Thailand Aerospace Youth Forum 2018

สรุปผลการจัดงาน THAILAND AEROSPACE YOUTH FORUM ครั้งที่ 2

วันที่ 14 กันยายน 2561
ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ภายใต้แนวคิด “เปิดโลกอากาศยาน เปิดม่านแรงบันดาลใจ”
ผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 2,237 คน
(หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาจากทั่วประเทศ)

พิธีเปิด

กล่าวเปิดงาน – รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์  ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พิธีมอบสื่อการเรียนการสอนด้านภูมิสารสนเทศให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12,400 ชุดประกอบด้วย

  • ตำราประกอบการเรียนการสอนเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
  • หนังสือการ์ตูน ชุดคู่ซ่าท้าสำรวจ

    • คู่ซ่าท้าสำรวจ ตอน การรับรู้ระยะไกล
    • คู่ซ่าท้าสำรวจ ตอน หนึ่งวันกับภูมิสารสนเทศ
    • คู่ซ่าท้าสำรวจ ตอน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
    • คู่ซ่าท้าสำรวจ ตอน ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
  • ชุดมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย

    • DVD การ์ตูนคู่ซ่าท้าสำรวจ จำนวน 3 ตอน
    • Geo-informatics game
    • DVD สารคดีสั้นสำรวจประเทศไทย
  • สื่อการเรียนรู้ การ์ตูน 2D Animation คู่ซ่าท้าสำรวจ

    • ตอน 1 วันกับภูมิสารสนเทศ
    • ตอนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

20180914-tayf-0082.jpg

มอบรางวัล Space Brand Ambassador

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวศิรินทร์ จิตคล่องทรัพย์ จากโรงเรียนไทยคริสเตียน
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวอันนา แซ่เตีย จากโรงเรียนยโสธรพิทยาคม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายทัศณ์พล คุณวุฒิพร จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน กรุงเทพฯ
  • รางวัล Popular Vote ได้แก่ นางสาววิสสุตา เมืองชล จากโรงเรียนระยองวิทยาคม


กิจกรรม Inspired Talk

การพูดเพื่อจุดประกายความคิดให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย และสร้างแรงบัลดาลใจให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาดังกล่าว ผ่านการเรียนรู้และจิตนาการที่ไร้ขอบเขตของโลกปัจจุบัน ซึ่งนำเสนอโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในกลุ่มเยาวชน ประกอบด้วย

  • นายพร้อม เสือทิม ตัวแทนนักวิจัยเยาวชนที่ส่งการทดลองไปผลิตอาหารบนอวกาศ
  • นายหม่อง ทองดี แชมป์ร่อนเครื่องบินกระดาษและยุวทูตประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์
  • นายณัชธกฤษณ์ สาระไชย เยาวชนผู้บันทึกความทรงจำทางอากาศ ภารกิจ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง
  • นายกรทอง วิริยะเศวตกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง spaceth.co เว็บไซต์ด้านอวกาศโดยกลุ่มเยาวชนไทย ที่ได้รับรางวัล Best New Blog จากงาน Thailand Best Blog Awards 2017


กิจกรรม The master debate on stage

การโต้วาที ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาด้านอากาศยานและเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยจากหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิเช่น นักบิน วิศวกร นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ รวมถึงภาคเอกชน ที่จะมาบอกเล่าถึงประสบการณ์ ผลงานที่ภาคภูมิใจ รวมถึงบอกเล่าถึงแรงบันดาลใจของในแต่ละท่านในสายอาชีพตนเอง ในหัวข้อ “วุฒิวิศวะ จำเป็นต่องานด้าน AEROSPACE หรือไม่”
ประกอบด้วย

  • นางสาวนวรัตน์ เติมธนาสมบัติ
  • ดร.ภวิศ แพร่ภัทร
  • ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล
  • นายตฤณภัทร บูรณการ


กิจกรรม STEM DRONE PROJECT

การประกวดโครงงานศึกษาและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมด้วยโดรน โดยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วประเทศ เป็นการนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการเกี่ยวกับผลการศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขที่ประยุกต์ใช้โดรนเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ตามหลักของการคิดวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ภายใต้การให้คำปรึกษาจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
โครงงานที่ได้จากกิจกรรมนี้จะมีการถ่ายทอดสู่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นต้นแบบของการส่งเสริมการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเรียนการสอนแบบ STEM ที่เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านวิศวกรรมอากาศยาน และการคิดวิเคราะห์เชิงภูมิสารสนเทศ

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ร.ร.วัดประดู่ จ.ระยอง
ผลงาน Guardian of the beach

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ร.ร.ยโสธรพิทยาคม จ.ยโสธร
ผลงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยโดรนเพื่อคาดการณพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมขังและหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งเครื่อง Detect Drain

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ร.ร.หาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา
ผลงาน การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ
เพื่อการสำรวจแนวรอยเลื่อนในพื้นที่รอบแอ่งหาดใหญ่

รางวัล TOPVOTE ได้แก่ ร.ร.กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กทม.
ผลงาน การใช้โดรนบินสำรวจปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ ในแต่ละระดับความสูงเปรียบเทียบบริเวณในเมือง และนอกเมืองเพื่อสร้างแผนที่ 3 มิติ

tayf2018_page_4_image_0003.jpg


กิจกรรม YOUTH PRESENTER

การประกวดการนำเสนอแนวคิดทางด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศระดับเยาวชน เป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนแนวคิดและจิตนาการด้วยการนำเสนอตามหัวข้อ “นวัตกรรมใหม่จากอวกาศสู่ชีวิตประจำวัน”

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ภัททิยา พิบูลจินดา โรงเรียนกำเนิดวิทย์
    ผลงาน Satel Detect Pollution

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ชนัญญา พลิคามิน โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
    ผลงาน Smart kitchen

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นพวิชัย เหม่งเวหา โครงการบ้านเรียนรุ่งอรุณ
    ผลงาน Heate Shield สะท้อนความร้อน

  • รางวัล TOPVOTE ได้แก่ นภสร พรมแม้น สาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง)
    ผลงาน เทคโนโลยีอวกาศพาสุขขจัดภัยน้ำท่วม


กิจกรรม APRSAF-Thailand Youth Poster (ประกวดวาดภาพจากแรงบันดาลใจ)

กิจกรรมประกวดภาพวาดสร้างแรงบันดาลใจ ระดับเยาวชน อายุ 8-11 ปีจากทั่วประเทศ ภายใต้หัวข้อ My home in space เพื่อเป็นเวทีสำหรับการคัดเลือกภาพวาดตัวแทนประเทศไทยส่งเข้าสู่การประกวดภาพวาดระดับนานาชาติ หรือ APRSAF Poster contest ระหว่างการประชุม APRSAF-25 ระหว่างวันที่ 6-9 พฤศจิกายน 2561 ณ ประเทศสิงคโปร์

ตัวแทนประเทศไทยสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้แก่

  • ด.ญ.ภวิษย์พร ปิยะศิริศิลป์
  • ด.ช.กฤศณัฏฐ์ เชาว์วรวิญญ
  • ด.ช.ธนบดี พลามิตร


UAV Startup 2018 รอบ Final Pitching

การเฟ้นหาสุดยอดไอเดียของกลุ่มธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมจากผู้ประกอบการขนาดเล็กเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ด้านเศรษฐกิจ

ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออก
ผู้ชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ อากาศยานไร้คนขับหว่านปุ๋ยชนิดเม็ดแบบสั่งตัดสำหรับการปลูกข้าว
ผู้ชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ ระบบตรวจการอัจฉริยะบนมือถือ

ด้านสังคม

ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โครงการอากาศยานไร้นักบินสำหรับผลิตกุ้งในระบบปิดโดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ
ผู้ชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมต้นแบบของระบบรักษาความปลอดภัยด้วยอากาศยานไร้นักบิน
ผู้ชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ การประยุกต์ใช้ตัวรับ LIDAR ต้นทุนต่ำบนอากาศยานไร้คนขับ สำหรับการสำรวจตรวจสอบและประเมินทาง

tayf2018_page_6_image_0004.jpg


กิจกรรม Workshop

Space Maker Workshop การทดลองออกแบบและสร้างจรวดที่สามารถเคลื่อนที่จากฐานปล่อยไปยังเป้าหมายที่กำหนดไว้ จัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

ก่อร่างสร้างโดรน การสร้างโดรนจากโฟม ที่จะนำไปสู่แข่งขันการสร้างอากาศยานไร้คนขับแบบปีกตรึง (Fixed-Wing) จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Aircraft Design Workshop การออกแบบและทำให้แผ่นวัสดุที่เตรียมให้ ให้สามารถบินได้ เพื่อเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นในการออกแบบอากาศยาน จัดโดยภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Drone Coding Workshop การประยุกต์ใช้โดรนเพื่อส่งเสริมการศึกษาในรูปแบบ STEM ในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ผ่านด้วยการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้และพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนากระบวนความคิดของเยาวชนไทย จัดโดย Drone Academy Thailand

Drone Mapping Workshop การประยุกต์ใช้โดรนเพื่อส่งเสริมการศึกษาในรูปแบบ STEM ในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ผ่านการสร้างแผนที่จากโดรน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้และพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนากระบวนความคิดของเยาวชนไทย จัดโดย ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก และ บริษัท Dev Drone Mapper

Drone Traffic Workshop การเยี่ยมชมศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาเชิงกลยุทธและปฏิบัติการด้านการบินและอวกาศ หรือ Strategic and Operation Aerospace Research: SOAR โดยมีภารกิจหลักในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในประเทศไทย ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม (innovation) และความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี (state-of-the-art) เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้จริงทั้งในภาคนโยบาย, ภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชนแบบครบวงจร

การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการความเป็นเลิศและนวัตกรรมการบินและอวกาศ หรือ GISTDA’s Aerospace Laboratory of eXellence and Innovation: GALAXI ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการเชื่อมโยงให้เกิดอุตสาหกรรมการบินและอวกาศสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะด้านการทดสอบมาตรฐาน โดยห้องปฏิบัติการฯ ได้ผ่านการตรวจรับรองแล้วเสร็จ ซึ่งนับเป็นหน่วยงานของรัฐแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานด้าน Aerospace AS9100D และอยู่ระหว่างการขอรับมาตรฐาน ISO/IEC17025


การจัดนิทรรศการ

  • นิทรรศการผลงานการศึกษาด้วยโดรนระดับเยาวชน
  • นิทรรศการหน่วยงานต่างๆ

tayf2018_page_8_image_0005.jpg


หน่วยงานความร่วมมือ

  • องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
  • ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ
  • สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง
  • บริษัท Drone Academy Thailand
  • บริษัท Dev Drone Mapper
  • บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

*** จนกว่าเราจะพบกันอีก ***

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN