S-Booster 2019 ดันไอเดียสัญชาติไทย ดังไกล สู่นวัตกรรมใหม่ในระดับโลก

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(สทอภ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเทคโนโลยีระบบนำทางด้วยดาวเทียมหรือ Global Navigation Satellite System (GNSS) ซึ่งจำเป็นต้องผลักดังนั้นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเติบโตของเทคโนโลยีอวกาศ สทอภ. จึงได้จัดกิจกรรมแข่งขันประกวดไอเดียทางธุรกิจนวัตกรรม เพื่อดันไอเดียสัญชาติไทย ดังไกล สู่นวัตกรรมใหม่ในระดับโลก

โครงการ S-Booster 2019 ประกวดการแข่งขันธุรกิจไอเดียวด้านอวกาศระดับ International ครั้งแรกของประเทศ เมื่อข้อมูลระบุพิกัดตำแหน่งอย่าง GPS ที่มีความคลาดเคลื่อนบ่อยครั้ง จะถูกแทนที่ด้วย QZSS จากญี่ปุ่นที่มีความแม่นยำที่จะระบุไวัในระดับ 1-2 เซนติเมตร  ร่วมประชันไอเดียนวัตกรรมใหม่จาก ความแม่นยำขั้นสูงสุด เพื่อเสนอให้ตอบโจทย์ theme ด้านต่างๆ ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 3,000,000 บาท  และโอกาสในการศึกษาดูงานบริษัทขนาดใหญ่ และ Startup ที่ญี่ปุ่นฟรี
1) ไอเดียการประยุกต์ใช้เทคโลยี Location Based Service (Software, Hardware)
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในปัจจุบัน
2) การต่อยอดการใช้ Platform “Tellus” ที่รวบรวมข้อมูล Big Data ด้าน QZSS ไว้ในที่เดียว (Mobile App, Web App)
3) ไอเดียนวัตกรรมเทคโนโลยีอวกาศในภาคธุรกิจ Space Startup Business Idea

โดยกิจกรรมแบ่งเป็นรอบดังนี้
1. วันที่ 1 มีนาคม – 19 เมษายน 62 เปิดรับสมัคร บุคคล/ นักเรียน/ กลุ่มบุคคล/ ผู้ที่สนใจ ในภูมิภาคเอเชียโดยดาวน์โหลดเอกสารข้อเสนอไอเดียทางเวปไซต์ https://s-booster.jp/2019/asia/
2. วันที่ 5 มีนาคม 62 : กิจกรรม Open House ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ENG 4) คณะวิศวรกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิทยากรและภาคเอกชนจากประเทศไทย-ญี่ปุ่น
3. วันที่ 30 พฤษภาคม 62 : ผู้ผ่านการคัดเลือกไอเดียจำนวน 15 – 20 ทีม เข้าร่วม pitching ในงาน Startup Thailand 2019
4. กรกฎาคม – กันยายน 62 ผู้ผ่านการคัดเลือกเหลือ 4 ทีม เป็นตัวแทนภูมิภาคเอชีย เข้ารับการส่งเสริมไอเดียทางธุรกิจ ณ ประเทศ ญี่ปุ่น  โดยจะสนับสนุนค่าเดินทางไป-กลับ ที่พัก ตลอดการเดินทาง
5. วันที่ 25 พฤศจิกายน 62 : รอบชิงชนะเลิศ ณ ประเทศ ญี่ปุ่น ชิงรางวัลมูค่ากว่า 3 ล้านบาท

เปิดรับไอเดีย แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 62 ถึงวันที่ 19 เมษายน 62 นี้ เท่านั้นยังไม่พอ โอกาสในการเข้าร่วมแนะแนวโครงการประเคนถึงที่  ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร เจริญวิศวกรรม (ENG 4)  คณะวิศวรกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 5 มี.ค. 62 คุณจะได้พบเข้าผู้เชี่ยวชาญด้านระบบดาวเทียมนำทางทั้งจากไทย-ญี่ปุ่น เพื่อฟังการแนะแนวโครงการ ตลอดจนประชาสัมพันธ์หน่วยงานในพันธมิตร

ฟรี! สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมแนะแนวโครงการ
http://skp.gistda.or.th/s-booster/

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN