กลุ่มเมฆที่วุ่นวายของดาวพฤหัส

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงวงแหวนเมฆวนและกระแสลมวนอันวุ่นวายทางด้านซีกทางเหนือของดาวพฤหัส

ยานอวกาศ Juno ของนาซ่าบันทึกภาพที่ปรับสีนี้ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 เวลา  22:23 น เวลามาตรฐานแปซิฟิค ( วันที่ 24 พฤษภาคม เวลา 1:23 น เวลามาตรฐานตะวันออก) ในขณะที่โคจรเข้าใกล้ดาวพฤหัสเป็นครั้งที่ 13  ในขณะนี้ Juno อยู่เหนือชั้นเมฆของดาวพฤหัส 9,600 ไมล์ (15,500 กิโลเมตร) ในละติจูด ที่ 56 องศา

บริเวณที่สังเกตได้นี้ค่อนข้างโกลาหลและวุ่นวายเนื่องจากมีการก่อตัวของเมฆหมุนเป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปแล้วองค์ประกอบของเมฆที่มีสีเข้มกว่าหมายถึงส่วนชั้นบรรยากาศที่ลึกกว่า ส่วนสีเมฆที่สว่างกว่าแสดงให้เห็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงกว่า เมฆที่แสดงสีสว่างโดยมากจะประกอบด้วยแอมโมเนียหรือแอมโมเนียและน้ำผสมกับการกระจายตัวของส่วนผสมทางเคมีที่ไม่สามารถระบุได้

รูปร่างกลมที่มีสีสว่างทางด้านล่างมีความโดดเด่นที่สุด ซึ่งเป็นภาพลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในกล้องโทรทรรศน์ของหอสังเกตการณ์บนพื้นโลก อย่างไรก็ตามด้วยการถ่ายภาพของ JunoCam เราสามารถสังเกตโครงสร้างของสภาพอากาศอย่างละเอียด รวมไปถึงโครงสร้างเพิ่มเติมด้านใน ไม่มีการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดเจนเช่น ‘จุดแดงใหญ่’ (Great Red Spot) ซึ่งกระแสลมเคลื่อนไหวช้าลงอย่างมากเมื่อเข้าใกล้จุดศูนย์กลาง

นักวิทยาศาสตร์ประชาชน (Citizen scientists) Gerald Eichstädt และ Seán Doran ได้ทำภาพนี้ขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลจากกล้องของยานสำรวจอวกาศ Juno

 

สามารถเข้าชมแหล่งภาพจาก JunoCam ได้ที่ www.missionjuno.swri.edu/junocam

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Juno is ได้ที่ https://www.nasa.gov/juno และ http://missionjuno.swri.edu


ที่มาบทความ : Tony Greicius, https://www.nasa.gov บันทึก : เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2561
สืบค้นจาก : https://www.nasa.gov/image-feature/jpl/chaotic-clouds-of-jupiter

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN