USGS ใช้โดรนช่วยชีวิตจากลาวาที่ คิลัวเอ

น้ำพุลาวาจาก Fissure 8 พบในวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 / USGS/HVO

บางอย่างกำลังเปลี่ยนไปในการเฝ้าสังเกตการณ์หรือวางแผนรับมือเหตุการณ์อันตรายจากภูเขาไฟนอกเหนือจากการใช้โดรน ในสิบกว่าปีที่ผ่านมามีความจำเป็นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ที่มีราคาสูงและเสี่ยงอันตรายหรือนำทีมเข้าใกล้ภูเขาไฟโดยเดินเท้าเพื่อทำการสำรวจแต่ทุกวันนี้เราได้ดูการปะทุของภูเขาไฟอย่างใกล้ชิดด้วยโดรนราคาถูกที่สามารถบินเข้าไปใกล้ปล่องหรือลาวาที่กำลังปะทุเพื่อติดตามเหตุการณ์ ทำให้เรามีข้อมูลสำหรับนักภูเขาไฟวิทยาเพื่อเฝ้าสำรวจและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของการการระเบิดของภูเขาไฟ อีกทั้งยังสามารถใช้โดรนทำแผนที่ภูเขาไฟและค้นหาประชาชนที่อาจเสี่ยงภัยขณะเกิดเหตุการณ์ต่างๆใกล้ภูเขาไฟควบคู่ไปกับดาวเทียม โดรนก็ทำหน้าที่จับตามองความเคลื่อนไหวของภูเขาไฟเพื่อความปลอดภัยของนักวิทยาศาสตร์และประชาชน

จุดเกิดเหตุ: เหตุการณ์ล่าสุดที่ คิลัวเอ ต้นอาทิตย์นี้มีธารลาวาไหลอย่างรวดเร็วจาก Fissure 8 (ดูภาพด้านบน) โดยมีการแจ้งอพยพของประชาชนซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีใครยอมออกจากที่อยู่อาศัย โดรนจาก US Geological Survey พบธารลาวาอันใหม่นี้ เมื่อคาดว่าการไหลของลาวาสามารถขัดขวางเส้นทางอพยพ ทางทีมสำรวจจึงติดต่อเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินเพื่อเตือนประชาชน

ภาพจากโดรนใช้ในการช่วยหาประชาชนขณะเกิดเหตุลาวาปะทุที่ คิลัวเอ แสงจากด้านบนนั้นคือธารลาวาและแสงสว่างจากผู้คนหาใกล้บริเวณบ้านพัก USGS/HVO

การไหลของธารลาวาใหม่ขวางพื้นอพยพประชาชนบริเวณดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ทีม USGS จึงค้นหากลุ่มที่ติดอยู่ด้วยโดรนและนำทางพวกเขาออกมาจากบริเวณลาวาและพาไปสู่พื้นที่ปลอดภัย ลองคิดดูว่า: โดรนสามารถสร้างแผนที่การไหลของลาวาซึ่งเป็นข้อมูลช่วยให้ประชาชนอพยพจากบริเวณอันตราย ไม่เพียงเท่านั้น โดรนยังสามารถส่งภาพวีดีโอถาการณ์จริงของการไหลของธารลาวาเพื่อให้หน่วยฉุกเฉินสามารถช่วยเหลือประชาชนและรู้ว่าต้องพาประชาชนอพยพไปบริเวณปลอดภัยที่ไหน

“ปฏิบัติตามโดรนเพื่อความปลอดภัย” ภารกิจ USGS UAS ในตอนล่างของโซน East Rift เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2561 ภารกิจนี้ช่วยนำทางการอพยพและนำไปสู่การช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังจากบ่อลาวาแตกไหลไปที่ถนน Luana ได้อย่างสำเร็จ

แผนที่การไหลของลาวาในวันที่ 30 พฤษภาคม สำหรับการปะทุของ Leilani Estates ที่โซน East Rift ที่คิลัวเอ

การปะทุที่ คิลัวเอ ยังคงดำเนินต่อไปวันนี้ ลาวาไหลจาก Fissure 8 ด้วยความเร็วประมาณ 550 เมตร (600 ยาร์ด) ต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเร็วมาก ยังคงมีลาวาเพิ่มขึ้นจากFissure 8 แต่มีอัตตราการไหลลดลง ลาวาไม่ใช่เหตุการณ์อันตรายที่สุดที่สามารถเกิดจากภูเขาไฟ (นับเป็นโชคดี) แม้ว่าจะมีความเร็วในการไหลดังกล่าว ประชาชนสามารถทำการอพยพได้ทันท่วงทีหากได้รับการเตือนล่วงหน้า (แน่นอนว่าไม่ใครอยากตกลงไปในธารลาวา) ลาวาที่ปะทุจาก Fissure 8  ทำให้เกิดเส้นใยลาวาแก้ว (ผมของเทพีเปเล่*)ดูภาพด้านล่าง ในขณะที่ลาวาพุ่งไปในอากาศ

อย่างที่ได้บอกไว้ การปะทุครั้งนี้ที่ คิลัวเอ ทำให้เราได้รู้ถึงประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้โดย Hawaiian Volcano Observatory และ U.S. Geological Survey ที่ช่วยให้เข้าใจการปะทุของลาวาและช่วยประชาชนให้ปลอดภัย


ที่มาบทความ : Erik Klemetti บันทึก : เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561
สืบค้นจาก : http://blogs.discovermagazine.com/rockyplanet/2018/05/30/how-the-usgs-used-a-drone-to-save-someone-from-kilaueas-lava/#.W2CVsNUzZhE

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN