เรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยกรณีศึกษาในแต่ละสถาณการณ์ ตอนที่ 1

ทีมวิเคราะห์เชิงประยุกต์ทำงานอย่างหนักในการพัฒนาพื้นฐานสถาณการณ์ แบบฝึกหัดแบบข้ามแพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้คุณเรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่สำหรับคลี่คลายปัญหาในชีวิตจริงของคุณได้ แต่ละกรณีศึกษาประกอบด้วยข้อมูลและขั้นตอนการทำงานสำหรับแอพพลิเคชั่น ArcGIS หลากหลายรูปแบบ เช่น ArcGIS Pro, ArcMap, ArcGIS Online และ Insights for ArcGIS กรณีศึกษาส่วนใหญ่จะกล่าวถึงแนวคิดและบทเรียนในการวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญ เช่นวิธีการรับมือกับข้อมูลที่หายไป วิธีการสำรวจและใช้ผลประโยชน์ของโครงสร้างเชิงพื้นที่ในข้อมูลของคุณ วิธีการกำหนดอุปสงค์/อุปทาน วิธีการแปลงข้อมูล และวิธีการเลือกแผนการชั่งน้ำหนักที่เหมาะสม การทำงานผ่านการวิเคราะห์กรณีศึกษาโดยใช้ข้อมูลที่มีให้และปรับกระบวนการทำงานให้เข้ากับข้อมูลของคุณเอง

การวิเคราะห์เชิงสำรวจ
การวิเคราะห์เชิงสำรวจคือเทคนิคที่จะช่วยให้คุณสามารถสำรวจและเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบและการจำแนกแยกแยะข้อมูลของคุณ การวิเคราะห์เชิงสำรวจสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวช่วยอื่น ๆ หรือใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ประเภทอื่น ๆ ส่งผลให้เทคนิคเชิงสำรวจบางเทคนิคกลายมาเป็นการวิเคราะห์ที่มีความสำคัญและแพร่หลายมาก กาวิเคราะห์เชิงวิเคราะห์นี้ใช้ในเกือบทุกอุตสาหกรรม เช่น ด้านสุขภาพ ด้านงานสาธารณะ ด้านการขายปลีก ด้านแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติ ต่อไปนี่จะเป็นกรณีศึกษาที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงสำรวจ
วิทยาลัยในเขตใดมีครอบครัวที่มีรายได้น้อยที่สุด? – สำรวจวิทยาลัยท้องถิ่นเพื่อหาว่าที่ไหนจะสามารถสนับสนุนโครงการนำร่องทางอินเตอร์เน็ต
ใครอาศัยอยู่ใกล้ห้องสมุดของแต่ละวิทยาลัย? – สำรวจกลุ่มประชากรรอบ ๆ แต่ละห้องสมุดเพื่อพิจารณาว่าโครงการชุมชนไหนที่เหมาะสมกับสาขานั้น ๆ

การวิเคราะห์ความเหมาะสม


การวิเคราะห์ความเหมาะสมเป็นหนึ่งในเทคนิคการวิเคราะห์ GIS ที่ใช้บ่อยที่สุด การวิเคราะห์ประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท รวมถึงการพัฒนาด้านเศษฐกิจ การวางแผนระดับเมืองและระดับภูมิภาค การค้าปลีก การผลิต การจัดการสภาพแวดล้อม และความปลอดภัยสาธารณะ แม้ว่าอาจเกิดปัญหาหลากหลายรูปแบบ การวิเคราะห์ยังคงดำเนินการตามขั้นตอนบนพื้นฐานเดียวกัน คือ กำหนดบรรทัดฐานของเสือ Bobcat ที่เหมาะสม ใช้บรรทัดฐานนั้นกับข้อมูลของคุณ และสืบหาผลลัพธ์ที่ตรงกับบรรทัดฐานนั้น นี่คือตัวอย่างกรณีศึกษาที่ใช้การวิเคราะห์ความเหมาะสม
ทำความเข้าใจการสร้างแบบจำลองความเหมาะสม – การดูเชิงลึกในวิธีการใช้การวิเคราะห์ ArcGIS สำหรับการวิเคราะห์ความเหมาะสมโดยใช้เสือ Bobcat ใน Vermont เป็นตัวอย่าง
สถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับรีสอร์ทกอล์ฟคือที่ไหน? – การใช้ ArcGIS Pro เพื่อค้นหาที่ดินที่เป็นของเอกชนนั้นเหมาะสมที่สุดในการสร้างรีสอร์ทกอล์ฟใหม่ ๆ
พื้นที่ส่วนไหนเป็นพื้นที่ที่ดีสำหรับการอยู่อาศัยของเสือ Cougar? – ใช้ ArsGIS แบบออนไลน์ หรือ ArcMap เพื่อกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของเสือ Cougar รอบ ๆ สวนสาธารณะของรัฐ
พัสดุไหนที่เหมาะสมต่อสถานีดับเพลิง? – ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความเหมาะสมเพื่อการวางแผนบ้านเมืองและค้นหาพื้นที่ที่ดีที่สุดสำหรับสถานีดับเพลิงใหม่ ๆ
การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการติดตั้งฟาร์มลม – ดำเนินการการวิเคราะห์ความเหมาะสมเบื้องต้นเพื่อยกเลิกการใช้งานฟาร์มลมที่อยู่ในหรืออยู่ใกล้พื้นที่คุ้มครอง

[เพิ่มเติม: BOBCAT หรือ Lynx เป็นตะกูลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง จัดเป็นเสือขนาดเล็ก ใช้ชื่อสกุลว่า Lynx อยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae)]

การวิเคราะห์ระยะทางต้นทุน
การวิเคราะห์ระยะทางต้นทุนเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อกำหนดวิธีที่นักเดินทางควรเดินทางผ่านพื้นที่ตามบรรทัดฐาน ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ระยะทางต้นทุนคือต้นทุนที่ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นเส้นทางแรงต่อต้านน้อยสุดระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดจบ หรือเครือข่ายของของเส้นทางการเชื่อมต่อพื้นที่ที่ต้องการ การวิเคราะห์ระยะทางต้นทุนเป็นที่นิยมอย่างมากในภาพส่วนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าเพราะจะช่วยให้นักวางแผนสามารถออกแบบโครงสร้างวิถีชีวิตสัตว์ป่าเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายถิ่นฐานได้ การวิเคราะห์ระยะทางต้นทุนยังสามารถใช้สำหรับการใช้งานอื่น ๆ เช่น การสร้างถนนเส้นใหม่สำหรับทางรถ ทางรถไฟ การเดินสายไฟฟ้า หรือท่อ รวมถึงการระบุเส้นทางการเคลื่อนไหวที่ดีที่สุดสำหรับการดับเพลิงหรือการปฏิบัติการทางทหาร นี่คือตัวอย่างของกรณีศึกษาที่ใช้การวิเคราะห์ระยะทางต้นทุน
การทำความเข้าใจการวิเคราะห์ระยะทางต้นทุน – หากมองลึกเข้าไปถึงวิธีการใช้การวิเคราะห์ ArsGIS เพื่อสร้างวิถีทางใหม่ของที่อยู่อาศัยของเสือ Bobcat

ที่มาบทความ : บทความโดย Vicki Lynn Cove บันทึก : เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560
สืบค้นจาก : https://blogs.esri.com/esri/arcgis/2017/09/18/spatial-analysis-techniques/

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN