บันทึกนักสำรวจ ที่ 002 ปรับตัวเพื่ออยู่รอด

11052381_579731788796348_8241853006912727647_n

บนพื้นที่สูงในแถบบนภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทยนี้ ในช่วงฤดูหนาวนอกจากอากาศจะหนาวเย็นมากกว่าบนพื้นที่ราบแล้ว ยังมีหมอกหรือน้ำค้างเป็นจำนวนมาก ยิ่งในพื้นที่ยิ่งสูงอากาศตอนกลางคืนก็จะยิ่งเย็นจนน้ำค้างที่ติดอยู่บนยอดหญ้ากลายเป็นแม่คะนิ้งหรือเหมยขาบหรือน้ำค้างแข็ง อย่างที่หลายๆคนพยายามเดินทางเพื่อออกไปชื่นชม แต่ในมุมของชาวเกษตรกรแล้วไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่พึงประสงค์ เนื่องจากน้ำค้างเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร วิธีแก้ปัญหาของเกษตรกรบนพื้นที่สูงแห่งนี้จึงจำเป็นต้องนำพลาสติกมาคลุมแปลงปลูกเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำค้างมาเกาะ บางแปลงได้นำหลอดไฟมาติดตั้งและเปิดไฟในตอนกลางคืนเพื่อเป็นการเร่งผลผลิตให้เร็วขึ้นอีกด้วย ดังปรากฏกเป็นกลุ่มสีเทารูปทรงยาวลักษณะเดียวกับแปลงเกษตร นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติที่สามารถเห็นได้บนภาพถ่ายจากดาวเทียม

11156257_579927022110158_3785772369931983960_n 10262179_579926972110163_6455101947833391567_n

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN