน และความสามารถในการมองเห็นผ่านควัน สามารถใช้ในการจัดการไฟป่า ภาพตัวอย่างแสดงถึงไฟป่าที่รัฐโอคลาโฮมาจากชุดข้อมูลของ Sentinel-2 : ภาพสีธรรมชาติ (ซ้าย) แสดงคลื่นแสงที่ดวงตาของเราสามารถรับรู้ได้โดยธรรมชาติ คลื่นช่วงสั้นอินฟาเรดและคลื่นใกล้อินฟาเรดแสดงจุดที่เผาไหม้ของไฟป่าและแสดงบริเวณที่ไฟเผาไปแล้ว และบริเวณที่กว้างกว่าของคลื่นสั้นอินฟาเรด (ขวา) ...
Drone

จีนเริ่มใช้โดรนในการส่งอาหาร
คุณไม่จำเป็นต้องรอโดรนส่งอาหาร ถ้าคุณอยู่ในย่านในเมืองของประเทศจีน บริการส่งอาหารออนไลน์ของยักษ์ใหญ่ Alibaba ชื่อว่า ‘Ele.me’ ได้รับอนุญาตให้ใช้โดรนส่งอาหารในย่านอุตสาหกรรม Jinshan เมืองเซียงไฮ บริการนี้ไม่ได้นำอาหารมาส่งถึงหน้าประตูบ้าน แต่ช่วยประหยัดเวลา โดยส่งทั้งหมด 17 เส้นทางที่มีจุดนัดพบวางสินค้า 2 จุด อาหารจะมาส่งภายใน 20 นาที ซึ่งถ้าต้องฝ่ารถติดในเวลาเพียงเท่านี้นั้นเป็นไปไม่ได้เลย ถึงแม้จะใช้ระบบออโตเมชั่น Ele.me เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับคนขับ ใช้มนุษย์เพียงแค่ประมาณ 15{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ของเส้นทาง เป็นการลดต้นทุนในการดำเนินกิจการเป็นอย่างมาก การขนส่งปัจจุบันทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 5 เท่า วิธีที่ว่านี้ใช้ไม่ได้ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหลัก คุณอาจคิดว่า Ele.me กำลังใช้ทางลัดเพื่อใช้โดรนให้บริการ ซึ่งในขณะเดียวกันบริษัทในจีนก็มีข้อได้เปรียบในการใช้โดรนบริการ เพราะสหรัฐฯเพิ่งเริ่มพิจารณากฎซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้โดรนในการขนส่งได้ โดยที่แคมเปญ Made in China 2025 ให้ทุนการลงทุนและเงินกู้เพื่อช่วยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเช่นนี้ อาจจะเป็นนำหน้าที่ไม่นานนัก แต่ก็ทำให้ใครๆอิจฉาชาวเซี่ยงไฮ้ที่สามารถรอรับอาหารส่งได้ทางอากาศ ที่มาบทความ : Jon Fingas วันที่สืบค้น : 30 พฤษภาคม 2561 สืบค้นจาก : http://blogs.discovermagazine.com/drone360/2017/11/07/google-street-view-with-drones/#.W2CMPtUzZhE ...

12 ประโยชน์ของโดรน
1.ช่วยชีวิต โดรนช่วยสำรวจความเสียหาย ระบุตำแหน่งผู้บาดเจ็บหรือผู้สูญหาย และ ประเมินความเสี่ยงในสถานการณ์ต่างๆ โดยทีมกู้ภัยและแพทย์ฉุกเฉินไม่ต้องเสี่ยงชีวิตในการช่วยเหลือในภัยพิบัติทั้งแบบที่เกิดจากมนุษย์และธรรมชาติ 2.ศึกษาพายุเฮอริเคน โดรนสามารถเข้าไปในใจกลางพายุโดยไม่ต้องเสี่ยงชีวิตมนุษย์เพื่อเก็บข้อมูลให้นักวิจัยวิเคราะห์และพัฒนาการพยากรณภัยธรรมชาติ 3.ตรวจสภาพสิ่งก่อสร้าง การตรวจสภาพสิ่งก่อสร้างที่มีความยาก แพง และเสี่ยงภัย หรือ พื้นที่ที่เข้าถึงยากไม่ว่าจะเป็นใต้สะพาน หรือบนยอดตึกสูง ไม่จำเป็นต้องใช้นั่งร้าน เครน หรือ สายรัดวุ่นวายต่างอีกต่อไป เพียงแค่ปล่อยระบบโดรนสำรวจก็สามารถทำการตรวจสภาพต่างๆในระยะไกลได้อย่างง่ายดาย 4.ลดขั้นตอนการจัดการทางการเกษตร การใช้ระบบโดรนช่วยในการจัดการการเพาะปลูกเพื่อ สังเกต ตรวจวัด และตอบสนองความต้องการของพืชแต่ละชนิด ทำให้สามารถจัดการบริเวณที่ต้องการการดูแลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทำให้ผลผลิตดีขึ้น อนุรักษ์ทรัพยากร และป้องกันการสิ้นเปลืองต่างๆ 5.ช่วยบังคับใช้กฎหมาย โดรนช่วยตามหาเด็กที่สูญหาย ช่วยในการตรวจตรา ติดตาม สืบสวนอุบัติเหตุและ เฝ้าระวังในกลุ่มคนจำนวนมาก 6.การถ่ายภาพทางอากาศ โดรนช่วยถ่ายทอดภาพในมุมที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ โดยโดรนสามารถถ่ายทอดภาพทางอากาศสำหรับข่าว ถ่ายทำภาพยนตร์ หรือภาพที่ให้ประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ 7.ส่งสินค้า โดรนช่วยส่งพัสดุ อาหารหรือสินค้าต่างๆ ให้ผู้บริโภคในระยะไกล 8.ปกป้องธรรมชาติ โดรนสามารถช่วยติดตามการคุกคามสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ กลุ่มอาชญากร และนักค้าสัตว์ป่า และยังสามารถค้นหาและติดตามการเคลื่อนไหวของสัตว์ใกล้สูญพันธ์อีกด้วย 9.สร้างแผนที่ 3D สร้างสามารถใช้สำรวจภูมิประเทศต่างๆ นำภาพมาประมวลรวมและสร้างแผนที่สามมิติขึ้นมา 10.นำเที่ยว โดรนสามารถช่วยโฆษณาทางธุรกิจได้ เช่นการปล่อยคูปองในกลุ่มฝูงชน หรือบินขึ้นเหนือฝูงชนเพื่อแสดงป้ายโฆษณา ซึ่งเป็นการโฆษณาที่ประหยัดต้นทุนมากที่สุดเลยทีเดียว 11.โฆษณา โดรนสามารถช่วยโฆษณาทางธุรกิจได้ เช่นการปล่อยคูปองในกลุ่มฝูงชน หรือบินขึ้นเหนือฝูงชนเพื่อแสดงป้ายโฆษณา ซึ่งเป็นการโฆษณาที่ประหยัดต้นทุนมากที่สุดเลยทีเดียว 12.จัดการคลังสินค้า โดรนช่วยให้สามารถมองเห็นบริเวณคลังสินค้าในบริเวณกว้างโดยไม่ต้องออกไปจากออฟฟิสเลย อย่างเช่นดีลเลอร์ขายรถสามารถใช้โดรนในการช่วยจัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่มาบทความ : futurism สืบค้นจาก : https://futurism.com/images/benefitsofdrones/ ...

นักวิทยาศาสตร์ต้องการทำ ‘กูเกิล สตรีตวิว’ ขึ้นใหม่โดยใช้โดรน
กูเกิล สตรีตวิว เป็นเทคโนโลยีที่ให้มุมมองภาพแบบพาโนรามาจากตำแหน่งต่าง ๆ ตามถนนหลายแห่งบนโลก แม้กระทั่งภาพฝูงแกะในหมู่เกาะแฟโร จากกล้องภาคพื้นดิน และในขณะที่ดาวเทียมแสดงภาพสเกลใหญ่ของโลก แล้วพื้นที่ว่างระหว่างนั้นล่ะ เกรกอรี่ ครูซิงเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำงานให้กับบริษัทโดรนอย่าง "3D Robotics and Parrot" ได้ก่อตั้งบริษัทให้คำปรึกษาอากาศยานไร้คนขับชื่อ ‘Drone Scholars’ และกำลังทำโครงการโดรนนักวิทยาศาสตร์ประชาชนเรียกว่า ‘Fly4Fall’ เป้าหมายของโครงการคือการสำรวจใบไม้ร่วงทั่วโลกและทดสอบการกระจายข้อมูลโดรน เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้นคือการสร้าง กูเกิล สตรีตวิว ด้วยภาพจากโดรน เหนือกว่าเพียงแค่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีจากโดรนช่วยให้นักวิจัยค้นพบ “เมืองที่หายสาบสูญ” และ “เฝ้าดูหมีโพล่าที่อาณาจักรขั้วโลกอาร์ติก” ครูซิงเกอร์ยังกล่าวอีกว่า เราสามารถใช้ประโยชน์จากโดรนในการศึกษาค้นคว้าทางชีวภูมิศาสตร์ หรือการกระจายพันธ์ แต่เพราะอะไรถึงต้องทำให้เจ้าของโดรนทั่วไปหันมาทำสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สามารถทำได้จากอุปกรณ์ที่มีอยู่ นั่นเป็นเพราะสิ่งนี้จะช่วยประหยัดเงินและเวลา แทนที่นักวิจัยต้องขับรถทางไกลไปทุกฟาร์มในมิทเวสท์เพื่อถ่ายภาพ ครูซิงเกอร์ กล่าว นักวิทยาศาสตร์ประชาชนสามารถทำได้โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน Fly4Fall ไม่ใช่โครงการแรกของนักวิทยาศาสตร์ประชาชนในการรวบรวมข้อมูลโดรน ในปี 2016 ศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติแคลิฟอร์เนียได้ให้ประชาชนที่มีโดรนมาร่วมกันเก็บภาพน้ำท่วมในบริเวณฝั่งทะเลของรัฐ แต่การรวบรวมข้อมูลครั้งนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ต้องการเพราะไม่มีใครเก็บภาพสิ่งที่นักวิจัยต้องการ ครูซิงเกอร์ เข้าใจถึงความลำบากในการเก็บข้อมูลที่สามารถนำมาใช้จริงได้จากนักวิทยาศาสตร์ประชาชน และเขามีวิธีแก้ปัญหาเพียงไม่กี่วิธี วิธีหนึ่งคือการทำแอปพลิเคชั่นเพื่อให้โดรนบินและเก็บภาพที่เหมือนกัน ซึ่งเป็นวิธีที่เพิ่มความสนุกสนานให้กับผู้ร่วมโครงการด้วย คุณอาจจะบอกว่า "บริเวณที่ต้องการให้เก็บภาพคือบริเวณนี้ ช่วยไปเก็บภาพให้หน่อย" เขากล่าว "หรือคุณอาจจะทำให้สนุกขึ้นมาอีกและให้รางวัลตอบแทนซึ่งเป็นอีกวิธีที่ทำให้คนสนใจมาช่วยทำงานนี้ไม่ใช้เพียงแค่เป็นอาสาสมัครเพื่อการกุศล" วิธีนี้สามารถนำไปใช้นอกเหนือจากในการทำวิจัยวิทยาศาสตร์เช่นกัน ที่จริงแล้ว ครูซิงเกอร์ ใช้โดรนของเขาบินเหนือบริเวณไฟป่า ซึ่งทำลายพื้นที่ปลูกไวน์ในแคลิฟอเนียในเดือนตุลาคม เพื่อเก็บภาพสำหรับกรมดับเพลิงท้องถิ่น เขาอัพโหลดภาพพาโนรามาผ่านแอปพลิเคชั่น Hangar และทำการประมวลผลโดย Pix4d (ตัวอย่างด้านล่าง) แน่นอนว่าการจะทำสิ่งเหล่านี้ในวงกว้างนั้นต้องทำการทดสอบระบบรองรับก่อน ซึ่งทำให้เกิดโครงการ Fly4Fall ขึ้นมา ในตอนนี้ ครูซิงเกอร์ ได้รับการส่งภาพมากกว่า 12 ชุดข้อมูล และเขาคาดหวังว่าจะสามารถรวบรวมเพิ่มอีก ตอนนี้จำนวนอาจจะดูไม่มาก แต่สำหรับเขา "นี่คือความสำเร็จที่เป็นเครื่องพิสูจน์แนวความคิดนี้ ผมคิดว่าปีหน้าเราจะสร้างเครือข่ายให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมด้วย" ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ถ้าใบไม้บนต้นที่อยู่ใกล้คุณร่วงลงมา คุณสามารถเข้าร่วมกับโครงการ Fly4Fall ได้ทันที โดยคุณเพียงแค่มีโดรน DJI (ดูรายชื่อรุ่นโดรนที่เข้าร่วมได้ที่นี่) และ ไอโฟนหรือไอแพด ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Hangar ถ่ายภาพใบไม้ร่วง 360 องศาและส่งมาที่อีเมล 360@dronescholars.com ด้านล่างแสดงตัวอย่างที่ส่งมาร่วมกับ Fly4Fall จากสก๊อตแลนด์ ...

กองทัพเรือออกแบบโดรนที่สามารถทำงานได้ทั้ง ทางอากาศและทางน้ำ
โดรนเป็ดตัวต้นแบบรุ่นล่าสุดของกองทัพเรือ(เครดิต:ศูนย์ปฏิบัติการและวิจัยของนาวิกโยธินสหรัฐ) กองทัพเรือแห่งสหรัฐอเมริกาให้ความสนใจเป็นอย่างมากกับการพัฒนาหุ่นยนต์ใต้น้ำและหุ่นยนต์บินได้ แล้วจะดีกว่าหรือไม่หากมีการคิดค้นโดรนที่สามารถทำได้ทั้งสองอย่าง และนั่นคือสิ่งที่โครงการฟลิมเมอร์ (Flimmer) จากศูนย์ปฏิบัติการและวิจัยของนาวิกโยธินมุ่งมั่นที่จะทำ ต้นแบบของฟลิมเมอร์คือหุ่นรูปทรงกระเป๋าเดินทางที่สามารถบินและทำงานใต้น้ำได้ ประสบความสำเร็จในการออกตัวจากเครื่องบินที่ความสูง 1000 ฟุตลงบนผิวน้ำ จากนั้นเคลื่อนที่ใต้น้ำด้วยความเร็ว 11 ไมล์ต่อชั่วโมง จากผลข้างต้นหุ่นยนต์ชนิดนี้อาจถูกใช้เพื่อไล่ล่าเรือดำน้ำฝ่ายศัตรูจากทั้งทางอากาศและทางน้ำ ถึงแม้ว่าจะต้องปรับแต่งรูปลักษณ์ของหุ่นชนิดนี้อีกมากก็ตาม อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับทีมดีไซน์เนอร์ของโครงการฟลิมเมอร์คือความหนาแน่นของน้ำที่มีมากกว่าความหนาแน่นของอากาศถึง 1000 เท่า ในขณะที่น้ำหนักมากๆจะเป็นปัญหาต่อการบินบนอากาศ แต่เมื่ออยู่ใต้น้ำหุ่นก็ต้องการความคงทน หนาแน่น และความหนักเพื่อ ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆพังเมื่อเจอแรงดันน้ำ ฟลิมเมอร์จึงต้องมีน้ำหนักเบาเพียงพอที่จะทำการบินบนอากาศได้และแข็งแรงเพียงพอสำหรับการรับมือกับแรงดันน้ำ หุ่นฟลิมเมอร์รุ่นล่าสุดคือ ฟลายอิ้งวานด้า(Flying WANDA) ซึ่งได้ “แรงบันดาลใจมาจากปลาในตระกูลนกขุนทองที่มีความปราดเปรียวว่องไวและมีครีบที่งอได้” โดยที่ปลายปีกของฟลายอิ้งวานด้าจะมีลักษณะคล้ายครีบปลาที่สามารถพับขึ้นได้เพื่อทำให้การขึ้นบินของหุ่นมีเสถียรภาพในการทรงตัว และยังมีใบพัดที่ด้านหลังเพื่อช่วยสร้างแรงขับให้กับหุ่น สำหรับการทำงานในน้ำจะใช้ครีบ 1 คู่ที่บริเวณใกล้ๆกับส่วนหน้าและครีบที่ส่วนหางของตัวหุ่นเพื่อปรับทิศทางของการเคลื่อนที่ใต้น้ำ หุ่นวานด้าสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 57 ไมล์ต่อชั่วโมงในอากาศ ส่วนในน้ำจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 11 ไมล์ต่อชั่วโมง หุ่นฟลิมเมอร์บินบนผิวน้ำ (เครดิต:ศูนย์ปฏิบัติการและวิจัยของนาวิกโยธินสหรัฐ) กองทัพเรือของสหรัฐวางแผนที่จะใช้โดรนรุ่นนี้ที่มีรูปร่างเหมือนเป็ดในการบินลาดตระเวนเพื่อหาข่าวในสถานที่ต่างๆ และใช้ไล่ตามเรือดำน้ำของฝ่ายศัตรู ทีมวิศวกรของกองทัพยังคงทำงานหนักในการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาหุ่นฟลิมเมอร์ให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นทั้งทางอากาศและทางน้ำ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอนว่าหุ่นฟลิมเมอร์จะสามารถนำไปใช้งานได้จริงในน่านน้ำของฝั่งศัตรูได้เมื่อไร ที่มาบทความ : Carl Engelking บันทึก : เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 สืบค้นจาก : https://dronelife.com/2018/05/22/huge-construction-project-surveyed-by-drones-without-human-pilot-airobotics ...
Experiential Learning

สองเยาวชนไทยกับแรงบันดาลใจสู่อวกาศ
“อวกาศ เป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวอีกต่อไป” เป็นประโยคที่วันนี้ประเทศไทยเริ่มเห็นภาพชัดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชนรุ่นใหม่ที่ปัจจุบันมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมอวกาศมากมาย ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ เช่นเดียวกับปีนี้ที่เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญสำหรับวงการอวกาศของประเทศไทยที่ จิสด้า ร่วมกับ สวทช. จัดสัมมนา “อวกาศ : ขุมทรัพย์แห่งมวลมนุษยชาติ Space : Infinite Assets for All Humankind” เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา เพื่อเผยแพร่โครงการทดลองในอวกาศและสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง หรือ National Space Exploration (NSE) และเป็นการปลุกกระแสและสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาด้านอวกาศแก่คนในประเทศ โดยการเชิญชวนให้คนไทยออกแบบการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำหรือในอวกาศเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศส่งการทดลองสู่สถานีอวกาศนานาชาติ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ https://www.nstda.or.th/jaxa-thailand/national-space-exploration/ ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆมากมาย หนึ่งในนั้นมีนิทรรศการจากเยาวชนคนเก่งที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจจากน้องไอเดีย และไอซี สองพี่น้องที่มีพร้อมทั้งความรู้ จิตนาการ และแรงบันดาลใจที่จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย ลองมาดูกันว่ามุมมองเรื่องอวกาศของน้องทั้งสองคนเป็นอย่างไรบ้าง น้องไอซี (ซ้าย) และ น้องไอเดีย (ขวา) แนะนำตัว และวันนี้มาทำอะไรที่งานสัมมนา อวกาศ : ขุมทรัพย์แห่งมวลมนุษยชาติ ไอซี : สวัสดีคะ ชื่อ เด็กหญิง วริศา ใจดี ชื่อเล่น ไอซี มาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ปทุมวัน ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คะ วันนี้มาจัดบูทเกี่ยวกับที่เราได้รับรางวัลจาก JAXA (Japan Aerospace Exploration Agency) เป็นรางวัลกิจกรรม Try Zero-G 2014 ปีนั้นเราส่งเกี่ยวกับการระบายสีน้ำบนอวกาศเข้าประกวดคะ ไอเดีย : สวัสดีคะ เป็นพี่ของไอซีคะ ชื่อ นางสาวศวัสมน ใจดี ชื่อเล่น ไอเดีย มาจากโรงเรียนศรีบุณยานนท์ กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คะ ก็ทำโปรเจคคู่กับไอซีเลยได้มาร่วมจัดบูทและคุณแม่ให้ลองมาฟังงานสัมมนาเกี่ยวกับ Space เพราะเป็นเรื่องที่เราชอบนอกเหนือจาก Biology กิจกรรมที่น้อง ๆ เคยร่วมกับ สวทช. และ GISTDA ...

บทสัมภาษณ์คนเก่งจาก “กิจกรรมประกวดภาพวาดระดับเยาวชน ประจำปี 2558”
กิจกรรมประกวดภาพวาดระดับเยาวชน อายุ 8-11 ปี หัวข้อ “Careers in Space” เพื่อหาตัวแทนของประเทศไทยที่จะเข้าประกวดภาพวาดในการประชุม APRSAF–22 ณ ประเทศอินโดนีเซีย และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความคิดและจินตนาการที่สร้างสรรค์ และรักในงานศิลปะ มีผู้ส่งภาพเข้าประกวดทั้งสิ้น 531 ภาพ และมีการตัดสินภาพ โดยรางวัลผู้ชนะเลิศได้แก่ ด.ญ.เกิดกาญจน์ กุลพัทธ์คุณานนท์ รองชนะเลิศอันดับ 1 ด.ญ.จิราพัชร โมบขุนทด รองชนะเลิศอันดับ 2 ด.ญ.อภิชญา อนันตกุล ทีมงาน GISTDA ได้มีโอกาสสัมภาษณ์น้องๆในพิธีมองรางวัลงานประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ : GEOINFOTECH 2016 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สวัสดีครับ อยากให้น้องแนะนำตัวหน่อยครับ มิ้งโกะ : ชื่อเด็กหญิงอภิชญา อนันตกุล อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อายุ 10 ปี มาจากจังหวัดชลบุรี ค่ะ ชื่อเล่นชื่อมิ้งโก๊ะ ค่ะ แพร : ชื่อเด็กหญิงจิราพัชร โมบขุนทด อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อายุ 11 ปี มากจากจังหวัดสมุทรปราการ ค่ะ ชื่อเล่นชื่อแพร ค่ะ แทมมี่ : สวัสดีค่ะ หนูชื่อ เกิดกาญจน์ กุลพัทธ์คุณานนท์ ชื่อเล่นแทมมี่ ค่ะ อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สองภาษา โรงเรียนเทพนารี อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ก่อนที่ น้องมิ๊งโก๊ะ/แพร/แทมมี่ จะวาดภาพ น้องมีแรงบัลดาลใจอะไรเกี่ยวกับหัวข้อ “Careers in Space” หรือ “อาชีพในอวกาศ” อย่างไรบ้างครับ มิ้งโกะ : ก็อยากให้อวกาศมีสีสันสดใสสวยงาม ก็เลยวาดค่ะ แล้วก็อยากเห็นสิ่งที่เราชอบอยู่ในอวกาศก็เลยวาดขึ้นค่ะ แพร : ...
Thailand From Thaichote

บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
ทะเลสาบ หรือบางทีเรียกว่า “บึง” เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะ มีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" นอกจากนี้ คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการสร้างของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน นับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ โดยบึงที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ของประเทศ ได้แก่ กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา และบึงบอระเพ็ด โดยเฉพาะบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ จัดเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ปัจจุบันบึงบอระเพ็ด มีเนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 62,500 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และ อำเภอท่าตะโก มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.62 เมตร บริเวณตอนกลางบึงมีความลึกที่สุด 4.38 เมตร แต่เดิมบึงบอระเพ็ดเป็นเพียงคลองสายใหญ่ ซึ่งรับน้ำจากเขต อำเภอท่าตะโก ต่อเขตแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2470 กรมประมงได้ดำเนินการสร้างประตูระบายน้ำและฝายน้ำล้นเพื่อเก็บกักน้ำไว้ที่ระดับ 23.80 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาของภาคกลาง นับตั้งแต่การก่อสร้างดังกล่าวเป็นต้นมา บึงบอระเพ็ด ได้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศ ตำแหน่งและขอบเขตบริเวณบึงบอระเพ็ดในด้านธรณีสัณฐานปรากฏให้เป็นภาพจากดาวเทียมมีความสัมพันธ์กับแนวรอยเลื่อนแม่น้ำปิงและที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน โดยบึงบอระเพ็ดที่ตำแหน่งต่ำสุดของที่ราบเจ้าพระยาตอนบนมีแม่น้ำไหลมารวมกันและอยู่บนแนวรอยเลื่อนแม่ปิงที่พาดผ่านไปทางตะวันออกเฉียงใต้ การทรุดตัวของบริเวณเจ้าพระยาตอนบนเกิดเป็นแอ่งภายหลังมีตะกอนทับถมตื้นเขินเหลือเป็นบึงในปัจจุบัน บึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยและเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ อยู่ในท้องที่สามอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ กลางบึงมีตำหนักแพที่สร้างขึ้นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน นอกจากนี้ บึงบอระเพ็ด ยังมีลักษณะบึงเป็นแบบ “บึงแพหญ้า” (Floating Swamp) คือ ที่ลุ่มน้ำขังที่มีพรรณพืชน้ำลอยเป็นแพอยู่เหนือผิวน้ำได้ ในเขตอบอุ่นเป็นพืชจำพวก ผักตบชวา สนหางสิงห์ และกก ในเขตร้อนมักเป็นพวกกกกระดาษ (ราชบัณฑิตยสถาน. “พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา” พิมพ์ครั้งที่ 1, 2544) โดยพืชดังกล่าว ทำให้ผิวดินในบึงเกิดความร่มเงาใต้น้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบสมดุลของพืชใต้น้ำ เดิมบึงบอระเพ็ดแห่งนี้มีชื่อว่า "ทะเลเหนือ" หรือ "จอมบึง" เนื่องจากมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจระเข้ จากการสำรวจพบว่ามีสัตว์อาศัยอยู่ประมาณ 148 ชนิด ...

หมู่เกาะอาดัง-ราวี จังหวัดสตูล
หมู่เกาะอาดัง-ราวี ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานธรณีสตูลด้านทิศตะวันตกสุด กลางทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตา ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กิโลเมตร มียอดเขาสูงสุด สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 703 เมตร บริเวณโดยรอบเกาะเป็นหน้าผาสูงชัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา วัฒนธรรม และมีชายหาดที่สวยงาม ผืนดินแห่งนี้ เป็นบันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิต ยุคเก่า เกิดเป็นแหล่งสร้างออกซิเจนให้กับโลกในช่วงเวลานั้น ต่อมามีการยกตัวของเปลือกโลกก่อเกิด เป็นเทือกเขา และถํ้า ซึ่งได้กลายเป็นบ้านหลังแรกของมนุษย์โบราณ ปัจจุบันผู้คนก็ยังดำรงชีวิตโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของแผ่นดินนี้อยู่ และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์ ภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชตแสดงให้เห็นถึงบริเวณโดยรอบของเกาะ เป็นหาดทรายสีขาวที่เป็นเอกลักษณ์ โดดเด่นในเรื่องของตะกอนหินทรายแป้งสีขาวที่เกิดการผุพังของหินแล้วถูกพัดพามาสะสมตัวบริเวณรอบๆ เกาะ จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ...

เขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบศีรีขันธ์
เขาสามร้อยยอด เป็นทิวเขาหินปูนเป็นวางตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้ ตามแนวชายฝั่งทะเลประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นเขตต่อเนื่องของ อำเภอปราณบุรี และอำเภอกุยบุรี ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วยทิวเขาสูงชันต่อเนื่องเป็นทิวเขาใหญ่ และกลุ่มเขาโดดตามแนวชายทะเลเป็นหย่อมๆ บริเวณทิวเขาสามร้อยยอดมียอดแหลมเป็นจำนวนมาก แสดงถึงลักษณะเด่นของธรณีสัณฐานแบบคาสต์ รองรับด้วยหินปูนเนื้อโดโลไมต์ ในยุดเพอร์เมียน กลุ่มหินราชบุรี อายุประมาณ 245-286 ล้านปี โครงสร้างเป็นชั้นหินโค้งงอ มีขอบเป็นเขาหินปูนผาชัน เกิดจากการกัดกร่อนทางแนวราบของทางน้ำไหลหรือคลื่นกระแสน้ำ ทำให้บริเวณตีนเขาถูกกัดกร่อนและส่วนบนของหินปูนพังลงมาเป็นหน้าผาชัน นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาธรณีสัณฐานและวิวัฒนาการบริเวณชายฝั่งที่รายล้อมด้วยวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้านทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศบริเวณนั้นเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งมีถ้ำพระยานคร ซึ่งติดหนึ่งในถ้ำที่สวยติดอันดับ 10 ของโลก Source: https://commons.wikimedia.org Source: https://commons.wikimedia.org ...

บึงละหาน จังหวัดชัยภูมิ
ข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชต รายละเอียดภาพ 2 เมตร บึงละหาน เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของประเทศไทย มีเนื้อที่ 29.09 ตารางกิโลเมตร หรือ 18,181 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 190 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบลในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ตำบลละหาน ตำบลหนองบัวใหญ่ ตำบลหนองบัวบาน ตำบลลุ่มลำชี โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ...
Device Review

ตรวจสอบแนวเขตง่ายๆ ด้วย Smartphone
หากท่านต้องการเพิ่มเส้นขอบเขตพื้นที่ของท่านเองให้แสดงผลบนแผนที่ออนไลน์ เปรียบเทียบกับตำแหน่งของท่านเองในขณะปฏิบัติภารกิจภาคสนาม เช่น ตรวจสอบแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ ขอบเขตหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ขอบเขตที่ดินของท่านเอง ขอบเขตพื้นที่ศึกษาสำหรับนักวิจัย การกำหนดเส้นทางศึกษาธรรมชาติ การกำหนดเส้นทางวิ่งหรือปั่นจักรยานระยะไกล หรือพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง หรือถนนหนทางให้ใช้อ้างอิงได้ GPS Essential (ฟรี) เป็นหนึ่งใน Application บน Smartphone ระบบ Android ที่สามารถเพิ่มเส้นขอบเขตพื้นที่ของท่านเองเข้าไปได้ โดยใช้เส้นขอบเขตพื้นที่ในรูปแบบ KML File ( วิธีสร้าง KML File >> Click ) ที่สร้างจากโปรแกรม Google Earth หรือจากแหล่งอื่น โดยให้ท่าน copy KML File มาเก็บใน Smartphone ของท่านก่อน และมีวิธีการนำเข้าดังนี้ 1. เมื่อเราเปิด GPS Essentials ให้เลือกกดเข้าไปที่เมนู Tracks จะมีปุ่มเครื่องหมายบวกเพื่อ Import ชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่ด้วยการกดที่คำว่า Browse 2. เลือกไฟล์ .kml เส้นขอบเขตพื้นที่ที่เก็บไว้ในเครื่อง แล้วกด Start แลดกด Open เพื่อเปิดไฟล์เข้ามาในแผนที่ตามภาพด้านล่าง 3. ท่านก็จะได้เส้นขอบเขตพื้นที่ของท่านเองแสดงผลบนแผนที่ออนไลน์ มีสัญลักษณ์ลูกศรสีแดงบอกตำแหน่งที่ท่านยืนอยู่ ว่าอยู่บริเวณใดของเส้นขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติงานของท่าน ...