ดาวเคราะห์นอกระบบกำเนิดใหม่! ภาพแห่งประวัติศาสตร์เป็นภาพแรกของโลกใหม่ต่างดาว

ภาพจากเครื่อง SPHERE ซึ่งเป็น Very Large Telescope  ของ European Observatory’s เป็นภาพแรกที่ชัดเจนของดาวเคราะห์ที่เห็นการก่อตัวรอบดาวแคระ PDS 70 ดาวเคราะห์ดวงนี้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนบริเวณที่เป็นจุดสว่างที่ด้านขวา ซึ่งถูกทำให้เป็นสีดำโดยการ coronagraph ใช้ในการปิดกั้นแสงที่สว่างของดาว // เครดิต: A. Müller et al./ESO

ภาพแรกอันน่าทึ่ง แสดงให้เห็นถึงโลกต่างดาวที่เพิ่งถูกค้นพบขนาดมหึมา มีการก่อตัวของวงแหวนก๊าซและฝุ่นรอบดาวดวงใหม่ ภาพนี้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนอันแรกในเรื่องการพบดาวเคราะห์นอกระบบใหม่ , ทีมค้นพบกล่าว

“วงแหวนรอบดาวดวงใหม่เห่ล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้นของดาวเคราะห์ แต่จนถึงขณะนี้มีเพียงการสังเกตจำนวนน้อยที่สามารถพบถึงเบาะแสของการกำเนิดดาวเคราะห์ใหม่”   Miriam Keppler หัวหน้าทีมนักวิจัยจากสถาบันดาราศาสตร์ Max Planck ในเมืองไฮเดลเบิร์กประเทศเยอรมันกล่าว “ปัญหาคือตอนนี้ดาวเกิดใหม่ดวงอื่นๆที่มีความเป็นไปได้อาจจะแค่มีรูปร่างคล้ายวงแหวนเท่านั้น”[จากภาพ: ดาวนอกระบบที่แปลกที่สุด]

Keppler และ ทีมงานของเธอได้วิเคราะห์ข้อสังเกตใหม่กับดาวแคระหนุ่มที่มีชื่อว่า PDS 70  ซึ่งมีอายุประมาณ 5.4 ล้านปีและอยู่ห่างจากโลกประมาณ 370 ปีแสง ข้อมูลเหล่านี้ถูกรวบรวมโดยเครื่องมือวัดสองเครื่อง คือ  Very Large Telescope (VLT) ของEuropean Southern Observatory ในประเทศชิลีและอีกเครื่องหนึ่งที่ Hawaii’s Gemini Observatory

จากการสังเกตทำให้เห็นถึงกลุ่มก๊าซกำเนิดใหม่บริเวณวงแหวนรอบ PDS 70 ทีมงานสามารถถ่ายภาพดาวเคราะห์นอกระบบนี้ ที่เรียกว่า PDS 70b โดยใช้เครื่องมือ VLT สองเครื่อง ชื่อ  SPHERE (Spectro-Polarimetric High-contrast Exoplanet Research)

SPHERE สามารถทำภาพ coronagraph ซึ่งสกัดกั้นแสงสว่างของดาวฤกษ์ไว้ซึ่งจะทำให้เห็นภาพดาวเคราะห์ที่โคจรโดยรอบชัดเจนขึ้น (ด้วยเครื่องมือชื่อ Near-Infrared Coronagraphic Imager ซึ่งมีที่ The Gemini)

การวิเคราะห์ของนักวิจัยชี้ให้เห็นว่า PDS 70b มีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีถึงสองหรือสามเท่าและห่างจากดาวฤกษ์ประมาณ 1.9 พันล้านไมล์ (3 พันล้านกิโลเมตร) หรือระยะทางจากยูเรนัสไปยังดวงอาทิตย์

PDS 70b มีความร้อนมากกว่ากว่าดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของเรา โดยนักวิจัยระบุว่ามีอุณหภูมิสูงถึง 1,800 องศาฟาเรนไฮต์ (1,000 องศาเซลเซียส) ระดับอุณหภูมิที่สูงนี้อาจดูแปลก เมื่อเทียบกับระยะห่างที่ไกลจากดาวฤกษ์ แต่ก็มีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับกลุ่มก๊าซยักษ์ที่กำเนิดใหม่ ทีมวิจัยกล่าว (ดาวเคราะห์ที่อายุน้อยมากจะเก็บความร้อนไว้เป็นจำนวนมากจากการก่อตัวของมัน)

ภาพนี้แสดงท้องฟ้ารอบดาวแคระสีส้มจาง ๆ PDS 70 (อยู่ตรงกลางของภาพ) ดาวสีฟ้าอันสว่างจ้าไปทางขวาคือ χ Centauri เครดิต: ESO/Digitized Sky Survey 22. รับรอง: Davide De Martin

นักวิจัยรายงานการค้นพบ PDS 70b และลักษณะต่างๆที่วัดได้และวิเคราะห์ควบคู่กับการค้นพบใหม่ โดยทั้งสองฉบับได้เผยแพร่ออนไลน์ (2 กรกฎาคม) ในวารสาร Astronomy & Astrophysics (คุณสามารถติดตามอ่านได้ที่นี่และที่นี่) (มีสมาชิกทีมงานวิจัยที่แตกต่างกันระหว่างงานวิจัยทั้งสอง แต่มีการทับซ้อนกันเช่น Keppler เป็นหัวหน้าการเขียนผลงานวิจัยที่ค้นพบดวงดาวและเป็นผู้ช่วยผู้เขียนในงานวิจัยอีกอันหนึ่ง)

‘’ผลการค้นพบของ Keppler เป็นช่องทางใหม่ที่ทำให้เราเข้าใจขั้นตอนที่ซับซ้อนของวิวัฒนาการของดาวเคราะห์’’ AndréMüller หัวหน้างานวิจัยที่สองกล่าว

ผู้เขียนนำผลการศึกษาครั้งที่สองกล่าวในรายงานฉบับเดียวกันนี้ว่า “ผลของเคปเลอร์ทำให้เรามีหน้าต่างใหม่เข้าสู่ขั้นตอนที่ซับซ้อนและไม่ค่อยเข้าใจตอนแรกของวิวัฒนาการของดาวเคราะห์”

“เราจำเป็นต้องสังเกตดาวเคราะห์ในวงแหวนใหม่นี้เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการการก่อตัวของดาวเคราะห์ที่แท้จริง” Müller ประจำอยู่ที่ Max Planck Institute for Astronomy กล่าว

 


ที่มาบทความ : Mike Wall, Space.com บันทึก : เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2561
สืบค้นจาก : https://www.space.com/41051-newborn-exoplanet-first-confirmed-photo.html

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN