การสำรวจอวกาศจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT หรือไม่ ?

ห้วงอวกาศมักเป็นแหล่งของความพิศวงและเกินกว่าจินตนาการ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของยุคอวกาศเมื่อ 60 ปีก่อน มนุษย์เราพยายามอย่างหนักที่จะได้ออกไปสัมผัสห้วงอวกาศ ถึงแม้เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงต่อหนึ่งวันก็ตาม เทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่มนุษย์ได้ลิ้มรสประสบการณ์ในจักรวาล

ยานอวกาศ Apollo 11 ยานลำแรกที่บรรทุกมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้สำเร็จ ที่ซึ่งมีประสิทธิภาพการประมวลผลน้อยกว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน และเมื่อไหร่การสำรวจอวกาศจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT (ระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง) องค์การ NASA และ SpaceX ยังคงต้องมุ่งมั่นกันต่อไปและได้ตั้งเป้าหมายต่อไปคือดาวอังคาร

เอื้อมให้ถึงดวงดาว

มนุษย์เราได้ส่งยานไร้คนขับออกไปสู่จักรวาลที่ไกลมาก ยังเกินว่าจินตนาการจะไปถึง NASA ได้ปล่อยยานอวกาศคู่แฝด Voyager 1 และ Voyager 2 ไปนอกโลกกว่า 40 ปี และออกไปพื้นที่รอบนอกระบบสุริยะ แต่น่าเสียดายขีดจำกัดของเทคโนโลยีและร่างกายมนุษย์ทำให้เราไม่สามารถไปไกลกว่าดวงจันทร์

ปัจจุบัน เป้าหมายของเราคือส่งมนุษย์ไปยังดาวเคราะห์ดวงที่ 4 ของระบบสุริยะ ซึ่งก็คือ ดาวอังคาร (Mars หรือ the Red Planet) องค์การ NASA เชื่อมั่นว่าเราสามารถส่งมนุษย์ไปยังดางอังคารได้ภายในกลางปี พ.ศ. 2573 ในขณะที่ Elon Musk ผู้ที่เป็น CEO ของ SpaceX ตั้งเป้าหมายไว้ในปี พ.ศ. 2583

สำหรับใครหลายคน หากนึกถึงการเดินทางออกไปสู่จักรวาลเป็นความฝันที่เกินจะเอื้อมถึงได้ แต่นั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าคุณไม่สามารถนำห้วงอวกาศมาสู่บ้านคุณได้แทน

การจำลองอวกาศไว้ที่บ้าน

หากคุณมีอุปกรณ์ที่เชื่อมกับ IoT อยู่ที่บ้านแล้ว คุณสามารถเข้าข้อมูลอัพเดตดาวอังคารใน ever-growing database ที่แสดงให้เห็นถึงหน้าตาพื้นผิวของดาวอังคาร อีกทั้งแอพ NASA Mars สร้างขึ้นโดยองค์การ Alexa แอพที่จะคอยตอบคำถามเกี่ยวกับดาวอังคาร

เทคโนโลยี IoT เติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง ระบบนี้ยังมีปัญหาในช่วงเริ่มแรกแต่จะทำให้การเดินทางและการสำรวจอวกาศได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน

การสำรวจอวกาศและตัวคุณ

ในขณะที่ความสามารถในการประมวลผลของเครื่องคิดเลขพกพาอาจเพียงพอที่จะนำมนุษย์ไปสู่ดวงจันทร์และกลับมายังโลกได้ แต่จะต้องใช้ความสามารถที่มากกว่านั้นในการเดินทางไปยังดาวอังคารหรือไกลกว่านั้น นั้นจึงเป็นจุดที่ทำให้เทคโนโลยี IoT เข้ามามีอิทธิพลในการดำรงชีวิต

ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาสนับสนุนการสำรวจอวกาศนั้น ดำเนินการโดยบริษัทโทรคมนาคม Sigfox ริเริ่มโครงการ Mustang จะเชื่อมต่อกับสัญญานดาวเทียมในวงโคจรและอุปกรณ์บนดิน (บนโลก) เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อ IoT เข้ากับสถานที่ที่คล้ายคลึงกับสถานีอวกาศนานาชาติและยานอากาศระหว่างดวงดาว

เมื่อเครือข่ายเป็นที่ยอมรับและผลประโยชน์ที่จะได้อย่างไม่สิ้นสุด

การตรวจสอบเครื่องมือต่าง ๆ : เครือข่าย IoT สามารถใช้เพื่อตรวจสอบระบบนิวเคลียร์ของยานอวกาศ เช่นเดียวกับระบบที่สำคัญอื่น ๆ ความแข็งแรงของภายนอกยาน และการสนับสนุนการใช้ชีวิตบนยานอวกาศ
• การสื่อสารตามเวลาจริง : ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์เสี่ยงต่อการเสียชีวิต การสื่อสารนี้จะช่วยบันทึกการสำรวจของคุณไว้ไม่ให้สูญหายไป
• การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล : ข้อมูลบางส่วนที่ได้มาจากการสำรวจอวกาศนั้นยากที่จะเข้าใจ สามารถใช้เทคโนโลยี IoT เข้ามาช่วยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยให้นักวิจัยเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น

นี่เป็นตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งานที่เป็นไปได้สำหรับอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เมื่อเริ่มเชื่อมต่อการใช้งานกับการเดินทางและการสำรวจอวกาศ

สู่โลกอนาคต

พวกเรากำลังเข้าสู่ยุคสปีซีส์ระหว่างดวงดาว พวกเรามีทั้งความมุ่งมั่นและความเฉลียวฉลาด ตอนนี้เราแค่รอให้เทคโนโลยีไล่ให้ทันกับสิ่งที่เราคาดฝันไว้ ดาวอังคารเป็นเพียงแค่ก้าวแรกในการสำรวจอวกาศ และ IoT จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ยิ่งใหญ่และมีประโยชน์มากที่สุดในการนำพาเราไปยังดาวอังคารแน่ ๆ

ที่มาบทความ : เขียนโดย Kayla Matthews      บันทึก : เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560
สืบค้นจาก : http://www.techzone360.com/topics/techzone/articles/2017/01/11/428670-will-space-exploration-soon-benefit-from-iot-tech.htm#

Keyword ที่ใช้ : การสำรวจอวกาศ
Tag ที่ใช้ : IoT

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN