พื้นหลักฐาน WGS84

World Geodetic System 1984 WGS84

เป็นพื้นหลักฐานที่มีจุดศูนย์กำเนิดอยู่ที่จุดศูนย์กลางมวลสารของโลก ( Earth’s center of mass)
ใครจะรู้บ้างว่า พื้นหลักฐาน WGS84 ที่เราใช้ๆ กันอยู่นั้น ได้ถูกปรับค่ามาแล้วตั้ง 5 ครั้ง ตั้งแต่เริ่มใช้งาน

WGS84 Original Epoch 1984.0 Base on ITRF90
WGS84 (G730) Epoch 1994.0 Base on ITRF91
WGS84 (G873) Epoch 1997.0 Base on ITRF94
WGS84 (G1150) Epoch 2001.0 Base on ITRF2000
WGS84 (G1674) Epoch 2005.0 Base on ITRF2008
WGS84 (G1762) Epoch 2005.0 Base on ITRF2008

Azimutalprojektion-schief_kl-cropped

โดยสาเหตุที่ต้องมีการปรับค่านั้นเนื่องจากระบบ WGS นั้นเป็นระบบพื้นหลักฐานอ้างอิงทั่วโลก
แต่ในสภาพความเป็นจริงนั้น โลกเรามีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา
ลองนึกถึงว่าเรายืนจับค่าพิกัดอยู่ในเรือที่ลอยอยู่ในน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปค่าพิกัดก็เปลี่ยนตามไปด้วย
แต่เปลือกโลกเคลื่อนตัวช้ากว่านั้น ซึ่งอาจจะแค่ระดับเซนติเมตรต่อปี

ก่อนจะไปไกลกว่านั้นขอ อธิบายตัวอักษร & ตัวเลขนิดนึง G730 G = GPS,
730 = GPS week number สัปดาห์ของดาวเทียมระบบ GPS

Epoch คือยุค 1984, ยุค 1994 ถ้าให้เทียบก็คล้ายๆ Version ประมาณนั้น

ในงานที่ต้องการความถูกต้องเชิงตำแหน่งสูงมาก ต้องมีเรื่องกรอบเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างที่บอกไว้ว่ามีเรื่องการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง

เกี่ยวพันกับหน่วยงานนึงที่ชื่อ International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS)
ซึ่งเป็นผู้ดูแลและปรับแก้ International Terrestrial Reference Frame (ITRF) หรือ กรอบอ้างอิงภาคพื้นดินนานาชาติ
โดยจะมีอัตราการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยโดยใช้ ปีคส. ในการระบุช่วงเวลา ค่าพิกัดที่ได้ที่ได้จากกรอบอ้างอิงนี้ความถูกต้องอยู่ในระดับมิลลิเมตร

ในช่วงแรกของระบบ WGS84 นั้น เมื่อเทียบความถูกต้องกับกรอบอ้างอิง ITRF91 จะมีความแตกต่างอยู่ประมาณ 70 เซนติเมตร
หลังจากปรับค่ามาเรื่อยๆ ค่าความแตกต่างก็ค่อยๆ ขยับน้อยลงเรื่อยมา

จนปัจจุบันพื้นหลักฐาน WGS84 (G1762) Epoch 2005.0 เมื่อเทียบกับ กรอบ ITRF2008 นั้นมีความแตกต่างเพียง 1 เซนติเมตรเท่านั้น.

 

ที่มา : geo2ass.wordpress.com

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN